͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: บล.ดีบีเอส มั่นใจหุ้นไทยปีหน้าสดใส ดัชนีทะยาน 1,848 จุด  (อ่าน 158 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Shopd2

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 11951
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
บล.ดีบีเอส ประเมินเฟดปรับลดวงเงินคิวอีเร็วนี้ และใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำถึงไตรมาส3/65 ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยฟื้นจากกระจายวัคซีน-ทยอยเปิดเมือง หนุนดัชนีหุ้นไทยสิ้นปีนี้ที่ 1,695จุด และปี 65 แตะ1,848จุด พร้อมเตือนระเบิดเวลา 12 ปัจจัยเสี่ยงต้องจับตา

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส จัดสัมมนาออนไลน์ DBSV Quarterly Review 4Q21  หัวข้อ "ส่งพลังวัคซีน ฝ่าด่าน QE สู่ดัชนี 1700" เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564 

นางอาภาภรณ์  แสวงพรรค ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยในโค้งสุดท้ายของปี 2564 ยังมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าสิ้นปีนี้ดัชนีจะแตะ 1695 จุด และปีหน้าอยู่ที่ระดับ 1848 จุด โดยอิงราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น หรือ P/E อยู่ที่ 19.3 เท่า

ปัจจัยที่สนับสนุนมาจากตัวเลขการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติที่เริ่มส่งสัญญาณบวก โดยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา (ส.ค.-ก.ย.64)  นักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิกลับเข้ามาเป็นครั้งแรกของปี 2564  โดยในเดือนสิงหาคมมียอดซื้อสุทธิ 5,584 ล้านบาท และเดือน ก.ย.มียอดซื้อสุทธิ 1,0803 ล้านบาท แต่โดยรวมทั้งปีแล้วต่างชาติขายสุทธิ 79,172 ล้านบาท

ขณะเดียวกันแม้ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟดมีแผนที่จะลดวงเงิน QE ลงในเร็วๆนี้ และอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มกลับเป็นทิศทางขาขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2565 ซึ่งเร็วกว่าคาดการณ์เดิม...แต่การที่เฟดพยายามบริหารการให้ข้อมูลที่ดี จะช่วยให้นักลงทุนไม่ตระหนกมาก นอกจากนั้นการฟื้นตัวของการอุปโภคบริโภค  การลงทุน และภาคท่องเที่ยวของไทย รวมถึงการส่งออกที่ยังคงดีต่อเนื่อง จะช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย และทำให้ตลาดหุ้นในปี 2565 สามารถขยับขึ้นต่อได้

บล.ดีบีเอส มั่นใจหุ้นไทยปีหน้าสดใส ดัชนีทะยาน 1,848 จุด

นางอาภาภรณ์ กล่าวต่อว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19  ได้ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ปี 2564 จะเติบโตได้ไม่มาก คือ  0.7% แต่การเร่งกระจายวัคซีน จะทำให้ GDP ปีหน้าฟื้นตัวโต 3.9% ส่วนปัจจัยเสี่ยงในประเทศที่น่าเป็นห่วงและต้องจับตาอย่างใกล้ชิดถือเป็น ระเบิดเวลา 12  ปัจจัยเสี่ยง ประกอบด้วย 1. วิกฤตโรคระบาด 2. การชะลอตัวของเศรษฐกิจ 3. วิกฤตคนตกงาน  4. การขยายตัวของคนจน  5. วิกฤตการเมือง  6. วิกฤตทหาร  7. วิกฤตความเชื่อในสังคมไทย  8. ระเบิดรัฐธรรมนูญ  9. วิกฤตจากภายนอก (สงครามการค้า การเมือง การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ/การออกมาตรการใหม่ๆ ของประเทศขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐ จีน ยุโรป)  10. ความเปลี่ยนแปลงของอากาศ 11.  วิกฤตภาพลักษณ์ และ 12. วิกฤตศรัทธา

สำหรับคำแนะนำ เน้นเลือกซื้อหุ้นพื้นฐานดีและมี ESGเนื่องจากเป็นหุ้นที่มีการเติบโตยั่งยืน  ธุรกิจเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ และมีต้นทุนเงินลงทุน (Cost of Capital) ที่ต่ำกว่า  รวมทั้งหุ้นมีความผันผวนน้อยกว่าในระยะยาว ซึ่งหุ้นที่อยู่ในดัชนีหุ้นยั่งยืนและเราเลือกเป็นหุ้นเด่นในไตรมาส 4/64 ประกอบด้วย BDMS – ธีมเปิดเมืองและสังคมสูงวัย, KBANK – ธีมดิจิตอล แบงค์กิ้ง, GPSC - ธีมแบตเตอรี่และพลังงานทางเลือก, PTTEP – ธีมเปิดเมือง อุปสงค์น้ำมันสูงในช่วงฤดูหนาว และเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว, และ HFT – ธีมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

 


ด้านนายสมบัติ เอกวรรณพัฒนา  ผู้อํานวยการอาวุโส  ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) กล่าวถึง หุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้ประโยชน์จากการที่ประเทศไทยมีความคืบหน้าเรื่องการฉีดวัคซีน  ลดการระบาด และติดเชื้อลดลง  ทำให้ภาครัฐออกโครงการกระตุ้นท่องเที่ยวในประเทศ เช่น โครงการ “เราเที่ยว ด้วยกันเฟส 3” , “ทัวร์เที่ยวไทย” และเริ่มเข้าสู่ไฮซีซันท่องเที่ยว  ฝ่ายวิจัยของบริษัทแนะนำ  ให้เลือกลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวเร็ว เช่น  MINT  , AOT , CPN , HMPRO , BTS

ขณะที่นายธนวัฒน์  ปัจฉิมกุล ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนต่างประเทศ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) กล่าวว่า  เศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปมีแนวโน้มกลับมาขยายตัว ซึ่งจะกระตุ้นเงินเฟ้อ ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) เริ่มลดการผ่อนคลาย แต่แนวโน้มดอกเบี้ยยังคงต่ำมาก  ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนยังคงมองหาผลตอบแทนส่วนเพิ่ม ประกอบกับสภาพคล่องที่สูงก็เป็นปัจจัยหนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ต่อไป 

สำหรับในมุมมองบล.ดีบีเอสฯ  ตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้วจะ outperform ตลาดเกิดใหม่ในช่วงที่เฟดลดการผ่อนคลาย ในขณะที่การเติบโตเศรษฐกิจโลกที่แผ่วลง จะส่งให้นักลงทุนโยกเข้าลงทุนในหุ้นที่มีอัตราการเติบโต(growth) จึงแนะนำธีมการลงทุน เน้นการลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตดีจากการเร่งลงทุนด้านวิจัย และพัฒนารวมทั้งขยายกำลังการผลิต โดยกลุ่มเทคโนโลยีมีการลงทุนเพิ่มมากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ จากที่เคยมีสัดส่วนการลงทุนประมาณ 12% ของยอดลงทุนรวมทุกอุตสาหกรรมในปี 2551 ก็ได้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาที่ 18% ปีนี้ 

อย่างไรก็ตามนักลงทุนจะต้องตระหนักถึงปัจจัยความเสี่ยงจากความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยน, การเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐบาล, เทคโนโลยี, สภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม, การลงทุนในอุตสาหกรรมเฉพาะมีความเสี่ยงสูงกว่าตลาดโดยรวม

 

นายพงศ์ภัทร สิริพิพัฒน์  ผู้ช่วยผู้อํานวยการ ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) กล่าวว่า  ในช่วงที่มีความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อสูง หลังจากที่สินทรัพย์ทางการเงินมีการปรับฐานในเรื่องเงินเฟ้อแล้ว การจัดสรรสินทรัพย์ทางการเงินรอบใหม่ ถ้าเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตไปในทิศทางดี จะทําให้มีแรงซื้อในหุ้นกลุ่ม SET50 แต่จะมีแรงขายตราสารหนี้  แต่ถ้าแนวโน้มเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลง จะมีแรงซื้อเก็งกำไรในกลุ่มทองคำและมีแรงขายตราสารหนี้ โดยภาพรวมตราสารหนี้เป็นลบทั้ง 2 สถานการณ์ในช่วงเงินเฟ้อสูง

สำหรับแนวโน้ม SET50 ทองคํา และค่าเงินบาท  ตามทิศทางเทคนิค SET50 ติดแนวต้าน 1000/1050 แกว่งตัวในกรอบ กรอบล่าง 900-880 ถ้าหลุดแนวกรอบล่างมีโอกาสปรับตัวลงยาว  ส่วนทองคําเริ่มมีโอกาสกลับมาสร้างฐานเพื่อปรับตัวขึ้น  ขณะที่ค่าเงินบาท หากยังไม่หลุดต่ำกว่า 33.50/33.30  ยังเป็นการแกว่งตัวเพื่ออ่อนค่า