͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: 'สภาพัฒน์' เผยจีดีพีไตรมาส 2 ปีนี้โต 7.5% ปรับคาดการณ์ทั้งปีเศรษฐกิจเหลือโต 0.7 - 1.2%  (อ่าน 185 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ fairya

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12401
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาสที่ 2/2564 ว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ขยายตัว 7.5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

โดยเศรษฐกิจไทยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของการลงทุนรวม 8.1% ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัว 27.5% สาขาอุตสาหกรรมขยายตัว  16.8% สาขาขนส่งขยายตัว 11.6% 

ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกขยายตัวได้ 2% โดยส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวในภาคการส่งออก  การให้การบริการด้านอาหาร ขณะที่การท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัวโดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวประมาณ 1.5 แสนคน จากประมาณการเดิม 5 แสนคน 

 "เศรษฐกิจไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย แต่มีโมเมนตั้มของบางส่วนของการผลิตและกิจกรรมาทางเศรษฐกิจที่ลดลง ตั้งแต่การระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้นตั้งเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา" นายดนุชากล่าว


นอกจากนี้ สศช.ยังปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยทั้งปีในปีนี้ลงจากเดิมคาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ 1.5 - 2.5% เหลือ  0.7 - 1.2 % เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงมีความรุนแรงขึ้นในขณะนี้ 

โดยคาดว่าเดือน ก.ย.จะเริ่มมีผู้ติดเชื้อลดลงหลังจากที่เดือน ส.ค.มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงสุด และเริ่มมีการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี รวมทั้งสามารถที่จะไม่มีการระบาดที่รุนแรงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ฐานการผลิต รวมทั้งการกระจายวัคซีนได้ 85 ล้านโดสในปี 2564

สำหรับคาดการณ์แนวโน้มทางเศรษฐกิจในปี 2564  ณ วันการแถลงในวันที่ 16 ส.ค.ที่สำคัญได้แก่ การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 1.1%  การบริโภคภาครัฐขยายตัวได้ 4.3% การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 4.7% การลงทุนภาครัฐลดลงเหลือ 8.7% ขณะที่การส่งออก สศช.คาดว่าจะขยายตัวได้ 16.3% 


สศช.ยังเสนอแนะประเด็นบริหารเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2564 7 ประเด็นสำคัญในการบริหารเศรษฐกิจมหภาคได้แก่ 

1.การควบคุมสถานการณ์การระบาดให้อยู่ในวงจำกัด รวมทั้งการเร่งรัดจัดหาและการกระจายวัคซีนอย่างเพียงพอและทั่วถึง

2.การช่วยเหลือเยียวยาประชาชน แรงงาน และภาคธุรกิจในช่วงที่การระบาดของโรคมีความรุนแรงและมีการดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดอย่างเข้มงวด  ควบคู่ไปกับการปรับมาตรการและดำเนินมาตรการเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม เข้าถึงเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับการระบาดที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น การพิจารณามาตรการช่วยเหลือ
ภาคแรงงานผ่านมาตรการรักษาระดับการจ้างงาน ควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการสร้างงานใหม่
และมาตรการพัฒนาทักษะแรงงาน และมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมในลักษณะเฉพาะเจาะจงให้กับผู้ประกอบการธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบรุนแรง

3.การดำเนินมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเมื่อสถานการณ์การระบาดผ่อนคลายลง โดยให้ความสำคัญกับมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวภายในประเทศ 

4.การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า ควบคุมการแพร่ระบาดในฐานการผลิตที่สำคัญ การเร่งรัดแก้ไขปัญหาที่เป็นข้อจำกัดและอุปสรรคในการขนส่งสินค้า การแก้ไขปัญหาการขาดแรงงานต่างชาติในภาคการผลิต การขับเคลื่อนการส่งออกไปยังตลาดหลักที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน และการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ การเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่อยู่ในขั้นตอนของการเจรจาและเตรียมศึกษาเพื่อเจรจากับประเทศคู่ค้าสำคัญใหม่ ๆ

5.การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ

6.การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน  และ 7.การรักษาบรรยากาศทางการเมืองและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ