ความเป็นไปได้ "เดลตาครอน" สายพันธุ์ลูกผสม หรือปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการ
ศูนย์จีโนมฯ รพ.รามาธิบดี วิเคราะห์ "เดลตาครอน" (Deltacron) สายพันธุ์ลูกผสม หรือการปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการ พบผู้ติดเชื้อ 25 รายไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เดียวกัน
วันที่ 9 มกราคม 2565 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้โพสต์เรื่อง เดลตาครอน "Deltacron" สายพันธุ์ลูกผสม หรือการปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการ
mgwin88โดยระบุข้อความว่า มีผู้สอบถามเข้ามาที่ศูนย์จีโนม รพ.รามาธิบดี มากมายว่าเกิดสายพันธุ์ลูกผสม "Deltacron" ขึ้นที่ไซปรัสแล้วใช่หรือไม่ คำตอบคือน่าจะไม่ใช่
เพราะ Dr. Tom Peacock ผู้เชี่ยวชาญการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสระดับโลกชาวอังกฤษ รีบทวีตแจ้งว่าจากการพิจารณารหัสพันธุกรรมมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดจากการปนเปื้อนระหว่างสารพันธุกรรมของ "โอมิครอน" และ "เดลตา" ในห้องปฏิบัติการ เวลาถอดรหัสพันธุกรรมจึงมีรหัสปนกันออกมาเสมือนเกิดเป็นสายพันธุ์ลูกผสม
mgwin88 ??และจากการนำเอาข้อมูลรหัสพันธุกรรมมาสร้างเป็นแผนภูมิวิวัฒนาการ Phylogenetic tree พบว่าตัวอย่างทั้ง 25 รายไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เดียวกันซึ่งแปลก เพราะหากเป็นสายพันธุ์ลูกผสมเพิ่งเกิดใหม่ ยังไม่ระบาดเป็นวงกว้าง ควรจะอยู่ในคลัสเตอร์เดียวกัน
ล่าสุด ศูนย์จีโนมฯ ได้นำรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจำนวน 25 ตัวอย่างที่ทางไซปรัสได้อัปโหลดขึ้นมาแชร์ไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลก "GISAID" โลก มาวิเคราะห์ เห็นพ้องกับที่ ดร. Tom Peacock กล่าวไว้คือ เมื่อนำข้อมูลรหัสพันธุกรรมมาสร้างเป็นแผนภูมิวิวัฒนาการ Phylogenetic tree (ภาพ ขวามือ) พบว่าตัวอย่างทั้ง 25 รายไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เดียวกันซึ่งเป็นเรื่องแปลก
mgwinเพราะหากเป็นสายพันธุ์ลูกผสมเพิ่งเกิดใหม่ มีที่มาจากแหล่งเดียวกันยังไม่ระบาดเป็นวงกว้าง ควรจะอยู่ในคลัสเตอร์เดียวกัน และจากรหัสพันธุกรรมทั้ง 25 ตัวอย่างบ่งชี้ว่าเป็นสายพันธุ์ "เดลตา" ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนสารพันธุกรรมของ "โอมิครอน" เข้ามาระหว่างการถอดรหัสพันธุกรรม
คำถามที่ตามมาคือหากมีสายพันธุ์ลูกผสมเกิดขึ้นมาจริงๆ ทางศูนย์จีโนมฯ จะตรวจพบหรือไม่ คำตอบคือน่าจะตรวจพบ เพราะขณะนี้เราถอดรหัสพันธุกรรมด้วยเทคโนโลยีสายยาว (long-read sequencing) ประมาณ 1,000-2,000 ตำแหน่งต่อสาย ดังนั้นหากพบรหัสพันธุกรรมของ "เดลตา" และ "โอมิครอน" ปนกันอยู่ในสายเดียวกัน ก็แสดงว่าน่าจะเป็นสายพันธุ์ลูกผสม
mgwin88 ??อย่างก็ตามเพื่อความชัดเจนอาจต้องเก็บรวบรวมข้อมูลสักระยะ หากทางไซปรัสสามารถพบสายพันธุ์ลูกผสมดังกล่าวจากบรรดาตัวอย่างที่ส่งเข้ามาถอดรหัสพันธุกรรมใน 1-2 อาทิตย์ก็น่าเป็นไปได้ว่าเกิดสายพันธุ์ลูกผสม "Deltacron" ที่ไซปรัสแล้วจริง.
ติดตามรายละเอียดได้ที่ :::
https://slotxo-game.vip/