และการเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่อเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้เจ้าภาพงานต้องคัดกรองผู้มาร่วมงานหรือจำกัดผู้เข้าร่วม
ส่วนยอดการติดเชื้อในประเทศลดลงต่อเนื่องวันนี้พบ 8,165 ราย มาจากต่างประเทศ 9 ราย ส่วนสถานการณ์การติดเชื้อใน 4จว.ชายแดนใต้มีแนวโน้มลดลงโดยพบป่วยรายใหม่ 1,565 ราย การติดเชื้อใหม่ใน 67 จังหวัด 4,854 ราย ส่วนในพื้นที่ กทม.-ปริมณฑล พบป่วยใหม่ 1,212 ราย โดยกทม.ยังพบติดเชื้อรายวันสูงสุด 625 ราย ตายสูงสุด อยู่ในพื้นที่กทม. 10 ราย ส่วนยอดติดเชื้อจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 525 ราย รักษาหาย 9,574 ราย ยังรักษาอยู่ 99,227 ราย มีผู้ป่วยอาการหนัก 2,221 ราย และมีอาการโคม่าต้องใส่เครื่องช่วยหายใจจำนวน 494 ราย
วันที่ 1 พ.ย.2564 ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า โดยล่าสุดพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อีก 8,165 ราย โดยเป็นการติดเชื้อในประเทศ 8,156 ราย (แยกเป็นจากระบบเฝ้าระวังและบริการสุขภาพ 7,241 ราย จากการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 390 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 525 ราย) และเดินทางมาจากต่างประเทศอีก 9 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ปี 63 รวม 1,920,189 ราย อย่างไรก็ตามหากรวมยอดผู้ป่วยจากการตรวจ ATK จำนวน 2,450 ราย ตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่จะมีถึง 10,615 ราย วันนี้มีผู้เสียชีวิตอีก 55 ราย ทำให้ยอดเสียชีวิตขยับไปที่ 19,260 ราย หายป่วยอีก 9,574 ราย รวมยอดรักษาหาย 1,801,702 ราย ยังรักษาอยู่จำนวน 99,227 ราย เป็นการรักษาอยู่ในรพ.43,605 ราย ในรพ.สนาม/HI-CI 55,622 ราย ทั้งนี้มีผู้ป่วยอาการหนัก 2,221 ราย มีผู้ป่วยหนักนี้ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจถึง 494 ราย
อย่างไรก็ตามวันนี้มีรายงานพบคลัสเตอร์ใหม่งานแต่งงานที่จ.เชียงใหม่ นอกเหนือจากคลัสเตอร์งานศพ หรือกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งอยากให้เจ้าภาพงานและผู้มาร่วมงานปฏิบัติตัวตามมาตรการอย่างเข้มงวด ทั้งการสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง คัดกรองอุณหภูมิอย่างละเอียด
สำหรับรายละเอียดผู้เสียชีวิต จำนวน 55 ราย เป็นเพศชาย 26 ราย เพศหญิง 29 ราย อายุ 24-95 ปี อยู่ในพื้นที่ กทม. มากที่สุด 10 ราย ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความรุนแรงของโรคและเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป และมีโรคประจำตัว เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคอ้วน ติดเตียง ซึ่งเป็นโรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น โดยในจำนวนนี้ เป็นการติดเชื้อในพื้นที่ 54 ราย อาศัยในพื้นที่เสี่ยง 18 ราย และเป็นการติดจากคนในครอบครัว 5 ราย และคนอื่นๆ เพื่อน เพื่อนร่วมงาน คนรู้จัก 30 ราย