͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: 'ทีดีอาร์ไอ' จี้ใช้เงินกู้ฯ พยุงจ้างงานเอสเอ็มอี ช่วยแรงงาน 13 ล้านราย  (อ่าน 124 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ deam205

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15570
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่มีสายป่านสั้น ซึ่งปัจจุบันมีเอสเอ็มอีรวม 3.1 ล้านราย มีการจ้างงาน 12.7 ล้านคน โดยส่วนใหญ่อยู่ในภาคบริการ 5.55 ล้านคน รองลงมาภาคการค้า 4.24 ล้านคน ภาคการผลิต 2.85 ล้านคน แลถธุรกิจเกษตร 63,402 คน

ในขณะที่สถานการณ์เอสเอ็มอีล่าสุดในช่วง 5 เดือน แรกของปี 2564 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รายงานว่ามีการจัดธุรกิจใหม่ของเอสเอ็มอี 27,607 ราย เทียบช่วงเดียวกันกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 6.35% และมีการเลิกกิจการ 3,882 ราย ลดลง 20.63%

นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการวิจัย นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการพัฒนา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้มีรายได้น้อยและเอสเอ็มอี ซึ่งพึ่งพาการบริโภคและการใช้จ่ายของประชาชนภายในประเทศ ซึ่งในกลุ่มนี้จะแตกต่างจากกลุ่มธุรกิจส่งออกที่ธุรกิจยังไปได้ดีจากการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก


หวังลดปัญหาปลดคนงาน

ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ช้ากว่าที่คาด และที่ในระบบเศรษฐกิจมีบางส่วนที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้จากการระบาดของโควิด-19 ที่มีความรุนแรง และมีผลกระทบต่อเนื่องทำให้มาตรการการให้ความช่วยเหลือและเยียวยาประชาชนจากภาครัฐยังคงมีส่วนสำคัญซึ่งนอกจากมาตรการการแจกเงินให้กับประชาชนการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านมาตรการการเยียวยาต่างๆ ที่มีการทำไปก่อนหน้านี้ มาตรการที่ภาครัฐควรดำเนินการ คือ การเร่งมาตรการพยุงการจ้างงานให้กับภาคเอสเอ็มอี เพื่อลดผลกระทบที่นายจ้างจะเลิกกิจการหรือปลดคนงาน 

ปัจจุบันเอสเอ็มอีของไทยมีผู้ประกอบการ 3.1 ล้านราย มีการจ้างงานประมาณ 13 ล้านคน ซึ่งการให้การช่วยเหลือพยุงการจ้างงานให้กับเอสเอ็มอีนั้น ภาครัฐสามารถให้ความช่วยเหลือเป็นรายธุรกิจหรืออาจช่วยเหลือทั้งระบบก็ได้ 

นอกจากนี้ หากช่วยเหลือทั้งระบบโดยการอุดหนุนเงินเป็นรายหัวลูกจ้างรายละ 3,000 บาทต่อเดือน ซึ่งหากช่วยทั้งระบบประมาณ 13 ล้านคน จะใช้เงินเดือนละ 4.8 หมื่นล้านบาท หากช่วยเหลือเป็นระยะเวลา 3 เดือน ก็จะใช้เงิน 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งนำเงินกู้ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท มาใช้ได้ 


วางเงื่อนไขอุ้มจ้างงาน

สำหรับเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือพยุงการจ้างงาน ในต่างประเทศมีการวางเงื่อนไขที่จำเป็น ได้แก่ 

1.เงื่อนไขห้ามเลิกจ้างพนักงาน หรือจ้างได้ไม่เกิน 10% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด 

2.กำหนดเงื่อนไขให้นายจ้างมีการอบรมเพิ่มทักษะที่จำเป็นสำหรับสำหรับพนักงานในอนาคต เช่น ทักษะดิจิทัล หรือทักษะงานใหม่ๆที่จำเป็นสำหรับ “โลกหลังโควิด” โดยภาครัฐอาจสนับสนุนค่าฝึกอบรมเพิ่มทักษะเป็นรายหัวให้กับพนักงานเหล่านี้คนละ 1,000 บาท เป็นต้น ซึ่งเงินส่วนนี้สามารถใช้งบประมาณเพิ่มเติมในส่วนอื่นๆได้โดยไม่ต้องใช้เงินกู้ก็ได้ 

“การให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอีในช่วงนี้ถือว่ามีความจำเป็น เพราะหากช่วยเหลือให้ยังดำเนินกิจการต่อได้ ยังมีกำลังในการจ้างงานได้ ก็จะลดปัญหาการว่างงานลงได้ หากปล่อยให้เอสเอ็มอีต้องปิดกิจการ มีคนงานตกงานจำนวนมากแล้วค่อยมาช่วยเหลือจะแก้ปัญหานี้ได้ยากกว่า” นางสาวกิริฎา กล่าวว่า

แนะอุดหนุนงบอบรมเสริมทักษะ

ดังนั้น ในช่วงที่ภาคส่วนเศรษฐกิจต่างๆ ยังคงไม่ฟื้นตัวได้เต็มที่การแจกเงินเยียวยาประชาชนยังมีความจำเป็น แต่ต้องมีมาตรการที่จะช่วยเหลือพยุงการจ้างงานของเอสเอ็มอี โดยการอุดหนุนงบให้กับเอสเอ็มอีเพื่อใช้ในการฝึกทักษะอาชีพเพื่อให้แรงงานมีทักษะและความสามารถพร้อมที่จะปรับตัวได้หลังโควิด-19 ก็มีความจำเป็น

นางสาวกิริฎา กล่าวว่า ภาคส่วนของเศรษฐกิจที่จะฟื้นตัวกลับมาช้าหลังจากวิกฤติโควิิด-19 คือ ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งกว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาท่องเที่ยวในประเทศไทย 39 ล้านคน เหมือนกับก่อนหน้าที่จะเกิดการระบาดของโควิด-19 จะต้องใช้เวลาอีกหลายปี คาดว่าอาจจะเป็นในปี 2567 เนื่องจากประเทศที่เป็นกลุ่มเป้าหมายการดึงดูดการท่องเที่ยวของไทยหลายประเทศทั้งในประเทศจีน อินเดีย และในอาเซียจะยังไม่เดินทางท่องเที่ยวมากนัก 

อย่างกรณีของประเทศจีนยังไม่อนุญาตให้คนเดินทางออกนอกประเทศ เพราะกังวลการติดเชื้อจากภายนอกเข้าไปในประเทศ โดยจีนกำลังจะออกวัคซีนตัวใหม่ปลายปีนี้ใช้เทคโนโลยีคล้ายกับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าแล้วจะเริ่มระดมฉีดให้กับคนในประเทศซึ่งคาดว่าอย่างเร็วกว่าที่จีนจะให้ประชาชนออกมาท่องเที่ยวนอกประเทศได้อย่างเร็วคือช่วงกลางปี 2565 

แนะรัฐขยายเพดานหนี้

ส่วนประเด็นที่การออกมาตรการเพิ่มเติมและให้การช่วยเหลือเอสเอ็มอีในวงกว้างอาจทำได้ไม่มากนักเนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องของงบประมาณที่มีอยู่ และวงเงินกู้ที่มีอยู่จำกัด นางสาวกิริฎา ให้ความเห็นว่ารัฐบาลเองสามารถที่จะขยายเพดานหนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นได้หากมีความจำเป็นเพราะในระดับปัจจุบันหนี้สาธารณะต่อจีดีพีก็อยู่ที่ระดับ 59% ต่อจีดีพีแล้ว 

ทั้งนี้ หากมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้นแล้วนำมาใช้ในรายการใช้จ่ายที่มีความจำเป็น เช่น เรื่องของการซื้อวัคซีน การซื้อเครื่องมือแพทย์ รวมทั้งการเยียวยาช่วยเหลือภาคเอสเอ็มอีเพื่อรักษาการจ้างงานก็ถือว่าเป็นสิ่งที่รัฐสามารถที่จะทำได้ตามความเหมาะสมเพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวได้ในระยะต่อไป 

ใช้เงินกู้ซื้อวัคซีนให้เพียงพอ

นางสาวกิริฎา กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากการล็อกดาวน์ในบางพื้นที่ยังคงมีความจำเป็น โดยในการล็อกดาวน์แบบในปัจจุบันไม่ใช่การล็อกดาวน์ที่เข้มงวดเหมือนกับช่วงเดือน เม.ย.ปีก่อน ซึ่งได้ทำให้ในช่วงนี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายอย่างยังขับเคลื่อนไปได้

ทั้งนี้โมเดลการล็อกดาวน์ของไทยที่ยังให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดินหน้าไปได้แตกต่างจากโมเดลของจีนที่ใช้การล็อกดาวน์แบบเข้มข้นมีการปิดเมืองและห้ามคนออกจากที่อยู่อาศัย ส่วนในยุโรปและสหรัฐที่เริ่มมีการเปิดเมืองเพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเต็มที่ได้มาจากการที่ประเทศเหล่านั้นมีการระดมฉีดวัคซีนไปแล้วเป็นจำนวนมาก ซึ่งประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่แม้จะมีผู้ป่วยต่อวันเพิ่มมากขึ้นแต่อัตราผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำ

ในขณะที่กรณีประเทศไทยหากต้องการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ได้ต้องเร่งการนำเข้าวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ และการระดมฉีดวัคซีนให้ประชาชนในอัตราที่เพิ่มขึ้นเร็วที่สุด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เพื่อให้กลับมาเปิดเศรษฐกิจได้

นางสาวกิริฎา กล่าวว่า ในการจัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพเพิ่มเติมอยากเสนอให้รัฐบาลวางแผนไปถึงปี 2565 โดยนำเงินกู้ตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ไปวางเงินจองวัคซีน 100 ล้านโดส ซึ่งต้องใช้เงินประมาณโดสละ 1,000 บาท รวมเป็นวงเงิน 1 แสนล้านบาท ซึ่งเมื่อได้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพเข้ามาแล้วสามารถฉีดได้รวดเร็วก็จะทำให้กลับมาเปิดเศรษฐกิจได้เร็วขึ้น


นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า มาตรการการช่วยเหลือเอสเอ็มอีจำเป็นจะต้องมีความหลากหลายและครอบคลุมหลายมาตรการ โดยนอกจากข้อเสนอให้มีการช่วยเหลือการจ้างงานงานให้กับเอสเอ็มอีรายละ 3,000 บาท เป็นระยะเวลา 3-6 เดือน ภาครัฐควรมีมาตรการเร่งช่วยเหลือ คือ การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน โดยการไม่คิดดอกเบี้ยนั้นหมายถึงว่าภาคธนาคารจะต้องหยุดคิดดอกเบี้ยในส่วนของเงินต้นด้วย เพราะในลักษณะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้หยุดคิดดอกเบี้ยในส่วนที่เป็นดอกเบี้ยก็จริงแต่ดอกเบี้ยจากเงินต้นยังคงเดินอยู่ทำให้ภาระของผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอียังมีอยู่มาก

นายแสงชัย กล่าวว่า จากมาตรการการล็อกดาวน์ที่ประกาศในพื้นที่ 29 จังหวัด ทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบมาก เพราะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจมีขนาดจีดีพีรวมกันกว่า 70-80% ของจีดีพีประเทศ ทำให้กิจการจำนวนมากขาดสภาพคล่องหนักขึ้น และหากไม่มีมาตรการเพิ่มเติมจะกลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการเข้าข่ายกลุ่มเฝ้าระวังเป็นเอ็นพีแอล (กลุ่มสีเหลือง) จำนวนมาก มีหนี้รวม 4.3 แสนล้านบาท หากปล่อยไว้อีกไม่กี่เดือนจะเป็นเอ็นพีแอลได้ถ้าไม่มีมาตรการพักชำระหนี้และดอกเบี้ย

“ขณะนี้ปัญหาการขาดสภาพคล่องมีธุรกิจถึง 13% ที่จะอยู่ไม่รอดภายใน 3 เดือน และอีก 40% ที่อาจอยู่ไม่รอดภายใน 6 เดือน และส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอี ซึ่งนอกจากมาตรการเฉพาะหน้าก็ต้องมีมาตรการที่ช่วยเหลืออย่างครอบคลุม โดยมาตรการพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกนั้น ต้องการให้แบงก์ชาติ และสมาคมธนาคารไทยเข้ามาเป็นเจ้าภาพ มีการลงทะเบียน และติดตามให้ความช่วยเหลือจริงจัง เพื่อประคองกิจการให้ผ่านช่วงนี้ไปได้” นายแสงชัย กล่าว