ลดหย่อนภาษีปี 2564 ใกล้สิ้นปี ไม่พลาดกองทุนช่วยประหยัดภาษี "SSF" และ "RMF" ทั้ง 2 กองทุนมีข้อแตกต่างอย่างไร เหมาะกับใครบ้าง ควรเลือกลงทุนกองทุนไหน เช็กดูที่นี่ !
ช่วงโค้งท้ายปี มนุษย์เงินเดือนที่วางแผนการเงินเพื่อ "
ลดหย่อนภาษี 2564" พลาดไม่ได้กับ 2 กองทุนช่วยประหยัดภาษี นั่นคือ กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund ) หรือ SSF และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ( Retirement Mutual Fund) หรือ RMF ซึ่งทั้ง 2 กองทุนมีนโยบายการลงทุนในสินทรัพย์ไม่ได้แตกต่างกันนัก คือลงทุนได้ทั้ง หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนทองคำ กองทุนอสังหาริมทรัพย์
ลดหย่อนภาษีปี2564 เลือกลงทุนกองทุน SSF หรือ RMF อย่างไหนดี
ลดหย่อนภาษีปี2564 เลือกลงทุนกองทุน SSF หรือ RMF อย่างไหนดี
แตกต่างก็ตรงการลงทุนใน SSF จะซื้อหน่วยลงทุนเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ตัวอย่าง กองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท และต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ ไม่กำหนดขั้นต่ำในการซื้อ และไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
ส่วนผู้ลงทุนกองทุน RMF ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก และขายได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ไม่กำหนดขั้นต่ำในการซื้อ แต่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี (หรืออย่างน้อยซื้อปีเว้นปี )
ลดหย่อนภาษีปี2564 เลือกลงทุนกองทุน SSF หรือ RMF อย่างไหนดี
ลดหย่อนภาษีปี2564 เลือกลงทุนกองทุน SSF หรือ RMF อย่างไหนดี
SSF และ RMF เหมาะกับใคร ควรเลือกกองทุนแบบไหนดี
กองทุน SSF และ RMF เหมาะกับวัยทำงานที่มีเงินได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี แต่ต้องการประหยัดภาษี และอยากลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนโดยหวังผลตอบแทนในระยะยาว หรือต้องการเตรียมความพร้อมด้านการเงินก่อนเกษียณอายุจากการทำงาน
ส่วนการพิจารณาเลือกลงทุนกองทุน SSF หรือ RMF ขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการลงทุน อายุของผู้ลงทุน รายได้และเงินเก็บ ดังนี้
หากเน้นการออมเงินระยะยาวประมาณ 10 ปี ควรเลือกลงทุนใน SSF เพราะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่อครบ 10 ปี โดยไม่ต้องรอจนอายุถึง 55 ปีเหมือน RMF
เป้าหมายเพื่อเตรียมเงินสำหรับการเกษียณอายุ ควรเลือก RMF เพราะนอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีแล้ว ยังตอบโจทย์การทยอยเก็บเงินไว้ใช้ตอนเกษียณ เนื่องจากเป็นการลงทุนต่อเนื่องทุกปี และสามารถลงทุนตั้งแต่อายุน้อย ซึ่งยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสให้เงินงอกเงยในระยะยาว
หากมีอายุต่ำกว่า 45 ปี มีเงินลงทุนไม่สม่ำเสมอ ก็อาจเลือกลงทุนในกองทุน SSF เพราะเป็นการลงทุนแบบก้อนต่อก้อน ไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี แต่ต้องลงทุนยาว 10 ปี
แต่หากอายุ 45 ปี สามารถเลือกลงทุนได้ทั้งแบบกองทุน SSF หรือ RMF เพราะมีระยะเวลาถือจนครบกำหนด 10 ปีไม่ต่างกัน
ส่วนอายุ 47 ปี หรือ 50 ปีขึ้นไป การเลือกลงทุนในกองทุน RMF จะใช้ระยะเวลาในการลงทุนที่สั้นกว่า เพราะถือเพียง 5 - 8 ปีก็สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ ไม่ต้องถือจนครบกำหนด 10 ปี เหมือน SSF