͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: “เอนก”  เทียบสถานการณ์โควิดไทย-เวียดนาม   (อ่าน 123 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ PostDD

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14907
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


วันนี้ (27 ส.ค.) ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นไปอย่างค่อนข้างหนักหน่วงในหลายประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดยังคงเป็นอินโดนีเซีย ตามด้วย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทย พม่า เวียดนาม กัมพูชา สิงคโปร์ ลาว และบรูไน  อินโดนีเซียนั้น มีจำนวนผู้ติดเชื้อถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2564 มากกว่าสี่ล้านคนแล้ว ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตนั้น ก็ยังเป็นอินโดนีเซียที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดคือ 129,293 ราย ตามด้วย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย ไทย เวียดนาม กัมพูชา สิงคโปร์ ลาว และบรูไน ก่อนหน้านี้หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ดีมาก หนึ่งในนั้นคือเวียดนาม แต่ขณะนี้สถานการณ์ในเวียดนามนั้นกลายเป็นตึงเครียดไปแล้วจากจำนวนผู้ติดเชื้อในแต่ละวันสูงกว่าจำนวนที่บันทึกไว้ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา

เวียดนามและไทยต่างก็เคยได้รับการชื่นชมและยกให้เป็นแบบอย่างของการสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโควิด-19  ในรอบที่ผ่าน ๆ มา รัฐบาลเวียดนามประสบความสำเร็จในการเข้าไปจัดการอย่างเข้มงวด ดูได้จากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุดถึงหลักร้อย ก็สามารถควบคุมจนลดลงมาเป็นศูนย์ได้เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ และเปิดเศรษฐกิจได้เร็วกว่าใครในอาเซียน อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดระลอกใหม่นี้ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตาเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาและจัดเป็นระลอกที่สี่ของเวียดนาม ทำให้ผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เคยเป็นศูนย์อย่างต่อเนื่องนั้น ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทะลุหลักร้อย หลักพัน และหลักหมื่นในเวลาอันรวดเร็ว โดยในวันที่ 19 สิงหาคม 2564 มีผู้ติดเชื้อเกินหนึ่งหมื่นรายต่อวันเป็นครั้งแรก (10,654 ราย) และจำนวนผู้เสียชีวิตก็เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามต้องประกาศมาตรการล็อคดาวน์ในนครโฮจิมินห์ พร้อมทั้งคุมเข้มมาตรการต่าง ๆ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ระบาดที่รุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ รัฐบาลได้ทบทวนแผนนโยบายวัคซีนอีกครั้ง เนื่องจากที่ผ่านมาการจัดการวัคซีนของเวียดนามคล้ายแบบของไทย มีการทุ่มทุนวิจัยและทดลองผลิตวัคซีนเป็นของตัวเอง แม้ว่าวัคซีนที่ผลิตเองอาจจะช้ากว่าของต่างประเทศ แต่หากเวียดนามทำสำเร็จ การรอคอยวัคซีนที่ผลิตเองจะเป็นสิ่งที่คุ้มค่ามากกว่า ต่างกับนานาประเทศที่นำเข้าวัคซีนจากต่างชาติ ตอนนี้วัคซีนของเวียดนามได้เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของการทดลองกับมนุษย์ แต่เนื่องจากระลอกนี้เป็นการระบาดของเชื้อโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา ที่แพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็วและติดง่ายขึ้น ทำให้เวียดนามเริ่มพิจารณาการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น

รมว.อว.กล่าวต่อว่า หากมองในมุมเปรียบเทียบระหว่างสถานการณ์ของไทยกับเวียดนามในฐานะที่เคยเป็นประเทศที่ได้รับคำชื่นชมในการบริหารจัดการการแพร่ระบาดนั้น พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันของไทยยังสูงกว่าเวียดนามอยู่มาก แต่จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ของไทยนั้นมีแนวโน้มค่อย ๆ ลดลงมา ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2564 และมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันต่ำกว่าสองหมื่นรายติดต่อกันเป็นวันที่สี่แล้ว แตกต่างจากเวียดนามที่จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันนั้นยังไม่นิ่งและมีแนวโน้มที่อาจจะสูงขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดนั้น ไทยยังสูงกว่าเวียดนามอย่างชัดเจน โดยไทยมีผู้ติดเชื้อสะสมจนถึงปัจจุบัน (26 สิงหาคม 2564) จำนวน 1,120,869 ราย เป็นอันดับที่ 31 ของโลก ส่วนเวียดนามนั้นมีผู้ติดเชื้อสะสม จำนวน 392,938 ราย เป็นอันดับที่ 63  

แม้ไทยจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงกว่าเวียดนามกว่าสามเท่าตัวก็ตาม แต่จำนวนผู้เสียชีวิตนั้นต่างกันไม่มาก กล่าวคือไทยมีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสม (26 สิงหาคม 2564) จำนวน 10,314 ราย เป็นอันดับที่ 50 ของโลก ส่วนเวียดนามมีผู้เสียชีวิตสะสม 9,667 ราย เป็นอันดับที่ 52 ของโลก ใกล้ไทยมาก หากสังเกตจากกราฟจะเห็นว่า เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ไทยมีผู้เสียชีวิตสะสม 2,213 ราย แต่เวียดนามมีผู้เสียชีวิตสะสมเพียง 81 รายเท่านั้น ผ่านมาเกือบสองเดือน เวียดนามมีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมเพิ่มขึ้นมากจนเกือบจะเท่าไทย โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม จำนวนผู้เสียชีวิตนั้นพุ่งขึ้นอย่างน่าตกใจ และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาลในวันที่ 26 สิงหาคม 2564 นั้น มีมากกว่าไทยแล้ว คือ 194,783 ราย และมีทีท่าว่าอาจจะเพิ่มขึ้นอีกด้วย ส่วนไทยมีผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 186,934 ราย และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2564 มาแล้ว หากมองย้อนกลับไปดูจำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 นั้น เวียดนามมีผู้ป่วยเพียง 10,248 ราย ส่วนไทยมีผู้ป่วยมากกว่าอย่างชัดเจนจำนวน 52,052 ราย

“จะเห็นได้ว่าการบริหารจัดการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แม้จะมีการล็อคดาวน์ และมาตรการต่าง ๆ เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ รวมทั้งการระดมฉีดวัคซีนอย่างรวดเร็วและทั่วถึงแล้วก็ตาม แต่หลาย ๆ ประเทศที่เคยควบคุมสถานการณ์ได้ดี ต่างก็กำลังประสบปัญหาจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส โดยจะเห็นได้จากเวียดนามและไทย เป็นต้น ดังนั้น ความสามัคคีและการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ทั้งการปูพรมตรวจหาเชื้อ การทำโรงพยาบาลสนามหรือ Home/ Community Isolation การฉีดวัคซีนอย่างรวดเร็วและทั่วถึง รวมทั้งประชาชนในประเทศที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ก้าวข้ามสถานการณ์นี้ไปได้” ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าว