͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ‘กรุงไทย’แย้มใช้ เงินแจก IMF ฝ่าโควิด หนุนบาทแข็งค่าแต่ไม่กระทบพื้นฐาน  (อ่าน 132 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ dsmol19

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16170
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


“กรุงไทย” เผยทุนสำรองฯ ปรับขึ้น 7.7 พันล้านดอลลาร์ พบสัญญาณธปท.เข้าลดเงินบาทกลับแข็งค่าในสัปดาห์ก่อน จับตาใช้เงินแจก IMF 4.4 พันล้านดอลลาร์ รับมือการแพร่ระบาดฟื้นเศรษฐกิจ แม้หนุนบาททยอยแข็งค่าในปีหน้าหลุด32 บาทต่อดอลลาร์ แต่ไม่กระทบปัจจัยพื้นฐานที่กำลังสดใสขึ้น

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี้  ยอดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีการปรับตัวขึ้นกว่า 7.7 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งอาจสะท้อนถึงความพยายามเข้ามาลดความผันผวนของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา หลังจากที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว 
 
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาถึงองค์ประกอบของยอดดังกล่าวที่เพิ่มขึ้น จะพบว่า ยอดเงินที่อาจใช้เพื่อการลดความผันผวนของค่าเงินนั้น จะอยู่ที่ราว 3.3 พันล้านดอลลาร์    ในขณะที่ ยอดส่วนใหญ่อีกกว่า 4.4 พันล้านดอลลาร์นั้น มาจากการเพิ่มขึ้นของ ยอดสิทธิพิเศษถอนเงิน (Special Drawing Lottovip Rights : SDRs ) ซึ่งมาจากการที่ IMF ได้แจกจ่ายเงินช่วยเหลือบรรดาประเทศสมาชิก ด้วยวงเงินกว่า 650 พันล้านดอลลาร์ ผ่านช่องทาง SDRs (ปัจจุบัน 1 SDRs มีมูลค่า ราว 1.42 ดอลลาร์) 


โดยเงินช่วยเหลือดังกล่าว IMF หวังว่า บรรดาประเทศสมาชิกจะได้นำไปใช้ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากปัญหาการระบาดโควิด-19 โดย เฉพาะในฝั่งประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาที่ขาดแคลนเงินทุนในการรับมือปัญหาการระบาด อีกทั้ง IMF ยังหวังว่า ประเทศที่ร่ำรวยจะนำเงินที่ได้ไปช่วยเหลือประเทศที่ขาดแคลนเช่นกัน

 

ในส่วนของประเทศไทย มีสัดส่วนการได้รับ SDRs ราว 0.67% ตามขนาดเศรษฐกิจ ทำให้ ในการแจกจ่ายเงินครั้งประวัติศาสตร์ของ IMF รอบนี้ ประเทศไทยจะได้รับเงินช่วยเหลือราว 3.08 พันล้าน SDRs หรือ คิดเป็นประมาณ 4.4 พันล้านดอลลาร์

‘กรุงไทย’แย้มใช้ เงินแจก IMF ฝ่าโควิด หนุนบาทแข็งค่าแต่ไม่กระทบพื้นฐาน


นายพูน กล่าวว่า  เงินดังกล่าว ควรถูกนำมาใช้ในการรับมือปัญหาการระบาด โดยเฉพาะการเร่งฟื้นฟูระบบสาธารณสุข ด้วยการนำเงินดังกล่าวไปจัดซื้อ ยาที่จำเป็น อาทิ Remdesivir หรือ Monoclonal antibody รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการรับมือเคสผู้ป่วยหนัก ด้วยการจัดหา เครื่องช่วยหายใจแบบ High Flow เป็นต้น


นอกจากนี้ เงินที่เหลือก็ควรนำมาจัดซื้อวัคซีนประสิทธิภาพสูง และ จัดซื้อชุดตรวจ ATK เพื่อแจกประชาชนอย่างทั่วถึง ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถรับรู้สถานการณ์การระบาดและวางแผนรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


ดังนั้น มองว่า หากเงินดังกล่าวถูกนำมาใช้ในการช่วยรับมือการระบาด อาจจะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวได้ดี และไม่มีผลต่อค่าเงินบาทอย่างมีนัยสำคัญ  แต่หากมีการใช้เงินส่วนนี้  ทำให้แนวโน้มเงินบาทสามารถทยอยกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ในปี 2565  มองไว้ที่แข็งค่ามากกว่า 32.00 บาทต่อดอลลาร์ แต่ไม่ได้สร้างผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐาน เพราะสถานการณ์การระบาดที่คลี่คลายลง รวมถึงภาพเศรษฐกิจที่เริ่มสดใสมากยิ่งขึ้น