͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: เติมความรู้วิวัฒนาการโลก!! กรมทรัพย์ฯ เปิด 6 เส้นทางท่องเที่ยวเสมือนจริง  (อ่าน 116 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Shopd2

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 11951
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


ครั้งแรกกับการเปิดโลกธรณีวิทยาเพื่อการท่องเที่ยวบนแพล็ตฟอร์มออนไลน์ “กรมทรัพยากรธรณี” เตรียมจัดงาน “มหกรรมเที่ยวทิพย์อุทยานธรณีโลกสตูล ปีปกติใหม่ 2564” จัดเต็ม 6 เส้นทางท่องเที่ยวเสมือนจริง (Virtual Trails) กับอุทยานธรณีโลกสตูล อุทยานธรณีหนึ่งเดียวของไทยที่ได้รับการยอมรับจาก UNESCO และชวนย้อนอดีตท่องโลกบรรพกาล ผ่านนิทรรศการเสมือนจริง (Virtual Exhibition) กับอุทยานธรณีทั่วประเทศ
นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า อุทยานธรณีโลกสตูล (Satun UNESCO Global Geopark) เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคนและเป็นความภาคภูมิใจของวงการธรณีวิทยาไทย เพราะเป็นอุทยานธรณีระดับโลกแห่งเดียวของประเทศไทยในปัจจุบัน ที่ได้รับการรับรองจากองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) จากจำนวนอุทยานธรณีระดับโลก ทั้งสิ้น 147 แห่งทั่วโลก โดยประชาชนจังหวัดสตูลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับจังหวัดสตูล โดยมี กรมทรัพยากรธรณีร่วมสนับสนุนข้อมูลและผลงานวิจัยทางวิชาการ ในการพัฒนาอุทยานธรณีสตูลเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งแรกของประเทศไทย และยังคงผลักดันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

ปราสาทหินพันยอด 
ปราสาทหินพันยอด

อย่างไรก็ตาม ในปีปกติใหม่ที่มีการระบาดของโรคโคโรน่าไวรัส (COVID-19) ส่งผลให้รูปแบบการท่องเที่ยวของประชาชนทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนไม่สามารถเข้าไปยังพื้นที่จริงได้ ทำให้การท่องเที่ยวเสมือนจริง (Virtual Tour) เข้ามามีส่วนสำคัญในการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวมากขึ้น กรมทรัพยากรธรณี ได้ตระหนักถึงเป้าหมายในการพัฒนาการท่องเที่ยว พร้อมกับการอนุรักษ์แหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาตามแหล่งธรณีวิทยาและพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาของกรมทรัพยากรธรณีให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป

ฟอสซิล อ่าวโต๊ะบ๊ะ
ฟอสซิล อ่าวโต๊ะบ๊ะ

และเพื่อให้เป้าหมายของการบูรณาการการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาสัมฤทธิ์ผล ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ จึงได้ริเริ่มจัดมหกรรมเปิดโลกธรณีวิทยาเพื่อการท่องเที่ยว : กิจกรรมเที่ยวทิพย์อุทยานธรณีโลกสตูล ปีปกติใหม่ 2564 (Virtual Satun Geopark Tourism in the New Normal Year 2021 Festival) ในระหว่างวันที่ 23-24 กันยายนนี้ หวังให้ผู้เข้าชมได้รับความผ่อนคลายจากการสัมผัสธรรมชาติผ่านการท่องเที่ยวเสมือนจริง (Virtual Trails) 6 เส้นทางในอุทยานธรณีโลกสตูล ได้แก่ เส้นทางเชื่อมทะเลอันดามันสู่ทะเลโบราณ เส้นทางตื่นตาท่องป่าหินปูน เส้นทางบุกถ้ำ-ทะลุป่าหลุมยุบโบราณ เส้นทางท่องดงฟอสซิลเขาน้อย เส้นทางถ้ำเลสเตโกดอน และเส้นทางข้ามกาลเวลา รวมทั้งได้รับความรู้ความเข้าใจในวิวัฒนาการของโลกจากหลักฐานทางธรณีวิทยาและนิเวศวิทยา การเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ผ่านผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่หลอมรวมเรื่องราวของอุทยานธรณีไว้ด้วยกัน ในนิทรรศการเสมือนจริง (Virtual Exhibition) จากอุทยานธรณีทั่วประเทศ

หัวใจมรกต อ่าวโต๊ะบ๊ะ
หัวใจมรกต อ่าวโต๊ะบ๊ะ

นอกจากนี้ ภายในงาน ยังมีการเสวนาออนไลน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนจากอุทยานธรณีต่างๆ ในประเทศไทย และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ เพื่อนำเสนอทิศทางและบทบาทของงานด้านอุทยานธรณีระดับโลกกับการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และการขับเคลื่อนอุทยานธรณีโลกภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก พร้อมการนำเสนอการพัฒนาและกลไกการขับเคลื่อนอุทยานธรณีของประเทศไทย ตลอดจนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแต่ละอุทยานธรณีเพื่อพัฒนา และต่อยอดงานด้านอุทยานธรณีของประเทศให้ก้าวหน้าต่อไป รวมทั้ง มีกิจกรรมนันทนาการ สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนในพื้นที่อุทยานธรณีทั่วประเทศ อาทิ การประกวดปาฐกถาในหัวข้อ “ฉันรักอุทยานธรณี“ ของนักเรียน – นักศึกษา การนำเสนอผลิตภัณฑ์จากอุทยานธรณีต่างๆ(Geo Product) รวมถึงกิจกรรมถามตอบชิงรางวัลสำหรับผู้เข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้

มหกรรมเปิดโลกธรณีวิทยาเพื่อการท่องเที่ยว อุทยานธรณีโลกสตูล จากทะเล 500 ล้านปี สู่ขุนคีรียิ่งใหญ่ : มหกรรมเที่ยวทิพย์อุทยานธรณีโลกสตูล ปีปกติใหม่ 2564 พร้อมเปิดให้ผู้สนใจ ลงทะเบียนออนไลน์ได้แล้ววันนี้ที่ https://forms.gle/CxC2KjZqHbggB7Lp9
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfln1AMjU0ChY0BYKZZ4pj4--AIeohKtpfwDYP_kgyYocPa4g/viewform