͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: รัฐบาลมุ่งกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ออกหลักเกณฑ์โอนภารกิจอนามัย-รพ.สต.  (อ่าน 87 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14271
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
รัฐบาลมุ่งกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ออกหลักเกณฑ์โอนภารกิจอนามัย-รพ.สต. ส่งเสริมประชาชนมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพขั้นปฐมภูมิให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่

เมื่อวันที่ น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 19 ต.ค.64 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่องหลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งมั่นให้เกิดการกระจายอำนาจของหน่วยต่างๆสู่ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน และให้สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ และ รพ.สต.สามารถตอบสนองความต้องการทางด้านสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง


 

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวได้กำหนดแนวทางการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการกระจายอำนาจและถ่ายโอนภารกิจที่ล่าช้าอันเนื่องมาจากความไม่ชัดเจนของหลักเกณฑ์ ซึ่งข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ตั้งแต่ปี 2551 - 63 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ และ รพ.สต.รวมแล้วเพียง 65 แห่ง จากจำนวนทั้งสิ้น 9,787 แห่งทั่วประเทศ

ADVERTISEMENT


น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สาระสำคัญของหลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ และ รพ.สต.ได้กำหนดแนวปฏิบัติ ตั้งแต่การดำเนินการก่อนการถ่ายโอน การเตรียมความพร้อมด้านการบริหารภารกิจ งบประมาณ บุคลากร กลไกและกระบวนการถ่ายโอนภารกิจ โดยมีคณะอนุกรรมการบริหารภารกิจถ่ายโอนด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) กำกับดูแล มีการกำหนดตัวชี้วัดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการประเมินความพร้อมที่ชัดเจน


 
"รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเร่งรัดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดทิศทางการให้บริการของหน่วยภายใต้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างหลักประกันความต่อเนื่องของบริการ รวมถึงพัฒนาคุณภาพของการบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่อย่างแท้จริง" น.ส.ไตรศุลี กล่าว