͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ลงทุนแบบไหนดี เมื่อเศรษฐกิจโลกโต แต่แตกต่าง  (อ่าน 131 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Hanako5

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13281
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


การเตรียมลดการซื้อสินทรัพย์ หรือ การทำQE Tapering ภายในปีนี้ ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)  ที่แถลงล่าสุด และระบุว่าจะยังไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะอันนี้ใกล้แม้เงินเฟ้อจะขยายตัวขึ้นก็ตาม

 อีกทั้งการระบาดของโควิด-19ยังเป็นปัจจัยที่ยังคงให้ความสำคัญเช่นกัน ซึ่งยังคงเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้

ประเด็นที่ KTBST SEC ได้เคยนำเสนอไปคือ เศรษฐกิจโลกจะเติบโตขึ้นต่อเนื่องหรือไม่นั้น ต้องบอกว่ายังมีสัญญาณบวกอยู่เพราะไม่มีการล็อคดาวน์เศรษฐกิจแล้วในสหรัฐฯและหลายประเทศยุโรป แต่การเดินทางระหว่างประเทศยังมีข้อจำกัด การประกาศยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยในระยะอันใกล้ของประธาน Fed บ่งบอกว่าเศรษฐกิจยังต้องดูปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย ทำให้ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงประเทศอื่นๆ ยังไม่เจอแรงกดดันในเรื่องนี้

แต่มีประเทศเกาหลีใต้ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็นประเทศแรกในเอเชียตอนนี้ จากการที่เศรษฐกิจเติบโต เป็นการสะท้อนนัยว่าแต่ละประเทศเวลานี้เจอผลกระบจากโควิดเหมือนกัน แต่มีความสามารถฟื้นเศรษฐกิจกลับมาได้ไม่เหมือนกัน อีกครั้งมีการดำเนินนโยบายการเงินที่ไม่อิงไปกับทิศทางของธนาคารกลางสหรัฐฯ

นอกจากนี้ภายใต้การระบาดของโควิดที่รุนแรงไม่เท่ากันแต่ละประเทศ ทำให้แนวโน้มที่จะเปิดการเดินทางระหว่างประเทศนั้น คงอีกใช้เวลาพักใหญ่ๆ หรือจนกว่าจะมีการวัคซีนฉีดให้กับประชากรทั่วโลกได้มากพอ และแต่ละประเทศพร้อมที่จะรับมือการเดินทางระหว่างประเทศ


นั่นหมายความว่า เศรษฐกิจโลกและของประเทศต่างๆ ยังเติบโตได้ แต่จะเป็นการเติบโตแบบ “ประเทศใครประเทศมัน” และเติบโตใน “แบบอุตสาหกรรมของใครของมัน” และด้วยข้อจำกัดทางเศรษฐกิจดังกล่าวที่ยังมีอยู่ แม้เศรษฐกิจจะฟื้นตัวเติบโตได้ แต่ก็อาจเห็น “การชะตัวลง” บ้างสลับกันไป โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอย่างสหรัฐฯ ,ยุโรปและ จีน ที่ต้องติดตามเพื่อรับมือกับการลงทุน

 KTBST SEC มีประเด็นและคำแนะนำให้นักลงทุนต้องติดตามในระยะอันใกล้ดังนี้ครับ

 1.) เนื่องจากตัวเลขการว่างงานของสหรัฐฯที่ยังคงสูงกว่าเมื่อเทียบกับก่อนช่วงก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 และมาตรการแจกเงินเพิ่มในส่วนสวัสดิการว่างงานกำลังจะสิ้นสุดลงจะส่งผลให้การบริโภคและใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอตัวลง ส่งผลต่อเนื่องมาถึงปัจจัยต่อมาคือ

2.) ตัวเลขภาคการผลิต (PMI) และความเชื่อมั่นการบริโภคที่เติบโตไม่สอดคล้องกัน จึงอาจเห็นการขยายตัวของเศรษฐกิจที่อาจชะลอตัวลง ในช่วง 1-2 ไตรมาสข้างหน้าและทำให้การจ้างงานลดลง

3.) การระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลต้ารวมถึงสายพันธ์ใหม่ๆ ที่ยังเป็นความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของตลาดแรงงานและภาคบริการ หากการระบาดใหม่ที่รุนแรงจนต้องมียกระดับมาตรการป้องกันให้เข้มงวดมากขึ้น


ควรเตรียมกลยุทธ์ลงทุนอย่างไร..?

โดยรวมจะเห็นว่าการระบาดของโควิดยังเป็นตัวแปรหลักที่จะส่งผลถึงภาคการผลิต การบริโภคและการจ้างงาน แต่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วยังโตต่อไปได้ แต่อาจโตในอัตราที่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า และการลดมาตรการ QE Tapering ของ Fed จะทำให้ตลาดหุ้นเกิดความผันผวนบ้างในระยะสั้น ดังนั้นยังคงแนะนำเข้าลงทุนในหุ้นสหรัฐฯและยุโรป เมื่อราคาปรับตัวลงมา โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่ เช่น หุ้น Facebook , Amazon , Alphabet และกลุ่มสุขภาพ , การแพทย์  แต่ในระยะนี้แนะนำเพิ่มว่า ควรขายทำกำไรบ้างหากปรับตัวขึ้นไปสูงมาก และพร้อมที่เปลี่ยนไปลงทุนในกลุ่มอื่นหรือภูมิภาคอื่นที่ราคาไม่สูง ขณะเดียวกันอาจพิจารณาเลือกพักเงินบางส่วนบ้างในตราสารหนี้ เพื่อลดความผันผวน

เช่นเดียวกันหุ้นเทคโนโลยีในตลาดหุ้นจีนที่มีระดับราคาไม่แพงเช่นกัน แม้จะมีกลุ่มเทคโนโลยีและการบริโภคที่ถูกรัฐบาลออกมาตรการควบคุมเพื่อให้เกิดการเติบโตที่ไม่เหลื่อมล้ำ (Common Lottovip Prosperity) แต่บริษัทเหล่านี้ไม่ได้รับผลกระทบจนทำให้การทำธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และด้วยเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวจากการใช้มาตรการล็อคดาวน์ในช่วงที่ผ่านมา จึงมีแนวโน้มที่จะดำเนินนโยบายเชิงผ่อนคลายมากขึ้น

คงจะเห็น New Normal ของทิศทางเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับแต่ละประเทศ และแน่นอนว่าคงจะเป็นโอกาสสำหรับการลงทุนระหว่างที่รอการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ และภาวนาให้เรื่องใหม่ๆที่เกิดต่อเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลบวกมาถึงเศรษฐกิจไทยที่กำลังต้องการฟื้นตัวที่ไม่ใช่แค่ New Normal แต่เป็นแบบ New Sustainable  

ติดตามข่าวสารบทวิเคราะห์การลงทุนจาก KTBST SEC  ได้ที่ เพจ Facebook/KTBST  และทางเว็บไซด์ www.ktbst.co.th