͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: นายกฯ ชมเด็กไทยเจ๋งคว้ารางวัลโลก ประดิษฐ์เข็มขัดดูดความชื้น  (อ่าน 115 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Thetaiso

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 9362
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


วันนี้ (28 ส.ค.) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมฝากความชื่นชมถึงนายธนวิชญ์ น้ำใจดี และนายฟิวเจอร์ คงชู นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย ตัวแทนประเทศไทย ที่สามารถชนะรางวัลระดับโลก The Winner of Diploma of Excellence จากผลงานวิจัยชื่อ “Bio-Moisture-Nutrient Absorbing Belt for Promoting the Sugarcane Seedlings Growth from the Local Waste” หรือ เข็มขัดดูดซับความชื้นและให้ธาตุอาหารจากวัสดุเหลือทิ้งในชุมชน โดยร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ Stockholm Junior Water Prize 2021 (SJWP 2021) ในงาน World Water Week ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23- 27 สิงหาคม 2564 มีเยาวชนเข้าร่วมประกวด จาก 32 ประเทศ

ผลงาน “เข็มขัดดูดซับความชื้นและให้ธาตุอาหารจากวัสดุเหลือทิ้งในชุมชน” ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศนี้ พัฒนาขึ้นเพื่อการดูแลท่อนพันธุ์อ้อยระยะแรกปลูก ซึ่งได้นำวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นมาสร้างนวัตกรรมในลักษณะเข็มขัดที่สามารถอุ้มน้ำไว้สำหรับการเพาะปลูกท่อนพันธุ์อ้อยในระยะแรกปลูก แม้จะปลูกในพื้นที่แห้งแล้ง ช่วยลดการให้น้ำ และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูกมากกว่าร้อยละ 50 เมื่อเปรียบเทียบจากการปลูกโดยใช้วิธีดั้งเดิม นอกจากนี้นี้ยังนำสารสกัดจากสะเดาช่วยไล่และกำจัดแมลงศัตรูอ้อย จึงเป็นการใช้สารธรรมชาติ ลดการใช้สารเคมี ที่จะเป็นการเพิ่มมลพิษให้แหล่งน้ำและดินอีกด้วย

นายกฯ ชื่นชมความสำเร็จในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการยืนยันถึงความคิดสร้างสรรค์และความสามารถของเยาวชนไทย รวมถึงการสนับสนุนที่ดีจากทั้งครูอาจารย์ ตลอดจนสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รัฐบาลมุ่งมั่นส่งเสริมเยาวชนในการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ เพื่อยกระดับศักยภาพภาคการเกษตรซึ่งเป็นรากฐานของประเทศไทย สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) และสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ และสอดรับกับนโยบายดังกล่าว ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center หรือ AIC) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร ผู้สนใจสามารถนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ไปใช้พัฒนาต่อยอดการผลิต สามารถลดต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร และให้สินค้ามีคุณภาพและมาตรฐาน โดยเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน ภาคเกษตรกร ภาควิชาการ และภาคเอกชน โดยมีรูปแบบโครงสร้าง 1 จังหวัด 1 ศูนย์ ซึ่งตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยที่ได้รับการคัดเลือก ขณะนี้มี จำนวนทั้งสิ้น 69 สถาบัน 83 แห่ง ทั่วประเทศ