ชะตากรรมข้าวหมูแดง! ผลกระทบหมูแพง ลากยาวถึงตรุษจีน
เนื้อหมู ที่มีราคาแพง ราคาพุ่งสูงขึ้นไม่หยุด และตั้งแต่กลางเดือน ธ.ค.2564 เริ่มขาดตลาด จนถึงปัจจุบัน ทำให้ร้านค้า ร้านอาหาร หลายร้านที่ใช้เนื้อหมูเป็นวัตถุดิบ ต้องขอปรับราคาอาหารที่มีเนื้อหมูเป็นส่วนประกอบ รวมไปถึงผู้เลี้ยง ผู้ผลิต พ่อค้าเนื้อหมู และแน่นอนคือประชาชนผู้บริโภค ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
ปัจจัยอะไรหรือ ที่ทำให้เนื้อหมูมีราคาแพง และพุ่งสูงขึ้นไม่หยุด ชนิดที่มาตรการใด ๆ ของภาครัฐก็เอาไม่อยู่ ช่วยไม่ได้
เจาะลึกไปที่ จ.ราชบุรี ที่มีฟาร์มหมู และจำนวน "ผู้เลี้ยง" มากที่สุดในประเทศ จากการสำรวจราคาเนื้อหมูหน้าแผง ในตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ในจังหวัดราชบุรี ช่วงวันที่ 5-7 ม.ค. 2565 พบว่า หมูสามชั้นกิโลกรัมละ 240 บาท สะโพกหมูกิโลกรัมละ 175 บาท สันคอหมูกิโลกรัมละ 185 บาท สันนอกหมูกิโลกรัมละ 185 บาท ซี่โครงกิโลกรัมละ 160 บาท ซี่โครงอ่อนกิโลกรัมละ 200 บาท และกระดูกใบพายกิโลกรัมละ 190 บาท
คนซื้อบ่น ไม่เคยเจอหมูแพงแบบนี้มาก่อน
mgwin88นายพงศ์พันธุ์ ประทักษ์การ หรือ เฮียบิ๊ก เจ้าของเขียงหมูสดในตลาดทรัพย์สินจ.ราชบุรี เปิดเผยว่า จากราคาหมูเพิ่มสูงขึ้นในตอนนี้ ส่งผลกระทบทั้งผู้ขาย พ่อค้าคนกลาง ผู้ซื้อ ซึ่งราคาหมูหน้าฟาร์มอยู่ที่ 110 บาท ทำให้ราคาขายปลีกเนื้อหมูที่แพงที่สุดตอนนี้คือ หมูสามชั้น อยู่ที่โลละ 240 บาท ซึ่งลูกค้าที่มาซื้อก็บ่นทุกคนว่าราคาแพงขึ้นมาก ไม่เคยเจอแพงแบบนี้มาก่อน
"ลูกค้าบางรายต้องยอมตัดบางเมนู เช่น ข้าวหมูกรอบ ออกจากเมนูของร้าน เพราะสู้ต้นทุนไม่ไหว อยากให้ทางรัฐบาลแก้ปัญหาที่จริงจังทั้งระบบอย่าแก้ที่ปลายทาง เพราะฟาร์มผู้เลี้ยงสุกรเกิดปัญหา จนผลผลิตหมูเป็นลดน้อยลง ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการราคาจึงสูงขึ้น และคาดว่าปัญหาราคาหมูแพงคงลากยาวไปถึงตรุษจีนแน่นอน
ร้านข้าวหมูแดง ต้องยอมตัดเมนู ข้าวหมูกรอบ
ขณะที่ร้านข้าวหมูแดงฮั้งซ้งสาขา 2 ร้านข้าวหมูแดงเก่าแก่ของ จ.ราชบุรี ตั้งอยู่ถนนอัมรินทร์ อ.เมืองราชบุรี ทางร้านต้องยอมตัดเมนูข้าวหมูกรอบออก เพราะแบกรับต้นทุนไม่ไหว จากราคาหมูสามชั้นที่ราคาพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของการทำหมูกรอบ ทำให้การขายข้าวหมูกรอบไม่คุ้มทุน เพราะถ้าจะขึ้นราคาเป็นจานละ 50-60 บาท คงไม่มีลูกค้าซื้อกินแน่นอน ซึ่งทางร้านเปิดขายมากว่า 40 ปี ไม่เคยเจอราคาหมูที่แพงแบบนี้มาก่อน จึงอยากวอนให้ทางภาครัฐแก้ปัญหาอย่างจริงจัง และให้ถูกจุด เช่นเดียวกับ นายบุญเอื้อ คงกระพันธ์ เจ้าของร้านข้าวหมูแดงหมูกรอบชื่อดังของ อ.บ้านโป่ง เปิดเผยว่า เปิดกิจการมาแล้วกว่า 30 ปี ตั้งแต่ราคาเนื้อหมูสดกิโลกรัมละ 53 บาท จนปัจจุบันกิโลกรัมละ 240 บาท ในแต่ละวันใช้เนื้อหมูประมาณ 100 กิโลกรัม ราคาเนื้อหมูที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา ทำให้ตนต้องปรับราคาขายจากแบบธรรมดาจานละ 30 บาท มาเป็น 40 บาท และขนาดจัมโบ้ 50 บาท หลังจากปัจจุบันปริมาณเนื้อหมูสดในตลาดมีน้อย ทำให้ราคาทะลุไปที่ 240 บาท ส่งผลให้ต้องขยับราคาขายเพิ่มขึ้นอีกจานละ 5 บาท เป็น 45 - 55 บาท ส่วนกระแสข่าวที่มีการเสนอให้มีการนำเข้าเนื้อหมูจากต่างประเทศ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ในเรื่องนี้ นายบุญเอื้อ เจ้าของร้านข้าวหมูแดงหมูกรอบ กล่าวว่า เห็นด้วย และน่าเป็นหนทางที่จะสามารถแก้ไขเรื่องค่าครองชีพของประชาชนได้ในระดับหนึ่ง แต่อยากให้นำเข้าเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ แก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า และมีการควบคุมราคา ไม่ให้เกินกิโลกรัมละ 180 บาท ซึ่งเป็นราคาที่พอจะรับไหว
mgwin88 ??ปีนี้เจอทั้งโรคPRRS-โรคระบบทางเดินอาหาร
นายสัตวแพทย์บุรินทร์ สรสิทธิ์สุขสกุล ปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี เปิดเผยว่า จากตัวเลขที่สำรวจผ่านระบบอี สมาร์ท พลัส ของกรมปศุสัตว์เมื่อต้นปีที่แล้ว ซึ่งสำรวจปีละ 2 รอบ จ.ราชบุรี แม่พันธุ์ที่ราชบุรีประมาณ 2 แสนตัวเศษ เกษตรกรผู้เลี้ยง 24,000 ราย ถือเป็นจำนวนที่เลี้ยงหมูมากที่สุดในประเทศ
“ส่วนที่ราคาหมูแพง จากการสำรวจเพราะมีปัญหาโรคระบาด ทั้งโรคเพิร์ส PRRS ที่ทำให้เกิดความเสียหายฝูงแม่พันธุ์และฝูงหมูขุน รวมถึงโรคที่มีการระบาดประปราย อย่างโรคระบบทางเดินอาหารที่ทำให้ลูกหมู มีความเสียหายที่มีการวนเวียนประมาณ 4 ปีเกิดการระบาดรอบหนึ่ง ซึ่งปีนี้มาตรงกันพอดีทำให้ความเสียหายค่อนข้างเยอะ ขณะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งปศุสัตว์ พาณิชย์ ผู้ประกอบการอาหารสัตว์ และฟาร์มหมู พ่อค้าคนกลาง ได้ร่วมหาแนวทางการแก้ปัญหา จึงขอให้รอการแถลงของกระทรวงพร้อมกันทั่วประเทศเพื่อจะได้คำตอบที่ถูกต้องและสอดคล้องตรงกัน”
ผู้เลี้ยงยืนยันไม่เคยรู้ "มีโรคระบาดหมู"
ทางด้าน "ผู้เลี้ยง" น.ส.ศรีสุนันท์ เดชบุตร เกษตรกรเลี้ยงสุกรรายย่อย ในอ.ปากท่อ จ.ราชบุรี เปิดเผยว่า เลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ประมาณ 40 ตัว และสุกรขุนเนื้อไว้ขายประมาณ 300 ตัว ตอนนี้เหลือแต่คอกเปล่าๆ เพราะสุกรตายหมด ดังนั้น สาเหตุหลักที่หมูแพงก็เพราะเกษตรกรไม่มีหมูส่งขาย หมูตายยกคอกเพราะโรคระบาด "ทางกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย เราไม่รู้เลยว่ามีโรคระบาดหรือโรคที่เกี่ยวกับหมู จึงไม่มีการป้องกันใดๆทั้งสิ้น มารู้อีกทีคือหมูตายยกคอกแล้ว และห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ออกนอกพื้นที่แล้ว เพื่อนเกษตรกรบางคนต้องรื้อคอกแล้วนำสุกรที่ตายฝังกลบใต้คอก ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังไม่มีหน่วยงานไหนลงมาตรวจ หรือพิสูจน์ว่าหมูตายด้วยสาเหตุอะไร"
เลี้ยงหมู 100 ตัว ทยอยตายทุกวัน จนฟาร์มร้าง
mgwinเช่นเดียวกับ น.ส.สุภาวดี จุมพลเดชาพันธ์ ชาว ต.ดอนกระเบื้อง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ทำอาชีพเลี้ยงหมูมาแล้วกว่า 30 ปี มีหมูรวมกว่า 100 ตัว แบ่งเป็นแม่พันธุ์ 15 ตัว ที่ผ่านมาสามารถสร้างรายได้หมุนเวียน สำหรับเลี้ยงดูครอบครัวเดือนละประมาณ 20,000-30,000 บาท น.ส.สุภาวดี กล่าวว่า ช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แม่หมูในฟาร์มเริ่มมีอาการป่วย ซึม ไม่กินอาหาร ช่วงแรกคิดว่าเกิดจากสภาพอากาศ จึงซื้อยามาฉีดรักษาตามอาการ ต่อมาบริเวณผิวหนังมีจุดแดงทั่วทั้งตัว ก่อนที่แม่หมูจะแท้งลูก และตายในที่สุด ซึ่งอาการทั้งหมดใช้เวลาเพียง 2 วันเท่านั้น จากนั้นหมูตัวอื่นๆ ก็เริ่มมีอาการตามมา วันละตัว สองตัว บางวันเป็น 10 ตัว หมดค่ายารักษาเป็นเงินหลักหมื่นบาท แต่ไม่สามารถรักษาหมูในฟาร์มไว้ได้แม้แต่ตัวเดียว
"ตลอดระยะเวลา 15 วัน ในทุกๆ เช้า ต้องตื่นขึ้นมาพร้อมกับความสูญเสีย ยืนดูซากหมูที่ตายคาคอก นำไปขุดหลุมฝังกลบจนแทบจะไม่เหลือที่ฝัง หมูที่ยังไม่เป็นโรค ก็จำต้องรีบปล่อยขายในราคาถูก เพราะเกรงจะตายคาคอกซ้ำ จนมาทราบว่า ก่อนหน้านี้ฟาร์มหมูทั้งขนาดใหญ่ กลาง และเล็กในพื้นที่ มีหมูตายในลักษณะเดียวกันเป็นจำนวนมาก คาดว่าหมูที่ฟาร์มน่าจะป่วยเป็นโรคติดต่อ และเป็นสาเหตุให้หมูตายยกฟาร์ม ทำให้ขาดทุนกว่า 100,000 บาท และทราบว่า มีเพื่อนเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อยในพื้นที่อีกหลายราย ต้องเจอกับปัญหาดังกล่าวจนต้องปล่อยคอกร้างเช่นเดียวกัน"
จาก "เจ้าของฟาร์มหมู" ต้องไปเป็นลูกจ้างบรรจุขนม
"โรคระบาดที่เกิดขึ้นในฟาร์ม คาดว่าเกิดจากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู หรือ ASF ซึ่งอาจจะติดต่อมาจากคนงานจับหมู หรือ จากนกต่างๆ ที่จะบินไปกินอาหารในฟาร์มหมูข้างเคียงที่มีโรคระบาด แล้วนำมาแพร่เชื้อในฟาร์ม ทำให้ตอนนี้ต้องปล่อยคอกร้าง ตัวเองออกไปทำงานรับจ้างบรรจุขนม ได้ค่าจ้างเดือนละประมาณ 6,000 บาท ซึ่งก็ไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงดูครอบครัว ต้องกินอยู่อย่างประหยัด รวมไปถึง นำเงินเก็บส่วนที่เหลือ มาลงทุนเลี้ยงไก่ไข่ เป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งแทน ในส่วนของฟาร์มหมู คงต้องหยุดพักไปก่อน เนื่องจากไม่มีทุนเหลืออีกแล้ว ประกอบกับต้องทำให้พื้นที่ปลอดเชื้อ"
ชี้ "โรคระบาดหมู" มีมาตั้งแต่ปี 62
ด้าน นายนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจ.ราชบุรี เปิดเผยว่า ต้นตอของหมูแพงคือ ราคาต้นทุนวัตถุดิบเช่น ข้าวโพด ปลายข้าว ที่เพิ่มสูงขึ้นมา 30-40% และ ปัญหาโรคระบาดซึ่งมีมาตั้งแต่ปี 2562 แล้ว ทางสมาคมและกลุ่มผู้เลี้ยงได้นำเงินของสมาคมมาแก้ปัญหานี้มาตลอด แต่มาช่วงหลังการระบาดหนักขึ้นจนทางสมาคมไม่มีเงินเพียงพอที่จะสนับสนุนจุดนี้ได้แล้ว และภาครัฐก็ไม่มีเงินเพียงพอที่จะช่วยสนับสนุน จึงทำให้หมูหายไปจากวงจร จากเดิม 21 ล้านตัว เหลือเพียง 12 ล้านตัว การผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการราคาหมูจึงแพงขึ้น
mgwin88 ??ย้ำต้องให้ "สมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯเข้าไปบริหารจัดการ"
สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหา การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอาจจะรณรงค์ให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคไก่หรือปลาแทน ซึ่งเป็นโปรตีนเหมือนกับหมู และการแก้ปัญหาระยะยาวอาจจะหานักวิชาการมาช่วยกันพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคระบาด และถ้าต้องมีการนำเข้าเนื้อหมูจริงๆ ทางสมาคมได้เสนอทางภาครัฐ ให้ทางพิกบอร์ด สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เข้าไปบริหารจัดการเอง เนื่องด้วยเรามีความพร้อมทั้งคณะกรรมการ ประสบการณ์และความรู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการ ว่าประชาชนในประเทศต้องการบริโภคเนื้อหมูในแต่ละวันเท่าไหร่ เพื่อที่จะนำความรู้และเงินส่วนต่างจากการนำเข้าเนื้อหมูไปช่วยกลุ่มเกษตรรายย่อย ที่ได้รับความเดือดร้อน
"สรุป ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เนื้อหมูราคาปรับสูงขึ้น มาจาก 2 เหตุผลได้แก่ 1. ผู้เลี้ยงสุกรแบกภาระต้นทุนด้านการเลี้ยงไม่ไหว จึงตัดสินใจปล่อยฟาร์มร้าง ทำให้หมูขาดตลาด และ 2. ผู้เลี้ยงสุกรต้องใช้เงินลงทุนในระบบป้องกันโรค หรือ Biosecurity สูงมาก ทำให้มีต้นทุนส่วนนี้เพิ่มถึงตัวละ 500 บาท"
ติดตามรายละเอียดได้ที่ :::
https://slotxo-game.vip/