นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่
เอสซีจี เปิดเผยภายในงานสัมมนา 50 ปี เครือเนชั่น Virtual Forum Thailand Next EP.1 : Innovation Beyond Business โอกาสนวัตกรรมเศรษฐกิจ ในหัวข้อ “Thailand New Outlook Innovation and Opportunity Post Covid” โดยระบุว่า ต้องยอมรับว่าสถานการณ์โควิด 19 ตอนนี้วิกฤติมาก ในแง่ของภาคสาธารณสุข โรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ถือว่าทำงานเต็มศักยภาพแล้ว
อย่างไรก็ดี สถานการณ์เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเมืองไทย แต่เกิดขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้านเราเหมือนกัน เช่น อินโดนีเซีย และเวียดนาม อีกทั้งเดือนนี้เราจะเริ่มเห็นสถานการณ์ในอเมริกา ในยุโรป อังกฤษ ที่เจอการแพร่ระบาดของไวรัสกลายพันธุ์เดลต้า พบว่าผู้ติดเชื้อมากขึ้นเรื่อยๆ ภาพรวมทั้งโลกในเดือน ส.ค.ที่เริ่มมานี้ สถานการณ์คนติดเชื้อ 2 ใน 3 ของตัวเลขพีคในช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ถือว่าสถานการณ์เรียกว่าค่อนข้างหนัก
“วันนี้คำถามที่ว่าเมื่อไหร่โควิดจะหมดไป เมื่อไหร่จะพีค หรือเมื่อไหร่จะหายไป โรคนี้จะหายไปไหม อาจเป็นคำถามที่เราต้องคิดใหม่ว่า หรือเป็นสิ่งที่เราต้องอยู่กับมัน เพราะแม้จะมีวัคซีน เราก็ต้องปรับตัวให้อยู่กับมัน เพราะวัคซีนป้องกันระบาดไม่ได้ 100% แต่ป้องกันการเจ็บตัวลงได้”
ทั้งนี้ ในแง่ของภาคธุรกิจ ที่ก่อนหน้านี้เรียกว่าต้องปรับตัวรับ นิวนอร์มอล (New Normal) ตอนนี้ส่วนตัวผมคิดว่าไม่แน่ใจแล้วกับการปรับตัวหลังโควิดคลี่คลาย แต่สิ่งที่เห็นคือการปรับตัวให้เป็น นาวนอร์มอล (Now Normal) เป็นสิ่งที่เราต้องอยู่กับมันให้ได้ในวันนี้ สิ่งนี้มีผลอย่างมากกับภาคธุรกิจ สังคม และสาธารณสุข เป็นสิ่งที่เราต้องปรับตัวทำทันที ทำไปเรื่อยๆ และต้องอยู่กับมันให้ได้
สำหรับการปรับตัวสู่นาวนอร์มอลของเอสซีจี เมื่อเจอการแพร่ระบาดของเดลต้า ได้ปรับแผนจากการทำไข่แดง มาเป็นการทำ มาตรการการควบคุมโรคลักษณะ หรือบับเบิ้ลแอนด์ซีล (Bubble and Seal) และทำให้เป็นการปรับตัวรับกับนาวนอร์มอล โดยการเอาเทคโนโลยีมาใช้กับสิ่งเหล่านี้ให้เป็นการปรับตัวที่อยู่กับเอสซีจีตลอดไป
ตลาดแร่โลหะ ณ ตลาดลอนดอน (19 ส.ค. 64)
'วันสารทจีน 2564' วันประตูนรกเปิด แนะวิธีทำบุญและบอกสิ่งห้ามทำ โดย อาจารย์ 'คฑา ชินบัญชร'
'หญิงตั้งครรภ์'ติดโควิด19โอกาสเข้าไอซียูสูงกว่า 2-3เท่า
ขณะที่ธุรกิจอื่นๆ ที่เคยคิดว่าเมื่อโควิด 19 คลี่คลายแล้วจะกลับไปเป็นแบบเดิม อย่างภาคการท่องเที่ยว ขณะนี้อาจต้องเริ่มคิดแล้วว่าจะเป็นแบบเดิมอย่างไร หรือจะปรับเป็นนาวนอร์มอลเพื่ออยู่กับสิ่งนี้ เพราะทุกวิกฤติมีโอกาสเสมอ กับทุกธุรกิจที่รู้จักปรับตัว และผู้ที่อยู่รอดค คือผู้ที่ปรับตัว นวัตกรรมจะเป็นนาวนอร์มอลในยุคต่อไปนี้ และความเร็วจากการใช้นวัตกรรม เพื่อการปรับตัวให้เป็นไปตามคความต้องการของลูกค้า จะเป็นนาวนอร์มอลที่ทำให้เราอยู่กับโควิด 19
นายรุ่งโรจน์ ยังกล่าวด้วยว่า เอสซีจีมองว่านาวนอร์มอล คือ 4 กลุ่มธุรกิจที่หากเปลี่ยนแปลงด้วยนวัตกรรมและดิจิทัลจะเกิดโอกาสอย่างชัดเจน ได้แก่
1.เรื่องของอีคอมเมิร์ซ การเอาดิจิทัล ไปใช้ในการให้บริการ การทำระบบอัตโนมัติ คือการพัฒนาโมเดลในการทำธุรกิจ
2.เรื่องของการใช้ชีวิต นาวนอร์มอลเรื่องของบ้าน ปัจจุบันไม่ใช่เพียงการอยู่บ้าน แต่หมายถึงการอยู่บ้านยังไงให้สบาย เพราะตอนนี้พฤติกรรมผู้บริโภคต้องทำงานที่บ้านด้วย
3.เรื่องของธุรกิจกลุ่มเฮลแคร์ หรือสุขภาพ
4.เรื่องของการเกษตร เอาเทคโนโลยีมาใช้ จะทำให้ประเทศของเราเปลี่ยนแปลงเป็น Food Chain สมัยใหม่