͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ส่องเทรนด์สุขภาพ คนไทยใช้จ่ายเพื่อบริการทางการแพทย์ที่บ้านมากขึ้น  (อ่าน 128 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ luktan1479

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16766
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


แนวโน้มด้านสุขภาพ หรือกลุ่มเฮลท์แคร์ เป็นบริการที่ถูกมองว่าจะมีการเติบโตในอนาคต โดยเฉพาะนับตั้งแต่โควิด-19 ระบาดยิ่งตอกย้ำว่าเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับทุกคน ผนวกกับการต้องเว้นระยะห่าง ลดการสัมผัส เป็นเรื่องจำเป็นในยุคโควิด

ทำให้ทุกคนต้องอยู่บ้านมากขึ้น ลดการเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยงรวมถึงโรงพยาบาล ทำให้การดูแลสุขภาพ ต้องเริ่มต้นที่บ้าน จึงไม่น่าแปลกใจที่บริการทางการแพทย์ที่บ้าน จะเติบโตและมีท่าทีว่าจะเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ

ตลาดบริการทางการแพทย์ที่บ้าน (Home Healthcare) ทั่วโลกในช่วงปี 2565 – 2569 มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5.9% (CAGR)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2564 มูลค่าการใช้จ่ายสำหรับบริการทางการแพทย์ที่บ้านของไทย จะอยู่ที่ 2,200–2,300 ล้านบาท เติบโตได้เล็กน้อยที่ 2.4% (YoY) รวมถึงมองว่า ตลาดบริการทางการแพทย์ที่บ้านอาจเติบโตได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป เฉลี่ยที่ 7.3% (CAGR) ในระยะ 3 ปีข้างหน้าด้วย


 ทำไม "บริการทางการแพทย์ที่บ้าน" ถึงมีแนวโน้มเติบโตได้อีก ? 
การรับบริการทางการแพทย์ที่บ้านไม่ใช่แค่เทรนด์ที่ได้รับความนิยมในช่วงโควิดเท่านั้น แต่มีหลายสาเหตุที่ทำช่วยหนุน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ๆ ทำให้สามารถขยายประเภทการให้บริการนอกสถานพยาบาลได้มากขึ้น

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทั่วโลก ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ทำให้มีความต้องการบริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าคนมีความเต็มใจที่จะจ่ายสำหรับบริการด้านสุขภาพสูงขึ้น เพื่อรับบริการที่สะดวกสบาย ปลอดภัย และตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของแต่ละคนได้

 

 ตัวอย่างบริการทางการแพทย์ที่บ้าน 
ในหลายประเทศมีแนวโน้มว่าความต้องการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ทั่วถึงมากขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อสูงขึ้นและการพัฒนาระบบสาธารณสุขของแต่ละประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์

ที่มีการขยายบริการทางการแพทย์ที่บ้านที่น่าสนใจ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายหลักที่กลุ่มผู้สูงอายุและวัยทำงานที่มีกำลังซื้อ

บริการทางแพทย์ที่บ้าน 


ในขณะที่บริการทางการแพทย์ที่บ้านของไทยส่วนใหญ่ยังเป็นบริการสำหรับผู้ป่วยเป็นหลักและยังมีค่าใช้จ่ายต่อครั้งค่อนข้างสูง ทำให้อาจยังไม่ค่อยได้รับความนิยมในวงกว้าง

อย่างไรก็ตามตัวเลขเหล่านี้ต่างสะท้อนว่า ในอนาคตอันใกล้ บริการทางการแพทย์ รูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะรูปแบบเฉพาะที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแต่ละประเทศ จะมีโอกาสเติบโตได้อีก และนั่นจะเป็นโอกาสของผู้ให้บริการและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องด้านสุขภาพต่อไปด้วย