͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: CPALL พ้นจุดต่ำสุด โควิดคลาย-ยอดขายฟื้น  (อ่าน 94 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jenny937

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13350
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
บรรยากาศการลงทุนเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และเสียชีวิตในประเทศลดลงต่อเนื่อง นำมาสู่การเตรียมพร้อมเปิดประเทศอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พ.ย. นี้ ซึ่งเหลือเวลาอีกไม่ถึง 2 สัปดาห์เท่านั้น

ขณะที่การใช้ชีวิตของคนในประเทศเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ หลังมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ เพิ่มเติม ทั้งการปรับลดเวลาเคอร์ฟิวเป็น 23.00 น. ถึง 03.00 น. ส่งผลให้กิจการต่างๆ เปิดให้บริการได้นานขึ้น เช่น ตลาดสด ตลาดโต้รุ่ง ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า รวมถึงร้านสะดวกซื้อ สามารถเปิดให้บริการได้ถึง 22.00 น. น่าจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจค่อยๆ กลับมาคึกคักมากขึ้น

ที่ผ่านมา “ธุรกิจค้าปลีก” เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักจากโควิด ท่ามกลางกำลังซื้อที่ชะลอตัว ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น หลังสภาพคล่องหดหายไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ทรุดหนัก ขณะที่หลายคนไม่กล้าออกไปไหนเพราะกลัวโรคระบาด

นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดในเรื่องการเปิดให้บริการ หลังเกิดการระบาดรอบใหม่ ทำให้ ศบค. ต้องงัดมาตรการเคอร์ฟิวมาใช้อีกครั้งในพื้นที่ควบคุมเข้มงวดสูงสุด ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยห้ามออกจากบ้านตั้งแต่ 21.00 น. ถึง 04.00 น. ส่งผลให้ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารต่างๆ เปิดให้บริการได้ถึง 20.00 น. เท่านั้น ขณะเดียวกันรายได้จากลูกค้าต่างชาติแทบไม่มีเข้ามา


อย่างบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL เจ้าของแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ถูกโควิดเล่นงานไม่ต่างกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ย้อนดูผลประกอบการปี 2563 ที่เริ่มรับรู้ผลกระทบจากโควิด บริษัทมีรายได้รวม 546,364 ล้านบาท ลดลง 4.3% จากปี 2562 ที่มีรายได้ 571,006 ล้านบาท ส่วนกำไรสุทธิเหลือ 16,102 ล้านบาท ลดลงเกือบ 28% จาก 22,343 ล้านบาท

โดยธุรกิจร้านสะดวกซื้อมีรายได้จากการขายสินค้ารวม 300,705 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 33,356 ล้านบาท ยอดขายเฉลี่ยของร้านเดิม ลดลงจากปีก่อน 14.5% โดยมียอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวัน 70,851 บาท ยอดซื้อต่อบิล 75 บาท และจํานวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 949 คน

ส่วนงวดครึ่งแรกปีนี้ยังเห็นสัญญาณการชะลอตัวต่อเนื่อง กำไรสุทธิอยู่ที่ 4,788 ล้านบาท ลดลง 43% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 8,532 ล้านบาท โดยยอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวันลดลงจากปีก่อนอยู่ที่ 67,767 บาท ลูกค้าต่อสาขาต่อวันเหลือ 823 คน แต่ยอดซื้อต่อบิลเพิ่มขึ้นเป็น 82 บาท CPALL พ้นจุดต่ำสุด  โควิดคลาย-ยอดขายฟื้น


ที่ผ่านมา CPALL พยายามปรับตัวรับยุคนิวนอร์มอล มีการเพิ่มช่องทางการขายใหม่ๆ ทั้งตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ การสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ โดยจะมารับเองที่ร้านก็ได้ หรือจัดส่งเดลิเวอรี่ให้ถึงบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า

แม้ว่าแนวโน้มผลประกอบการของ CPALL ในไตรมาส 3 ที่กำลังจะประกาศออกมาดูแล้วไม่ค่อยสดใส น่าจะเป็นไตรมาสที่ต่ำสุดของปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์รอบใหม่ และกำลังซื้อที่อ่อนแอ ส่วนกิจการของโลตัสคาดรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเช่นกัน

สำหรับความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างธุรกิจจะมีการโอนกิจการโลตัสให้กับบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ MAKRO ซึ่งคาดว่ากระบวนการโอนกิจการจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนต.ค. นี้ หรือ ต้นเดือนพ.ย. หลังจากนั้น CPALL จะรับรู้ส่วนแบ่งกำไรของโลตัสผ่าน MAKRO อีกที

การปรับโครงสร้างครั้งนี้ แม้จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้น MAKRO ลดลง แต่น่าจะส่งผลดีต่อ CPALL ในระยะยาว โดย MAKRO จะกลายเป็นบริษัทที่มีทั้งธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ครอบคลุมลูกค้าทั้งรายใหญ่และรายย่อย ขณะเดียวกันจะมีสภาพคล่องเข้ามาอีกก้อนหนึ่ง เพราะตามแผนปรับโครงสร้าง CPALL จะขายหุ้น MAKRO ออกมาด้วย 363 ล้านหุ้น และ Green Shoe อีก 340 ล้านหุ้น

ส่วนตัวธุรกิจหลักคาดว่าจะเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 4 นี้ จากการผ่อนคลายล็อกดาวน์ ขยายเวลาเปิดให้บริการ นอกจากนี้ มีลุ้นว่าหลังเปิดประเทศถ้าผู้ติดเชื้อไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ศบค. อาจจะยกเลิกเคอร์ฟิวในไม่ช้า