͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: “พาณิชย์” เผยอาหารโปรตีนจากพืช-แมลง ส่งออกสหรัฐฯ  (อ่าน 134 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Hanako5

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13281
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


“ทูตพาณิชย์ชิคาโก” เผยสินค้าอาหารโปรตีนจากพืชสำหรับสัตว์เลี้ยงกำลังมาแรงในตลาดสหรัฐฯ หลังสถานการณ์โควิด-19 ทำคนอยู่บ้าน และหันมาเลี้ยงสัตว์ ให้ความสำคัญต่อสุขภาพสัตว์มากขึ้น ชี้ผู้ผลิตรายใหญ่ในสหรัฐฯ หันมาลงทุนผลิตมากขึ้น แถมมีรายใหม่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น แนะผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทยใช้จุดแข็งผลิตสินค้าป้อน และเพิ่มทางเลือกอาหารโปรตีนจากแมลง มั่นใจได้รับการตอบรับ

นางสุปรารถนา กมลเวชช ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สำนักงานฯ ได้ติดตามโอกาสทางการค้าของไทยตามนโยบาย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พบว่าสินค้าอาหารโปรตีนจากพืช (Plant-based food) สำหรับสัตว์เลี้ยงกำลังมาแรงในตลาดสหรัฐฯ หลังจากที่อาหารโปรตีนจากพืชสำหรับคนมีการเติบโตไปก่อนหน้านี้ เนื่องจากชาวอเมริกันมีเวลาอยู่กับบ้านมากขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และหันมาเลี้ยงสัตว์มากขึ้น ใส่ใจสุขภาพสัตว์มากขึ้น ทำให้มีความต้องการอาหารโปรตีนจากพืชเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ตลาดอาหารโปรตีนจากพืชสำหรับสัตว์เลี้ยงยิ่งคึกคักมากขึ้น เมื่อมีข่าวว่านักธุรกิจระดับเศรษฐีพันล้านอย่าง นาย Mark Cuban เจ้าของทีมบาสเกต. NBA Dallas Mavericks และเป็นหนึ่งในกรรมการผู้ตัดสินในรายการ Shark Tank ของสหรัฐฯ ได้ร่วมกับนักธุรกิจ และนักลงทุนรายอื่นๆ ได้เพิ่มเงินลงทุนในตลาดอาหารโปรตีนจากพืชสำหรับสัตว์เลี้ยง เป็นเงิน 23 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับบริษัท สตาร์ทอัพน้องใหม่ Wild Earth เป็นผู้ผลิตอาหารโปรตีนจากพืชสำหรับสัตว์เลี้ยง ซึ่งแจ้งเกิดจากรายการ Shark Tank เมื่อ 2 ปีกว่าที่ผ่านมา

สำหรับบริษัท Wild Earth ก่อตั้งขึ้นในรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่ได้ย้ายไปตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่รัฐนอร์ทแคโรไลนา บริษัทเป็นผู้ผลิตอาหารโปรตีนจากพืชสำหรับสัตว์เลี้ยงด้วยการใช้ยีสต์แห้ง ถั่วชิกพี ข้าวโอ๊ต และโปรตีนถั่ว โดยกิจการของบริษัทในช่วงปี 2563-2564 ธุรกิจขยายตัวสูงร้อยละ 700 และมีลูกค้ามากกว่า 40,000 ราย บริษัทมีแผนจะใช้เงินทุนที่ได้รับเพิ่มในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อวัว เนื้อไก่ และอาหารทะเล จากโปรตีนพืชเพื่อใช้เป็นอาหารสุนัขและแมว

ส่วนผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงรายใหญ่ของสหรัฐฯ ที่หันมาลงทุนในตลาดอาหารโปรตีนจากพืชสำหรับสัตว์เลี้ยง เช่น บริษัท Mars เจ้าของแบรนด์ Iams, Pedigree และ Whiskas บริษัท Nestle เจ้าของแบรนด์ Purina ได้เปิดตัวอาหารสุนัขและแมวที่เป็นโปรตีนจากพืชและแมลง บริษัท Freshpet จำหน่ายอาหารสุนัขและแมวประเภทแช่เย็น จะนำเสนออาหารมังสวิรัติสำหรับสุนัข หรือแม้แต่บริษัท General Mills ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ Blue Buffalo มีแผนการผลิตอาหาร Plant-based สำหรับสัตว์เลี้ยงในอีก 2 ปีข้างหน้า

นางสุปรารถนากล่าวว่า ความต้องการอาหารสัตว์เลี้ยงที่เพิ่มขึ้นเป็นโอกาสของไทยในฐานะที่เป็นแหล่งนำเข้าอาหารสัตว์เลี้ยงที่สำคัญที่สุดของสหรัฐฯ โดยผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทยจะต้องศึกษา เพิ่มการผลิต และนำเสนอสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงทำจากโปรตีนพืช หรือโปรตีนแมลง ไปยังตลาดสหรัฐฯ เพราะปัจจุบันโปรตีนจากแมลงเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมบริโภคเพิ่มขึ้นในหมู่ผู้บริโภคสหรัฐฯ อยู่แล้ว การประยุกต์โปรตีนจากแมลงกับโปรตีนจากพืชในการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงจะช่วยในการต่อยอดสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยในสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น

ทางด้านการเข้าสู่ตลาด ผู้ประกอบการไทยควรจะพิจารณาการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเพื่อแนะนำสินค้าและเพิ่มโอกาสในการขยายตลาด โดยมี 4 งานที่เหมาะสม ได้แก่ 1. งานแสดงสินค้าสินค้าสัตว์เลี้ยง Global Pet Expo 2021 วันที่ 23-25 มี.ค. 2565 ณ นครออร์แลนโด รัฐฟลอริดา https://globalpetexpo.org/Default.asp, 2. งานแสดงสินค้าสัตว์เลี้ยง Super Zoo 2021 วันที่ 23-25 ส.ค. 2565 ณ เมืองลาสเวกัส รัฐเนวาดา www.superzoo.org 3. งานแสดงสินค้าอาหารผลิตจากโปรตีนพืช Plant Based World Conference and Expo 2021 วันที่ 9-10 ธ.ค. 2564 ณ นครนิวยอร์ก www.plantbasedworldexpo.com และงานแสดงสินค้าอาหารผลิตจากโปรตีนพืช Natural Product Expo West 2022, วันที่ 9-11 มี.ค. 2565 ณ เมืองอนาไฮม์ แคลิฟอร์เนีย www.expowest.com/en/home.html

ปัจจุบันข้อมูลของสมาคม The American Pet Products Association (APPA) ระบุว่า คนอเมริกันร้อยละ 70 หรือประมาณ 90.5 ล้านครัวเรือนเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงในปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 67 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้คนอเมริกันหาสัตว์เลี้ยงมาเป็นเพื่อนยามเหงาเพิ่มจำนวนมาก ซึ่งเป็นตัวเลขสูงที่สุด และในปีที่ผ่านมาคนอเมริกันใช้จ่ายไปกับสินค้าและบริการสำหรับสัตว์เลี้ยงเป็นเงิน 103.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ซึ่งหมวดสินค้าที่มีการใช้จ่ายมากที่สุด คือ อาหารและผลิตภัณฑ์ของขบเคี้ยว คิดเป็นเงิน 42 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7