͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: RISC by MQDC จับมือ EEC เปิดตัวนวัตกรรม  (อ่าน 83 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Cindy700

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15687
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
RISC by MQDC จับมือ EEC เปิดตัวนวัตกรรม
« เมื่อ: 21 2021-09-21 2021 08:%i:1632188632 »


RISC by MQDC จับมือ EEC เปิดตัวนวัตกรรม ห้องฉุกเฉินความดับลบ (Negative Pressure ER) 100% Fresh Air ช่วยเหลือโรงพยาบาลฝ่าวิกฤต COVID-19

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน โดยบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ RISC by MQDC ตอกย้ำกลยุทธ์การสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับทุกชีวิต หรือ ‘For All Well-Being’ ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ลูกบ้าน แต่รวมถึงสังคมโดยรวม จึงร่วมกับกลุ่มบริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด (EEC) พันธมิตรด้าน งานระบบและวิศวกรรมทั้งระดับชาติและนานาชาติ ในการพัฒนาและเปิดตัวนวัตกรรม “ห้องฉุกเฉินความดับลบ (Negative Pressure ER) 100% Fresh Air” นำร่องติดตั้งที่โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยในสถาณการณ์ โควิด-19 ที่กำลังระบาดหนัก โดยเน้นคุณภาพอากาศเทียบเท่าห้องผ่าตัด ทั้งนี้ ทุกชิ้นส่วนสามารถถอดประกอบได้ เพื่อความสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย และสามารถติดตั้งภายนอกอาคาร โรงพยาบาลสนาม หรือ ส่วนต่อเติมที่ใกล้ห้องฉุกเฉิน (ER) เพื่อรองรับการเข็นเตียงผู้ป่วยที่ติดเชื้อเข้าใช้งาน

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC)
รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC)

“ด้วยความตั้งใจของ RISC by MQDC และเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญในด้านการสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดี มาร่วมสร้างประโยชน์เพื่อสังคม โดยเล็งเห็นถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดเป็นวงกว้าง ส่งผลทำให้ทีมแพทย์และพยาบาลประสบปัญหาพื้นที่ปลอดภัยในการทำงานไม่เพียงพอ ขาดแคลนห้อง ER หรือห้องรักษาผู้ป่วยอาการหนักที่ต้องการทำหัตถการ เราจึงคิดว่า ห้องที่สามารถรองรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาเร่งด่วน รองรับการทำหัตถการฉุกเฉินที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (ผู้ป่วยสีแดง) สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนห้อง ER และช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น เพื่อรองรับและสร้างความปลอดภัย ให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในพื้นที่จำกัดให้กับบุคลากรด่านหน้า

RISC by MQDC จึงได้ร่วมมือกับ EEC บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านงานระบบอาคาร เพื่อสร้างสรรค์ “ห้องฉุกเฉินความดับลบ (Negative Pressure ER) 100% Fresh Air” ให้เป็นนวัตกรรมที่ใช้ระบบปรับคุณภาพอากาศแบบไหลทางเดียว ลดการแพร่กระจายเชื้อ จึงเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่รองรับผู้ป่วยและบรรเทาปัญหาความไม่เพียงพอต่อการรักษาผู้ป่วยอาการหนักที่ต้องการทำหัตถการอย่างปลอดภัย



ห้องฉุกเฉินความดับลบ (Negative Pressure ER) 100% Fresh Air ได้รับการออกแบบทุกส่วนตามหลักสุขภาวะที่ดี (Health and Well-being) สร้างความปลอดภัยด้วยระบบปรับการไหลของอากาศภายในห้อง รวมถึงการออกแบบที่อนุรักษ์พลังงานและยืนหยุ่นต่อการใช้งาน สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก และมีการใช้หลักการออกแบบเพื่อสุขภาพจิตที่ดีผนวกเข้าไปกับส่วนผนังภายนอกของห้อง เพื่อช่วยผ่อนคลายผู้ป่วยที่รอรับการตรวจ ด้วยการใช้แสงสีฟ้า ในการช่วยลดความเครียดลงได้เร็วกว่าแสงสีขาวถึง 3 เท่าให้แก่ผู้ป่วย ถือเป็นการช่วยลดความเครียดให้กับทั้งผู้ป่วย ญาติ และผู้ที่สัญจรผ่านไปมาอีกด้วย ” รศ.ดร.สิงห์ กล่าว

“ห้องฉุกเฉินความดับลบ (Negative Pressure ER) 100% Fresh Air” ได้มีการพัฒนาโดย RISC by MQDC ร่วมกับ EEC ออกแบบห้องฉุกเฉินความดันลบ 12 Pa (*ข้อกำหนดขั้นต่ำของห้องความดันลบ 7.5 Pa) ทางเข้าของแพทย์ (Anteroom) เตรียมความดันลบที่ 5 Pa เพื่อทำให้อากาศภายในห้องที่มีผู้ป่วยติดเชื้ออยู่ไม่ไหลออกสู่ภายนอก ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ภายในห้องได้มีการออกแบบแยกพื้นที่ให้มีความดันลบต่างกัน แยกทางเข้า-ออก เป็นทางเดียว (one-way route) เพื่อลดทั้งโอกาสการติดเชื้อ และลดการแพร่เชื้อสู่ส่วนต่างๆ ของห้อง



นอกจากนั้น ยังได้ทำการออกแบบงานระบบให้มีการดูดอากาศออกไปโดยตรงจากผู้ป่วย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดภายในห้อง โดยผ่าน HEPA Filter กรองอากาศและกักเชื้อก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก ทำให้ปลอดภัยทั้งภายในและบริเวณโดยรอบ และมีการเติมอากาศบริสุทธิ์ (100% Fresh air) เข้าสู่ห้อง เพื่อทำให้มีการแลกเปลี่ยนอากาศใหม่ตลอดเวลา ไม่ใช้อากาศเดิมหมุนเวียนในห้อง และเป็นระบบปรับอากาศที่มีการควบคุมทิศทางการไหลของอากาศ โดยแยกแต่ละพื้นที่ ดังนี้

1. พื้นที่ทางเข้าของแพทย์เพื่อเตรียมเข้าห้อง (Anteroom) ออกแบบระบบอัตราการถ่ายเทเปลี่ยนอากาศ 10 รอบต่อชั่วโมง (10 Air changes/hour)

2. ส่วนหัตถการ มีการออกแบบระบบอัตราการถ่ายเทเปลี่ยนอากาศ 13 รอบต่อชั่วโมง (13 Air changes/hour)

*มาตรฐานด้านการแพทย์กำหนดขั้นต่ำของห้อง ER ระบบอัตราการถ่ายเทเปลี่ยนอากาศ 12 รอบต่อชั่วโมง (12 Air changes/hour)



ส่วนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมของตัวห้อง ได้มีการออกแบบโดยคำนึงถึงการป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบนพื้นผิวของห้องและการอนุรักษ์พลังงาน การใช้งานได้ตรงตามพฤติกรรม ออกแบบตามหลักด้านสุขอนามัย และมีความยืดหยุ่นต่อการประกอบติดตั้ง ใช้พื้นที่น้อย มีความคล่องตัวในการขนย้าย

ภายในห้องมีรายละเอียด ดังนี้

· ผนัง ISO WALL มีพื้นผิวผนังไม่เอื้อต่อการเกิดเชื้อราและทำความสะอาดง่าย

· ประตูทั้งหมดเป็น Seal door ป้องกันการรั่วไหลของอากาศ เพื่อความปลอดภัยบริเวณโดยรอบ ขนาดประตูหลักกว้างเหมาะสมสำหรับรถเข็นและการขนย้ายอุปกรณ์ต่าง ๆ

· ขนาดห้องวางเตียงผู้ป่วยได้ 1 เตียง และรองรับทำหัตถการฉุกเฉิน ที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (ผู้ป่วยสีแดง)

· พื้นห้องปูกระเบื้องยาง ตามมาตรฐานห้อง Clean room

· ไฟแสงสว่างภายในห้อง เลือกใช้ อุณหภูมิสีของแสง 4000K และติดตั้งไฟในตำแหน่งทำหัตถการ

· พื้นผิวภายในห้องเน้นสีขาวเพื่อสร้างการสะท้อนเพิ่มความสว่างภายในห้อง แพทย์ทำการรักษาและทำหัตถการมองเห็นได้อย่างชัดเจน และดูสะอาด มองเห็นสิ่งผิดปกติในห้องได้ง่าย



ภายนอกห้องมีรายละเอียด ดังนี้

· ผนัง ISO WALL ติดตั้งฉนวนโพลิยูริเธนชนิดกันไฟลาม ความหนา 2 นิ้ว เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอก และป้องกันการรั่วซึมของอากาศ (Air leakage protection) เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในห้อง

· ห้องสามารถนำไปวางพื้นที่ภายนอกได้ กันแดด กันฝน

· ห้องทุกชิ้นส่วนสามารถถอดประกอบได้ เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย

· ห้องออกแบบให้มีขนาดกระทัดรัด เพื่อใช้ได้ทุกสถานที่ แม้จะมีพื้นที่กำจัด

· ผนังห้องภายนอกเปลี่ยนสีของแสงได้ตามช่วงเวลา เพื่อผ่อนคลายและให้ความสว่างโดยรอบ

RISC by MQDC ให้ความสำคัญกับการออกแบบที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตใจ จากการออกแบบผนังห้องภายนอกให้มีการเปลี่ยนสีได้ตามเวลา ช่วงกลางคืนเปิดไฟโทนสีอุ่น (Warm white) และช่วงกลางวันเปิดไฟสีโทนฟ้า (Blue Light) ในช่วงความยาวคลื่น 470-480 นาโนเมตร จากผลงานวิจัย พบว่า แสงสีฟ้าช่วยลดความเครียดได้เร็วกว่าถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับแสงสีขาว และยังกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex: PFC) ซึ่งช่วยในการบริหารจัดการ กำกับความคิด อารมณ์ และสร้างความผ่อนคลายโดยตรง

นายเกชา ธีระโกเมน ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด (EEC)
นายเกชา ธีระโกเมน ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด (EEC)

นายเกชา ธีระโกเมน ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด (EEC) กล่าวว่า “EEC ได้ร่วมมือกับ RISC by MQDC ในการพัฒนาและเปิดตัวนวัตกรรม “ห้องฉุกเฉินความดับลบ (Negative Pressure ER) 100% Fresh Air ” แห่งแรก และติดตั้งที่โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ในฐานะบริษัทชั้นแนวหน้าด้านวิศวกรรมทั้งระดับชาติและนานาชาติ ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมพัฒนาให้เกิด ห้องฉุกเฉินความดับลบ (Negative Pressure ER) 100% Fresh Air ที่จะเป็นส่วนช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่โรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ในการปฏิบัติหน้าที่ และช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน

EEC ได้เข้ามามีส่วนในการช่วยออกแบบและงานด้านวิศวกรรมของ “ห้องฉุกเฉินความดับลบ (Negative Pressure ER) 100% Fresh Air” โดยมีขนาดตัวห้อง กว้าง 2.50 เมตร ยาว 6.00 เมตร สูง 2.75 เมตร หรือขนาดพื้นที่ห้อง 15.00 ตารางเมตร สามารถวางเตียงผู้ป่วยได้ 1 เตียง และรองรับทำหัตถการฉุกเฉิน ที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (ผู้ป่วยสีแดง) มีการออกแบบแบ่งแยกพื้นที่และทิศทางเข้าออกอย่างชัดเจนของผู้ป่วยและบุคลากร พร้อมทั้ง Anteroom ก่อนเข้าพื้นที่และก่อนออกจากพื้นที่ที่ควบคุมแรงดับลบ (Negative Pressure) พร้อมระบบประตู Seal Door เพื่อป้องกันการรั่วไหลเชื้อออกสู่ภายนอก ระบบปรับอากาศในพื้นที่ถูกออกแบบเป็นระบบ 100% Fresh Air (ไม่ใช้อากาศเดิมหมุนวนในห้อง) ที่มีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความสะอาดโดยผ่าน HEPA FILTER ที่มีการจ่ายอากาศภายในห้องแบบ Uni-Directional Air Flow เพื่อควบคุมทิศทางการไหลอากาศในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความปลอดภัยให้แก่บุคลากรฯขณะทำการรักษา และมีระบบระบายอากาศเสียจากตัวผู้ป่วยโดยตรงที่บริเวณหัวเตียงผู้ป่วยโดยนำไปผ่านการกรองด้วย HEPA FILTER และฆ่าเชื้อโรคก่อนนำไปทิ้งสู่ภายนอก เพื่อความปลอดภัยสำหรับพื้นที่บริเวณโดยรอบอีกด้วย” นายเกชา กล่าว

ผู้ที่สนใจสามารถรับชมวิดีโอบอกเล่าเรื่องราวของ“ห้องฉุกเฉินความดับลบ (Negative Pressure ER) 100% Fresh Air” เพิ่มเติมได้ที่: https://drive.google.com/file/d/1w6mbLh8bju-UQBFXT1n11GxcLpuu5Jy9/view?usp=drivesdk