͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ธปท.ห่วงธุรกิจงบการเงินไม่แข็งแรงเจอพิษบาทอ่อน-ซัพพลายดิสรัปชั่น  (อ่าน 78 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Hanako5

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13281
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
ธปท.รับดูแลค่าเงินบาทใกล้ชิด 2 ทิศทาง ไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัว ชี้บาทอ่อนมาจากปัจจัยในประเทศ-ต่างประเทศ เผยการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนกระทบกับสภาพคล่อง-รายได้ ห่วงภาคธุรกิจที่งบการเงินยังไม่แข็งแรงเจอกระทบหนัก ยันเห็นสัญญาณบริษัทบริหารความเสี่ยงค่าเงินเพิ่ม พร้อมเดินหน้าผลักดัน FX ecosystem ด้านนโยบายการเงินยังคงผ่อนคลายต่อเนื่อง ย้ำมีความเสี่ยงเพิ่มพร้อมดูแล

วันที่ 18 ตุลาคม 2564 นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในการประชุมนักวิเคราะห์ (Analyst Meeting) ครั้งที่ 3/2564 ว่า สำหรับแนวโน้มความผันผวนของค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ยอมรับว่ามาจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งที่ผ่านมาเรื่องความผันผวนนั้น ธปท.เข้าไปดูแลทั้ง 2 ทาง เพื่อดูแลไม่ให้ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวโดยเฉพาะในภาวะปัจจุบันที่การฟื้นตัวยังมีความไม่แน่นอนอยู่ เพราะฉะนั้น ธปท.ก็เข้าไปดูแล และติดตามเรื่องความผันผวนอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว


สักกะภพ พันธ์ยานุกูล
โดยให้ความสำคัญกับอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนกระทบธุรกิจเพียงใด ซึ่งเป็นหัวใจของ ธปท.ในการเข้าไปดู ซึ่งจากการพูดคุยและจากการสำรวจ พบว่าธุรกิจไทยมีการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น ส่วนหนึ่งทอนผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนได้ระดับหนึ่ง ไม่ว่าด้านแข็งค่าหรืออ่อนค่า ซึ่งหลัก ๆ จากการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะกระทบกับสภาพคล่อง เรื่องรายได้จากการแปลงเป็นสกุลเงินดอลลาร์เป็นเงินบาทกับผู้ประกอบธุรกิจ ส่วนปัจจัยด้านการส่งออกส่วนใหญ่ ขึ้นอยู่กับรายได้กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าเป็นสำคัญ


ทั้งนี้ สิ่งที่ ธปท.เป็นห่วงภาคธุรกิจที่งบการเงินยังไม่แข็งแรง เนื่องจากเจอโควิดหลายรอบและกระทบเพิ่มเติมจากซัพพลายดิสรัปชั่นและความผันผวนของเรื่องเงินบาท อย่างไรก็ดี ช่วงที่ผ่านมาธุรกิจหันมาให้ความสำคัญบริหารความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ซึ่ง ธปท.พยายามผลักดัน FX ecosystem ส่วนหนึ่งเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ประกอบการในการดูแลความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน โดยผ่อนความและยืดหยุ่นให้ต้นทุนลดลงมากขึ้น ซึ่งยังอยู่ระหว่างดำเนินการและลูกค้าสามารถเปรียบเทียบอัตราการบริหารต้นทุนอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสถาบันการเงินบนเว็บไซต์ของ ธปท.ด้วย

“ค่าเงินบาทอ่อนค่าและผันผวนสูง และเมื่อเทียบกับคู่ค้าคู่แข่งในภูมิภาคเราอ่อนค่าที่สุด ส่วนหนึ่งสะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน และมองไปข้างหน้าตลาดการเงินยังคงมีความผันผวนสูง หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ สื่อสารการลดการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลผ่านมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณ หรือ QE และจะมีการปรับดอกเบี้ยขึ้น รวมถึงความกังวลที่ประเทศจีนจะมีการเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ ส่งผลให้ตลาดการเงินโลกยังคงมีความผันผวน”


นายสักกะภพกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินการคลังภายหลังจากเห็นพัฒนาการฉีดวัคซีนที่ดีชึ้น และการทยอยมาตรการควบคุมการการระบาดโควิด-19 และการเปิดเมือง โดยในระยะข้างหน้ายังมีความเสี่ยงด้านต่ำอยู่ แม้ว่าเศรษฐกิจจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาส 3

โดยนโยบายการเงินยังคงต้องเอื้อให้มีความผ่อนคลายต่อเนื่อง และสิ่งสำคัญคือการผลักดันสภาพคล่องให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ให้ตรงจุด และเพิ่มขนาดให้มากขึ้น จะเห็นว่าโดยรวมนโยบายการเงินยังคงผ่อนคลายสะท้อนจากการระดมทุนยังคงอยู่ในระดับต่ำ และอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อใหม่วงเงินต่ำกว่า 100 ล้านบาทอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี หากมีความเสี่ยงเพิ่มเติม ธปท.ก็พร้อมจะทำนโยบายการเงินเพิ่มเติม

ขณะที่นโยบายการคลังจะเห็นว่ามีการขยับเพดานหนี้สาธารณะจากระดับ 60% เป็น 70% โดยภาพรวมเป็นการเร่งเยียวยาและพยุงเศรษฐกิจต่อเนื่อง รวมถึงในระยะถัดไปจะต้องเร่งฟื้นฟูและยกระดับเศรษฐกิจ ทั้งนี้ การขยับกรอบเพดานดังกล่าวไม่ได้หมายถึงต้องการกู้เงิน แต่ขยับเพื่อความคล่องตัว ซึ่งสัดส่วนในระดับ 60% ของไทยยังถือว่าต่ำกว่าประเทศในเอเซียในระดับใกล้เคียงที่มีเพดานหนี้อยู่ที่ 70% และหนี้ของไทยส่วนใหญ่อยู่ในรูปเงินบาทที่สามารถโรลโอเวอร์ได้

“การขยับเพดานหนี้สาธารณะในระยะสั้น ธปท. และกระทรวงการคลังมีการประสานงานเพื่อดูเรื่องของความผันผวนในตลาดการเงิน เพื่อให้การออกบอนด์เป็นไปอย่างราบรื่น และไม่กระโดดจนเกินไปนัก”