͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: เช็กลิสต์หุ้นไอพีโอต่อคิวเทรดโค้งท้ายปี 24 บจ.ฝ่าโควิดระดมทุน 8 หมื่นล.  (อ่าน 94 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Shopd2

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 11951
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด

ตลาดหลักทรัพย์ เผย 9 เดือนแรกระดมทุนแล้ว 24 บริษัท ระดมทุน 7.6 หมื่นล้านบาท เปิดข้อมูล 21 บริษัทต่อคิวเข้าตลาดหุ้นโค้งท้ายปี ชี้ต้องรอส่งงบฯ Q3 เสร็จราวเดือน พ.ย. จึงได้ข้อสรุปหุ้นเข้าเทรดปลายปีชัดเจน ฟาก “KTBST” เปิด 3 ปัจจัยเล่นหุ้นไอพีโอ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ต้นปีถึงล่าสุด ณ วันที่ 30 ก.ย. 2564 มีหุ้นที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯแล้วทั้งสิ้น 24 บริษัท แบ่งเป็นระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จำนวน 12 บริษัท และตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) จำนวน 12 บริษัท คิดเป็นมูลค่าระดมทุนรวม 79,204.63 ล้านบาท มูลค่าเสนอขายรวม 117,922.62 ล้านบาท และ มูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคาไอพีโอ อยู่ที่ 383,028.92 ล้านบาท

ขณะที่ในลิสต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) มีรายชื่อหุ้นไอพีโอที่เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯอีก 21 บริษัท (ดูตาราง) แบ่งเป็น SET จำนวน 14 บริษัท และ mai อีกจำนวน 7 บริษัท ซึ่งมีโอกาสจะเข้าเทรดได้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 นี้ โดยที่ชัดเจนแล้ว อาทิ บมจ.ซันเวนดิ้ง เทคโนโลยี (SVT) ที่ปิดจองไอพีโอไปแล้ว เตรียมเทรดใน SET วันที่ 5 ต.ค.นี้ ขณะที่ บมจ.เฮงลิสซิ่ง แอนด์ แคปปิตอล (HENG) ที่นับหนึ่งไฟลิ่งไปแล้ว เตรียมให้ข้อมูลนักลงทุนในวันที่ 5 ต.ค.นี้เช่นกัน เพื่อแสดงความพร้อมเข้าเทรดปีนี้



เช่นเดียวกับบริษัท เบริล 8 พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ BE8 ที่เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ซึ่งปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) นับหนึ่งแบบไฟลิ่งแล้วเช่นกัน โดยบริษัทคาดว่าจะนำ BE8 เข้าจดทะเบียนภายในปีนี้


นายแมนพงศ์ เสนาณรงค์ รองผู้จัดการหัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ช่วงไตรมาส 4 ของทุกปีจะมีหุ้นไอพีโอเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯค่อนข้างมาก โดยจะเข้ามาหลังจากปิดงบฯไตรมาส 3 แล้ว ประมาณ 1 เดือน หรือราวเดือน พ.ย. แต่หากทำคำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน (MD&A) ไม่แล้วเสร็จ ก็จะเลื่อนการเข้าเทรดออกไป เป็นต้นปีถัดไป หรือราวเดือน ม.ค.-ไม่เกินต้นเดือน ก.พ.

ทั้งนี้ การจะเข้าระดมทุนหุ้นไอพีโอจะมี 3 ปัจจัยสำคัญ คือ 1.ข้อมูลการเงินต้องพร้อม เพื่อยื่นเสนอขายและได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) 2.ความต้องการใช้เงินของบริษัทนั้น ๆ 3.สภาวะตลาดหุ้นไทยและสภาพเศรษฐกิจไทย ซึ่งโดยปกติจะมองปัจจัยแรกเป็นหลักก่อน เพื่อเตรียมพร้อมและรอดูว่าต้องการใช้เงินหรือยัง หลังจากนั้นประเมินสภาวะตลาดหุ้น

“แต่บางจังหวะแม้ตลาดหุ้นไทยผันผวนสูง ก็ยังมีหุ้นเข้าจดทะเบียน เนื่องจากหุ้นเหล่านั้นมีความพร้อมและมีแผนในการดำเนินธุรกิจชัดเจน โดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์โควิด-19 ขณะที่ปีหน้าจะมีหุ้นใหญ่เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ซึ่งได้มีการเข้ามาปรึกษา ตลท.แล้ว” นายแมนพงศ์กล่าว

นายมงคล พ่วงเภตรา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน) หรือ KTBST กล่าวว่า ปกติการเล่นหุ้นไอพีโอจะขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก คือ 1.ธุรกิจนั้น ๆ ยังได้รับความสนใจจากประชาชนอยู่หรือไม่ เช่น ถ้าเป็นบริษัทเทคโนโลยีจะได้รับความสนใจมาก แต่ถ้าเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้าง, วัสดุก่อสร้าง นักลงทุนอาจจะไม่ค่อยสนใจมากนัก 2.ภาวะตลาดหุ้นไทย ถ้าตลาดดีมักจะทำให้หุ้นไอพีโอปรับตัวขึ้นค่อนข้างดี และ 3.ใครเป็นผู้รับประกันและการจัดจำหน่าย (underwriter) ซึ่งจะมีผลต่อราคาหุ้น

“การเล่นหุ้นไอพีโอ สินค้าที่ลงทุนต้องดี คนขายต้องเจ๋ง ถ้าสินค้าไม่ดี คนขายไม่เจ๋ง จะลำบาก ซึ่งหุ้นต่ำจองส่วนใหญ่จะมาในลักษณะนี้ และยิ่งไปเจอช่วงภาวะตลาดไม่ดี ราคาหุ้นจะยิ่งตก สำหรับช่วงไตรมาส 4 นี้ ภาวะตลาดหุ้นไทยอาจจะไม่ได้ดีมาก แกว่งตัวไซด์เวย์อัพ เรามองเป้าดัชนี SET Index สิ้นปีไว้บริเวณ 1,650 จุด เนื่องจากนักลงทุนยังไม่กลับเข้ามาในตลาด บางคนกังวลปัญหาหนี้ Evergrande และบางคนเลือกขายทำกำไร ซึ่งเห็นได้ชัดจากหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมาก ๆ เริ่มถูกเทขายออกมา อย่างไรก็ดี นักลงทุนที่เล่นหุ้นไอพีโอยังสามารถเล่นเก็งกำไรได้” นายมงคลกล่าว


ล่าสุดเมื่อวันที่ 30 กันยายน บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE เข้าเทรดวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ฯ SET เปิดตลาดราคาอยู่ที่ 2.28 บาท ปรับตัวลดลง 0.12 บาท ต่ำจอง 5% จากราคาไอพีโอที่ 2.40 บาทต่อหุ้น และปิดตลาดวันแรก ราคาร่วงลงไป 14.17%

ขณะที่บริษัท ซีเเพนเนล จํากัด (มหาชน) หรือ CPANEL ที่เข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ mai วันแรกเช่นกัน มีราคาเปิดตลาดอยู่ที่ 8.70 บาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.70 บาท หรือคิดเป็น 45% จากราคาไอพีโอที่ 6.00 บาทต่อหุ้น และปิดตลาดวันแรกราคาบวก 21.67%

นายเดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราคาหุ้นของบริษัทที่ปรับตัวลงนั้น อาจเกิดจากนักลงทุนเห็นชื่อบริษัทแล้ว เข้าใจว่าบริษัททำแต่สินค้าโภคภัณฑ์ หรือเอทานอลอย่างเดียว แต่ปัจจุบันบริษัทได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์มาเน้นสินค้าที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเอทานอลที่ผลิตเกรดอุตสาหกรรม นำมาใช้ในสเปรย์และเจลเแอลกอฮอล์ สอดรับสถานการณ์โควิด แป้งมันสำปะหลังออร์แกนิกที่เป็นสินค้าเติบโตสูง (high value product) มีมาร์จิ้นที่โตต่อเนื่อง

นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นธุรกิจปลายน้ำมากขึ้นจากเดิมที่ทำแต่ธุรกิจกลางน้ำ โดยมีสินค้าตัวเองภายใต้แบรนด์ “Tasuko” ที่จำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ

“อยากให้นักลงทุนได้ศึกษาข้อมูล จะทำให้เห็นว่าบริษัทยังมีการเติบโตที่ดี โดยจากราคาที่นักวิเคราะห์ประเมินราคาเป้าหมายไว้กว่า 3 บาท ซึ่งจากราคาไอพีโอยังมีส่วนต่างอีกพอสมควร” นายเดชพนต์กล่าว