͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ไทยเร่งตามกลุ่มเสี่ยงโอไมครอน 252 ราย สกัดการแพร่เชื้อ ชี้ ระบาดเร็ว ติดซ้ำได้  (อ่าน 84 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Hanako5

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13281
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด

 ไทยเร่งตามกลุ่มเสี่ยงโอไมครอน 252 ราย เข้ามาตรวจและกักตัว หลังเริ่มระบาดในหลายประเทศ ชี้ มีการติดเชื้อซ้ำสูงขึ้น และเร็วกว่าเดิม


          วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เดลินิวส์ออนไลน์ รายงานว่า นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. เปิดเผยว่า ที่ประชุมอีโอซีกระทรวงสาธารณสุข ให้กรมควบคุมโรครายงานข้อมูลของโควิดกลายพันธุ์โอไมครอน พบว่า อาการผู้ติดเชื้อไม่ต่างจากสายพันธุ์อื่น แต่มีเรื่องอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเข้ามา ไม่สูญเสียการรับรสและกลิ่น อาการป่วยไม่รุนแรง และมีรายงานการเสียชีวิตแล้ว ส่วนอัตราการแพร่เชื้อ สายพันธุ์เดลตาแพร่เชื้อเร็วกว่าอัลฟา 60% แต่ทางแอฟริกาใต้ระบุว่า โอไมครอนน่าจะเร็วกว่าเดิม มีอัตราการติดเชื้อซ้ำสูงขึ้น และอาจหลบภูมิคุ้มกันได้อย่างมีนัยสำคัญ

          อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่ยังไม่มีข้อมูล ต้องรอการวิจัยเรื่องการติดเชื้อทวีคูณ ความรุนแรง ระยะฟักตัวของเชื้อ แต่ทางผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า วัคซีนยังสามารถป้องกันอาการรุนแรงได้ และขอเน้นย้ำเรื่องการฉีดวัคซีนด้วย

          ส่วนประเทศไทยตอนนี้ มีข้อมูลผู้เดินทางจาก 8 ประเทศเสี่ยง เข้าไทยตั้งแต่วันที่ 15-27 พฤศจิกายน 2564 จำนวน 255 ราย ออกประเทศไทยไปแล้ว 3 ราย เหลือ 252 ราย ตอนนี้ติดตามตัวมาได้แล้ว 11 ราย ซึ่งที่ประชุมอีโอซี ได้เน้นยำให้คนเหล่านี้มาตรวจ RT-PCT ในโรงพยาบาลรัฐฟรี โดยรายชื่อประเทศกลุ่มเสี่ยง ได้แก่

          1. สาธารณรัฐบอตสวานา

          2. ราชอาณาจักรเอสวาตินี

          3. ราชอาณาจักรเลโซโท

          4. สาธารณรัฐมาลาวี

          5. สาธารณรัฐโมซัมบิก

          6. สาธารณรัฐนามิเบีย

          7. สาธารณรัฐแอฟริกาใต้

          8. สาธารณรัฐซิมบับเว

          ขณะเดียวกัน ตอนนี้รัฐบาลกำลังใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ มาตรา 34 ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีอำนาจในการออกคำสั่งผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อ หรือเป็นผู้สัมผัสโรคหรือเป็นพาหะ มารับการตรวจหรือการรักษา หรือรับการชันสูตรทางการแพทย์ และเพื่อความปลอดภัย อาจดำเนินการกักตัว ณ สถานที่ที่เจ้าพนักงานกำหนดจนกว่าจะพ้นระยะการติดต่อของโรค หากฝ่าฝืนระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท