͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ส่องชีวิตไกด์นำเที่ยวกลางสงครามโควิด   (อ่าน 99 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ PostDD

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14907
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


โควิด-19 ที่แพร่ระบาดหลายระลอก ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวโดยตรง ซึ่ง “ไกด์” นับเป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่ต้องประสบปัญหา นักท่องเที่ยวที่หดหาย-รายได้ลดลงจนแทบเป็นศูนย์ ยาวนานมากว่า 2 ปี

"อัคเรศ ผัดวงศ์" ไกด์ภาษาอังกฤษวัย 48 ปี ว่าที่อุปนายกสมาคมมัคคุเทศก์ จ.เชียงราย ที่อยู่ในวงการนำเที่ยวมานานกว่า 24 ปี และต้องตกงานชั่วข้ามคืนเช่นเดียวกับไกด์คนอื่นๆ สะท้อนถึงปัญหาและการปรับตัวรวมทั้งข้อเสนอเพื่ออนาคตไกด์ ว่าตลอดระยะเวลา 20 กว่าปีที่ทำงานนำเที่ยว พบว่านักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวต่างชาตินิยมมาเที่ยวไทยมาก เพราะเรามีทุนธรรมชาติที่งดงาม วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ฯลฯ ที่เป็นเอกลักษณ์

โดยเฉพาะในช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม ของทุกปีถือเป็นฤดูท่องเที่ยวหรือไฮด์ซีซั่น ที่มีนักท่องเที่ยวทะลักมากันมากมาย ทำให้ไกด์กลายเป็นกลไกสำคัญของวงการท่องเที่ยว กลายเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับผู้ที่ทำงานนี้ ทั้งแบบที่เป็นพนักงานประจำ-ไกด์อิสระหรือฟรีแลนซ์

“ตนทำงานไกด์มาตั้งแต่ปี 2540 เคยเป็นฟรีแลนซ์ ล่าสุดสังกัด "เชียงใหม่ดิสคัฟเวอรี่ทัวร์" ได้พานักท่องเที่ยวไปทั่วเชียงราย และเชียงใหม่ รวมทั้งบางจังหวัดในภาคเหนือ โดยที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนเลยว่าจะต้องมาตกงานภายในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน”

อัครเรศ กล่าวอีกว่าวิกฤติของธุรกิจไกด์เริ่มตั้งเค้าเมื่อต้นปี 2563 ขณะเริ่มมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ไปทั่วโลกทำให้มีการเลื่อนโปรแกรมกลุ่มนักท่องเที่ยวที่จะมาจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศอิตาลี แต่การระบาดรอบที่ 1-2 ก็ยังพยุงสถานการณ์ให้ผ่านพ้นมาได้ กระทั่งมีการระบาดรอบที่ 3 ตั้งแต่เดือน เม.ย.64 เป็นต้นมา นักท่องเที่ยวหายไปหมดทำให้ตนต้องออกจากการเป็นไกด์และเพื่อนร่วมอาชีพจำนวนมากก็ต้องตกงานทันที

ซึ่งในช่วงแรกก็รู้สึกตกใจกันมาก เพราะเคยทำงานหนักโดยเฉพาะไฮด์ซีซั่นแทบไม่มีเวลาพักกลับกลายเป็นคนไม่มีงานทำ แต่ก็รีบปรับตัว ตนรีบกลับไปบ้านย่านสวนตุงและโคมนครเชียงรายใจกลางเมืองเชียงราย แล้วหันมาตั้งแผงขายอาหารเพื่อหวังขายให้ผู้คนที่เคยพลุกพล่านในตัวเมืองทั้งน้ำเงี้ยว ข้าวโพด น้ำแข็งไส ลูกชิ้น หม่าล่า ฯลฯ แต่ทุกคนต่างได้รับผลกระทบจากโควิด-19 กันหมดทำให้ไม่มีคนซื้อ บางครั้งหันไปทำธุรกิจให้เช่าพระเครื่องก็ไม่ประสบความสำเร็จอีก

"เคยคิดไปสมัครแกร็ปฟู๊ดแต่เราคงขี่รถจักรยานยนต์เร็วๆ ไปส่งอาหารไม่ได้ และงานหลายๆ อย่างที่ดูในเว็บไซต์ก็ไม่รับคนที่อายุมากเกิน 45 ปีขึ้นไป ทำให้ไกด์ที่ทำงานมานานต่างประสบปัญหาเหมือนกันหมด พอดีพี่รู้จักกับเครือข่ายจึงได้รับการชักชวนให้ไปทำงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ฯลฯ ให้ไปช่วยงานสำรวจข้อมูล จัดทำแบบสอบถาม อบรมพิเศษ ฯลฯ ทำให้มีงานเข้ามาเป็นช่วงๆ ล่าสุดได้งานด้านเอกสารการรถไฟมาได้ 1 เดือนกว่าแล้ว แต่ก็ไม่รู้ว่าจะได้ทำอีกนานแค่ไหน

ปัจจุบันสมาคมมัคคุเทศน์ จ.เชียงราย มีสมาชิกประมาณ 140 คน และในวงการณ์ไกด์คาดว่ามีอยู่รวมกันทั้งจังหวัดไม่น้อยกว่า 300 คน มีทั้งไกด์ภาษาอังกฤษ จีน เยอรมัน อิตาลี รัสเซีย ฯลฯ ซึ่งเดิมแต่ละคนมีรายได้แตกต่างกันไป บางคนได้เงินเดือนจากบริษัท บางคนเป็นฟรีแลนช์ได้เฉพาะเบี้ยเลี้ยงรายวัน เฉลี่ยกรณีนำนักท่องเที่ยวไปท่องเที่ยวด้วยรถตู้ 1 คัน ไกด์จะได้เบี้ยเลี้ยงวันละ 800 บาท หากเป็นรถบัสก็ได้ 800-1,500 บาท

แต่เมื่อมีวิกฤติโควิด-19 อาชีพนี้กลับไม่มีระบุว่าจะได้รับการเยียวยาเป็นการเฉพาะ บางคนไม่มีแม้แต่ประกันสังคมมาตรา 33 หรือแม้แต่มาตรา 39 ทำให้หลายคนหันไปทำอาชีพอื่น บางคนค้าขาย ทำการเกษตร ฯลฯ ไปคนละทิศละทาง

ดังนั้นจึงอยากเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ช่วยเหลือผู้ประกอบวิชชีพนี้ด้วย เพราะประเทศไทยมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว มีไกด์เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการพัฒนา แต่เมื่อเกิดวิกฤติขึ้นไกด์แต่ละคนต่างประสบกับความทุกข์ยาก อยากเรียกร้องให้หน่วยงานองค์กรภาครัฐต่างๆ ได้มีโครงการจัดฝึกอบรมหรือกิจกรรมพิเศษต่างๆ ที่นำเอาความสามารถจากศาสตร์เฉพาะด้านของไกด์ไปใช้ประโยชน์ เช่น จัดฝึกอบรมภาษาและวัฒนธรรมต่างประเทศ ให้ผู้ประกอบอาชีพนี้เข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือเงินกู้ ฯลฯ ช่วยให้ไกด์สามารถอยู่รอดได้จนกว่าวิกฤติโควิด-19 จะผ่านพ้นไปและพวกเราคาดหวังจะกลับมาขับเคลื่อนการท่องเที่ยวได้อีก