͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ถอดบทเรียนล็อกดาวน์ ปิดไม่ให้เสีย-เปิดไม่ให้เสี่ยง  (อ่าน 117 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ fairya

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12401
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผล การสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 9 ในเดือนส.ค. 2564 ภายใต้หัวข้อ “Lockdown อย่างไร เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสาธารณสุข”จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 201 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 75 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด

วิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ มองว่า มาตรการล็อกดาวน์ที่ภาครัฐดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนั้น สามารถควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19ได้ในขอบเขตที่จำกัด สาเหตุนั้นเกิดจากความไม่เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย เช่น กรณีการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย โดยผู้บริหาร ส.อ.ท. เห็นว่าควรมีการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ให้ผู้ที่ได้รับวัคซีน2เข็ม สามารถเข้าใช้บริการร้านอาหารและกิจการบางประเภทได้ ควบคู่กับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดตามประวัติการเดินทาง ควบคุมผู้มีความเสี่ยง และระบบรับรองผู้ได้รับวัคซีน2เข็ม (Certificate of Entry)รวมทั้งมีการตรวจและติดตามเชิงรุกเพื่อคัดแยกตัวผู้ป่วย นอกจากนี้ ยังเสนอให้ภาครัฐเร่งใช้งบประมาณในการจัดหาและสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อชุดตรวจโควิด-19 Antigen test kitให้แก่โรงงาน เพื่อสุ่มตรวจหาผู้ติดเชื้อตามมาตรการBubble and Sealซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19ในภาคอุตสาหกรรม

โดยหนึี่งในคำถามระบุว่า แนวทางใดจะช่วยทำให้การLockdownเกิดความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสาธารณสุข ส่วนใหญ่ตอบว่า ผ่อนปรนให้ผู้ที่ได้รับวัคซีน2เข็ม สามารถเข้าใช้บริการได้ เช่น ร้านอาหาร สถานเสริมความงาม ฯลฯ73.6% รองลงมา นำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดตามประวัติการเดินทาง ฯ69.7% ,การตรวจและติดตามเชิงรุกเพื่อคัดแยกตัวผู้ป่วยออกจากสังคม68.7% และอนุญาตให้เปิดธุรกิจบริการบางประเภท โดยจำกัดขนาดพื้นที่ต่อจำนวนคน68.2%

ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า หากจะถอดบทเรียนการล็อกดาวน์ที่ผ่านมาในส่วนของภาคการผลิตซึ่งเป็นเหมือนหน่วยทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่เป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจในขณะนี้ก็พบว่าท่ามกลางการล็อกดาวน์โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆต้องลงทุนมาตรการบับเบิลแอนด์ซีล และ มาตกรการการจัดการในโณงงาน หรือแม้แต่การสุ่มตรวจผ่านชุดตรวจATK ซึ่งทั้งหมดทำให้มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อรักษาความสามารถการผลิตไว้ก็ต้องพร้อมที่จะปรับเพื่อรับมือกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ

เบื้องต้นจะเห็นว่าแม้จะมีการล็อกดาวน์แต่ผู้ประกอบการต้องดูแลตัวเอง แต่ถึงอย่างนั้นภาคอุตสาหกรรมก็เผชิญกับการระบาดที่ค่อนข้างรุนแรงข้อมูลที่ทราบเป็นการทั่วไปมีโรงงานติดโรคมากกว่า 2,000 แห่ง หากไม่เร่งแก้ไขก็จะกระทบต่อซับพลายเชนของประเทศได้ 

ดังนั้น หากจะประเมินมาตรการล็อกดาวน์ว่าจะให้ขยายต่อไป หรือ ยกเลิกนั้น ต้องพิจารณาว่าที่ผ่านมาแม้จะมีล็อกดาวน์ก็ยังพบการติดเชื้อในภาคการผลิต และผู้ประกอบการต้องตั้งการ์ดสูงเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น  ฉะนั้นหากจะยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ก็เป็นคำถามต่อไปอีกว่าปัญหาที่พบในช่วงที่ผ่านมาจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นหรือไม่ 

“ผมคงตอบไม่ได้ว่าล็อกดาวน์ดีหรือไม่ดี แต่ขอถอดบทเรียนว่าที่ผ่านมาล็อกดาวน์ก็ยังเจอการระบาดตอนนี้เราเหมือนสร้างเขื่อนป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าท่วมโรงงาน เราต้องตั้งกำแพงตั้งการ์ดให้สูงเข้าไว้ แต่ถ้ายิ่งไม่มีล็อกดาวน์ก็ยิ่งต้องตั้งการ์ดสูงขึ้นไปอีกและทั้งหมดนี้ก็ตามมาด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ปัญหานี้ไม่มีทางออกเพราะหากมีการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะในภาคการผลิต และภาคการส่งออกซึ่งเป็นเสาหลักคำยันเศรษฐกิจในขณะนี้ ก็จะทำให้การล็อกดาวน์หรือไม่ นั้นไม่ใช่ประเด็นที่ต้องมาถกเถียงกันอีกต่อไป เพราะล็อกดาวน์เป็นเหมือนการยับยั้งชั่วคราว แต่วัคซีนคือการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง 

สำหรับสถานการณ์ส่งออกปีนี้ หลายอุตสาหกรรมมีคำสั่งซื้อยาวไปจนถึงสิ้นปีแล้ว แต่ปัญหาที่ผู้ประกอบการยังเป็นห่วงคือการเดินเครื่องผลิตเพื่อส่งมอบได้ตามคำสั่งซื้อและอุปสรรคด้านโลจิสติกส์ต่างๆโดยเฉพาะค่าระวางเรือและพื้นที่บนเรือที่ต้องเร่งแก้ไขเพื่อให้การส่งออกพยุงเศรษฐกิจได้ต่อไป