͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ปัจจัยรุมส่งออกครึ่งหลัง ท้าทาย“ภูสิต”อธิบดีใหม่  (อ่าน 126 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ kaidee20

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16453
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


รายงานจากกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 30 ส.ค. ที่ผ่านมามีมติเห็นชอบแต่งตั้งนายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แทนนายสมเด็จ สุสมบูรณ์ ที่เกษียณอายุราชการ ตามที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เสนอ ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.เป็นต้นไป

สำหรับนายภูสิต เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) หรือทูตพาณิชย์ ณ  นครนิวยอร์ก สหรัฐ ก่อนดำรงตำแหน่งเป็น รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ   และผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ตามลำดับ

ทั้งนี้ ภาคการส่งออกถือเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ โดยสำนักวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ MOODY'S ANALYTICS ระบุในรายงานล่าสุดด้านการวิเคราะห์เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า ซึ่งสาระส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยระบุว่า ภาคการส่งออกของไทยกำลังเผชิญกับการขาดแคลนวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงแรงงานเนื่องจากปัญหาการระบาดโควิด-19 ที่นำไปสู่คำสั่งการควบคุมและจำกัดการเคลื่อนย้ายบุคคล 

     ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในเดือนก.ค. ตัวเลขการส่งออกไทยยังคงขยายตัวแข็งแกร่งต่อเนื่องที่ 20.27%(YoY )ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี และสูงกว่าคาดการณ์ที่ 19.7% โดยใน 7 เดือนแรกของปี 2564 ตัวเลขส่งออกไทยเติบโตที่ 16.2% ซึ่งเติบโตไปในทิศทางเดียวกับตลาดในภูมิภาคแต่ระดับของการเติบโตยังคงต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ ที่สามารถขยายตัวได้มากกว่า 20% 

     ในช่วงที่เหลือของปี 2564 ภาคการส่งออกที่เป็นปัจจัยหลักในขับเคลื่อนเศรษฐกิจเริ่มเผชิญความเสี่ยงมากขึ้น ทั้งปัจจัยภายนอกประเทศที่เริ่มมีการเผชิญการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าที่มีแนวโน้มรุนแรง ขณะที่ปัจจัยในประเทศเองภาคการผลิตเผชิญความเสี่ยงที่สูงขึ้นจากการแพร่ระบาดในโรงงาน อย่างไรก็ดี โครงการนำร่องการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) น่าจะเข้ามาช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้บ้าง อีกทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐ และยุโรป ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่า น่าจะยังส่งผลให้การส่งออกไทยในปีนี้มีแนวโน้มที่จะยังคงขยายตัวได้ในระดับสูง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงปรับประมาณการส่งออกของไทยในปีนี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 12.4% จาก 11.5%