͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: “ไออาร์พีซี”โชว์แผน5ปี รุกนวัตกรรม“เมกะเทรนด์”  (อ่าน 145 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ luktan1479

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16766
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


ชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ไออาร์พีซี ได้กำหนด แผนการลงทุนใน 5 ปี (2564-2568) ด้วยงบกว่า 30,000 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ใช้ในโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงกลั่นและปรับปรุงคุณภาพน้ำมันดีเซลตามมาตรฐาน EURO V (Ultra Clean Fuel Project : UCF) ใช้วงเงินลงทุน 13,000-14,000 ล้านบาท และที่เหลือใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การซ่อมบำรุงเครื่องจักร 

รวมไปถึงการการร่วมทุนหรือซื้อกิจการ (M&A) เพื่อให้บริษัทเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นตามวิสัยทัศน์ “สร้างสรรค์นวัตกรรมการใช้วัสดุและพลังงานเพื่อชีวิตที่ลงตัว” หรือ To Shape Material and Energy Solutions in Harmony with Life เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนองค์กร 

นอกจากนี้เป็นแผนที่จะเป็นการสอดรับการการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก หรือ Mega trends ที่คำนึงการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจต่างๆ ของโลก อาทิ เทคโนโลยี การสื่อสาร การคมนาคม ความต้องการของลูกค้า ที่กำลังเข้าสู่การเป็นสังคมเมืองและสังคมผู้สูงอายุ ความห่วงใยสิ่งแวดล้อม รวมถึงสงครามการค้า 


“ไม่เพียงแต่จะสร้างผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจเท่านั้น หากแต่ยังเป็นโอกาสสำคัญของไออาร์พีซีที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและความแข็งแกร่งให้กับองค์กร และจะร่วมมือทั้งภายในกลุ่ม ปตท.และพันธมิตร เช่น ควบรวมกิจการให้ธุรกิจขยายตัวรวดเร็ว​”



นอกจากนี้ ไออาร์พีซีจะให้ความสำคัญต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมการใช้วัสดุให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการใช้วัสดุหมุนเวียนและการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถรองรับความต้องการใช้งานทางการแพทย์และสุขภาพ โดยโครงการผลิตเม็ดพลาสติก พี เกรด เมลต์โบลน (PP Melt Blown: Polypropylene Melt blown) ซึ่ง Melt Blown มีเส้นใยขนาดเล็ก มีการกรองที่ดี ซึ่งนำเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตหน้ากากอนามัย หน้ากาก N95 และชุดป้องกันส่วนบุคคล (PPE) โดยจะเริ่มทดสอบผลิตได้ในเดือน ก.ย.นี้ และจะผลิตเชิงการค้าปลายปีนี้ โดยผลิตเม็ด PP Melt blown ประมาณ 4,000 ตันต่อปี จากความต้องการของประเทศ 10,000 ตันต่อปี

กลุ่มนวัตกรรมทางการเกษตร ได้แก่ ซิงค์ออกไซด์นาโน (ZnO NANO) ที่พัฒนาต่อยอดมาจากซิงค์ออกไซด์ (ZnO) ทำให้มีขนาดเล็กระดับอนุภาคนาโน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของพืชได้ดียิ่งขึ้นเพิ่มผลิตผลทางการเกษตรและปลอดภัยต่อทั้งเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม

สำหรับการสร้างสรรค์ด้านการใช้พลังงาน จะขยายผลธุรกิจในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานแห่งอนาคต ทั้งพลังงานทางเลือก และพลังงานหมุนเวียน ซึ่งในอนาคตเทรนด์เหล่านี้จะเป็นเทรนด์หลักของการใช้พลังงาน เช่น วัสดุเคลือบแผงโซลาร์เซลล์ลดความร้อน และอุปกรณ์เก็บพลังงานสำรองให้รถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น ตลอดจนการปรับปรุงกระบวนการผลิตโรงกลั่นน้ำมันให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมากขึ้น

“ไออาร์พีซี ยังคงดำเนินธุรกิจด้านการผลิตปิโตรเคมีและการกลั่นที่เราเชี่ยวชาญมายาวนานกว่า 40 ปี ต่อไป ขณะเดียวกันก็ต่อยอดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า และต่อยอดในการแสวงหาความร่วมมือจากพันธมิตรด้วย ซึ่งเราจะเดินตาม 3 แนวทางนี้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจ”

' ไออาร์พีซี รายงานผลดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2564 มีรายได้จากการขายสุทธิ 56,858 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1 ปี 2564 โดยรายได้จากราคาขายเพิ่มขึ้น 16% ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และปริมาณขายเพิ่มขึ้น 2% ในขณะที่โรงกลั่นน้ำมันมีอัตราการกลั่นอยู่ที่ 194,000 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 4% เนื่องจากในไตรมาส 1 ปีนี้ มีการหยุดซ่อมบำรุงตามแผนของหน่วยผลิต ADU1 ของโรงกลั่นน้ำมันเป็นเวลา 17 วัน บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตตามราคาตลาด (Market GIM) อยู่ที่ 8,727 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% มีสาเหตุหลักจากส่วนต่างราคา ผลิตภัณฑ์ทั้งปิโตรเลียมและปิโตรเคมีส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ต้นทุน Crude Premium ปรับตัวเพิ่มขึ้น

สำหรับงวด 6 เดือนแรกปี 2564 มีรายได้จากการขายสุทธิ 105,246 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42% เมื่อเทียบกับงวด 6 เดือนแรกปี 2563 ส่วนใหญ่เนื่องจากราคาขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 43% ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยโรงกลั่นน้ำมันมีอัตราการกลั่นอยู่ที่ 190,000 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 1% และไออาร์พีซี มี Market GIM อยู่ที่ 15,692 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 88% เนื่องจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลายจากการที่ทั่วโลกได้รับการฉีดวัคซีนมากขึ้น

ในขณะที่สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการลดกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องของกลุ่มโอเปกและพันธมิตร ซึ่งทำให้ไออาร์พีซีมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันสุทธิรวม 8,509 ล้านบาท หรือ 7.99 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ประกอบด้วย กำไรจากสต๊อกน้ำมัน 8,329 ล้านบาท และกำไรจากการบริหารความเสี่ยงน้ำมันที่เกิดขึ้นจริง 180 ล้านบาท เทียบกับครึ่งแรกของปี 2563 ที่ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันสุทธิรวม 6,722 ล้านบาท ส่งผลให้ไออาร์พีซี มี Accounting GIM 24,201 ล้านบาท หรือ 22.72 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 22,589 ล้านบาท หรือ 21.24 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ค่าใช้จ่ายดำเนินงานมีจำนวน 6,634 ล้านบาท ลดลง 3% ส่งผลให้ไออาร์พีซี มี EBITDA จำนวน 17,678 ล้านบาท เทียบกับครึ่งแรกของปี 2563 ที่มีผลขาดทุนของ EBITDA จำนวน 4,932 ล้านบาท

ทั้งนี้ ผลดำเนินงานครึ่งแรกของปี 2564 มีกำไรสุทธิ 10,155 ล้านบาท ซึ่งเป็นมากจากความต้องการของตลาดจาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนครึ่งปีหลังก็ยังมีความท้าทายอยู่ ซึ่งต้องดูประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลต้าและการกระจายของวัคซีน