͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: 'จุติ' เร่งช่วยกลุ่มเปราะบาง พลิกอีกมุม ‘หมอบุญ’ เอากล่องไม่เอาเงิน!  (อ่าน 135 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Fern751

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15944
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรี พม. ชี้‘บิ๊กตู่’  ให้ พม.ดูแลกลุ่มเปราะบางเพราะวิกฤตโควิด หากติดเชื้อจะมีความลำบากที่สุด เร่งส่งถุงยังชีพ พร้อมมอบเงินให้ 13 จังหวัดสีแดงที่เข้าเงื่อนไข หากไม่พอของบกลางเพิ่ม แจง พม.จับมือภาครัฐจัดตั้งศูนย์พักคอย ได้เห็นการช่วยเหลือเกื้อกูล‘บวร’  พร้อมทีม ทหาร กทม.จิตอาสาเข้มแข็ง รวมทั้งส่งทีมอาสา พม. 100 คนเข้าช่วยงานรพ.สนาม มทบ.11 ยอมรับเป็น รพ.สนามICU ที่สมบูรณ์ที่สุด ระบบทันสมัย จากทีมแพทย์ของโรงพยาบาลธนบุรี ชื่นชมอีกด้าน ‘หมอบุญ วนาสิน’ ทุ่มสรรพกำลังช่วย รพ.สนาม มทบ.11 ได้กล่อง แต่ไม่ได้เงิน!

ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ ก็ยังมีมุมเล็ก ๆ ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าคนไทยไม่ทิ้งกัน แม้จะอยู่ในฐานะที่ไม่ได้ร่ำรวย แต่ความเอื้ออาทร ความเสียสละมีให้เห็นเต็มเปี่ยม พร้อม ๆ กับปรากฏการณ์เหรียญ มี 2 ด้านที่ในโลกของโซเชียลมีเดีย มองเห็นภาพของ นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่ถูกโจมตีว่าแหกตาคนทั้งประเทศกับข่าวการนำเข้าวัคซีน mRNA จำนวน 20 ล้านโดส

แต่นี่ก็เป็นอีกด้านหนึ่งที่หมอบุญ เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทำงานเพื่อวางระบบให้กับโรงพยาบาลสนามของกองทัพบก เพื่อช่วยผู้ป่วยโควิดที่มีความทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง



นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ระบุว่า กระทรวง พม.ได้จับมือกับ กทม. ก.กลาโหม วัด โรงเรียน เพื่อเข้าไปจัดทำศูนย์พักคอย (Community Isolation – CI) ซึ่งมีอยู่ 50 เขต จำนวน 62 แห่ง เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่เป็นผู้ป่วยโควิด กลุ่มสีเขียว ที่มีอาการไม่มาก หรือไม่มีอาการ ซึ่งหากจะกักตัวอยู่ที่บ้านอาจจะไม่สะดวก ก็จะให้มาอยู่ที่ CI สถานที่ที่นำมาทำเป็น CI ก็จะมีทั้งวัดที่เคยใช้ในการอบรมสมาธิ   หรือโรงเรียนต่าง ๆ ก็จะถูกนำมาใช้ที่เราเคยรู้จักกันในรูปแบบ ‘บวร’ นั่นเอง

“ชุมชนดั้งเดิม จะมีการจัดระบบการดูแลได้ดีมาก วัดก็ช่วยทั้งเรื่องที่พักและเป็นสถานที่จัดเตรียมอาหาร 3 มื้อ ของที่มีคนนำมาให้ หรือบริษัทต่าง ๆ นำมาบริจาค มีการจัดสรรกันอย่างดี คนในชุมชน ที่ไม่ป่วยหรือป่วยหายแล้วก็มาเป็นจิตอาสา ดูแลคนป่วยต่อไป กทม.ก็จัดแพทย์ พยาบาล มาดูแล ป่วยหนักก็มีการส่งต่อ ทหารก็มาช่วยจัดเตรียมอุปกรณ์ที่พัก บริหารจัดการในศูนย์”

ขณะเดียวกันกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ พม.ก็ได้มีการส่งถุงยังชีพไปให้ รวมไปถึงคนจนเมื่อมีปัญหาจากวิกฤตโควิดก็สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือมาที่กระทรวง พม.ซึ่งก็มีการพิจารณาช่วยเป็นเงินเช่นกัน แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ซึ่งเวลานี้งบประมาณปี 2564 เหลืออยู่จำกัดหากไม่พอก็จะขออนุมัติงบกลางจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อมาช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางได้อีก

“นายกฯย้ำมาก ต้องดูแลกลุ่มเปราะบาง คนเหล่านี้หากติดเชื้อ จะลำบากมาก ซึ่ง พม.ได้เข้าไปดู ไปช่วยเหลือ เน้นในพื้นที่สีแดง 13 จังหวัดก่อน เรามีงบเหลือเพียง 70 ล้าน ไม่พอก็ขอเพิ่ม”



รัฐมนตรี พม. กล่าวอีกว่า ในเรื่องของศูนย์พักคอย ยังมีที่เป็นของเอกชน และมีของกองทัพ ที่นำพื้นที่ทหารมาทำเป็นศูนย์พักคอย รวมไปถึงนำไปสร้างเป็นโรงพยาบาลสนามอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะโรงพยาบาลสนามกองทัพบก มณฑลทหารบกที่ 11 เขตหลักสี่ กทม. จัดสร้างขึ้นมานั้น เป็นความร่วมมือของกองทัพ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง พม. และบริหารจัดการโดยโรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ที่มี นพ.บุญ วนาสิน เป็นที่ปรึกษา

“ที่นี่จัดเป็นโรงพยาบาลสนามระดับสูง รองรับผู้ป่วยสีเหลือง สีส้ม สีแดง ที่ดูแลผู้ป่วยระดับ ICU ได้เป็นแห่งแรก มีห้องแยก ติดตั้งระบบไหลเวียงออกซิเจนสำหรับผู้ป่วย ระบบควบคุม กล้องวงจรปิด เครื่องมอเตอร์ติดตามอาการ ระบบเทเลเมดิซีน”

การบริหารจัดการระบบต่าง ๆ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วย โดยเฉพาะทุกจุดจะไม่ให้ใช้มือไปสัมผัส เพราะจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย แม้กระทั่งประตูทางเข้าก็ไม่มีปุ่มกด แต่จะใช้ Motion sensor ในการควบคุมอัตโนมัติ

“ทีมผู้บริหารของโรงพยาบาลธนบุรี บอกว่า ระบบการทำงานจะมีความปลอดภัยมาก แพทย์มีจำกัด เพราะติดเชื้อกันไปเยอะ เราจึงมีระบบกันแพทย์ออกจากคนไข้ มีการใช้เทเลเมดิซีน ปรึกษาดูแลทั้งหมด ส่วนพยาบาลมาจากโรงพยาบาลทหาร และมีบางส่วนมาจากกระทรวงสาธารณสุข แต่ทุกคนต้องเข้าห้องปฐมนิเทศ ฝึกการใช้ เพื่อให้เกิดความคุ้มเคยกับระบบ และเครื่องมือไฮเทคทางการแพทย์ที่ทีมธนบุรีจัดขึ้นมา”

สำหรับทีมแพทย์นั้นจะมาจากโรงพยาบาลธนบุรีทั้งหมด ซึ่งผู้ป่วยหนัก สีแดง สีส้ม ที่เตียงคนไข้ทุกเตียง จะมีกล้อง ซึ่งแพทย์จะให้พยาบาลที่เข้ามาใส่ชุด PPE ดูแลคนไข้ และหมอจะพูดกับคนไข้ผ่านกล้อง ในห้องกระจกที่มองเห็นชัดเจน

“คนไข้สีแดง จะมี 100 กว่าคน จะใช้จอขนาดใหญ่ 70 นิ้ว 9 จอในการควบคุม และทุกเตียงจะมีอุปกรณ์เครื่องช่วยครบทุกเตียง”



พยาบาลอาสา จากต่างโรงพยาบาล จะได้รับการ ปฐมนิเเทศ 5-ุ 7  วัน เพื่อฝึกทำงานเป็นทีม และจะอบรมให้พยาบาล มีความคุ้นเคย กับระบบและเครื่องมือไฮเทค ของแพทย์ 
พยาบาลอาสา จากต่างโรงพยาบาล จะได้รับการ ปฐมนิเเทศ 5-ุ 7 วัน เพื่อฝึกทำงานเป็นทีม และจะอบรมให้พยาบาล มีความคุ้นเคย กับระบบและเครื่องมือไฮเทค ของแพทย์


นอกจากนี้ ยังได้มีการสร้างที่พักให้กับพยาบาลที่เข้ามาปฏิบัติงานที่นี่ เพื่อให้มีความสะดวกสบาย เวลาพักผ่อน และระบบคัดกรองคนไข้สีต่าง ๆ ห้องน้ำของคนป่วยก็มีการแยกสัดส่วนได้ดีมาก ยังมีการสร้างห้องแล็บขึ้นมาใหม่ เพียงแค่ 2 ชั่วโมง ผลแล็บก็ออกแล้ว ซึ่งโรงพยาบาลสนาม มณฑลทหารบกที่ 11 มีประมาณ 600 กว่าเตียง สามารถใช้ห้องแล็บที่นี่ได้หมด เพราะโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ ไม่ใช่มีเพียงสีเหลือง สีแดง ยังมีการนำโรงยิมทั้ง 3 โรง มาจัดทำเป็นโรงพยาบาลสนามระดับสีเขียว เพราะเมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นอยู่ในระดับเป็นสีเขียวจะส่งต่อไป Hospitel หรือโรงพยาบาลสนามอื่นต่อไป

“ห้องปลี่ยนชุด PPE ของพยาบาล เป็นห้องความดันลบ ปลอดเชื้อจริงๆ ห้องขยะติดแอร์ เพราะว่าไม่ต้องการให้ขยะเพาะเชื้อ และ กทม. มีหน้าที่ไปกำจัดต่อไป”

รัฐมนตรีจุติ บอกอีกว่า ทีมแพทย์ยืนยันว่า โรงพยาบาลสนาม มทบ.11 มีความทันสมัยที่สุดและมีเครื่องมือที่พร้อมมาก และใกล้ ๆ อาคารผู้ติดเชื้อ จะเห็นเป็นแท่งสูง ๆ ขนาดใหญ่ นั่นคือ แท่งผลิตออกซิเจน 23,000 ลิตร เตรียมไว้รองรับผู้ป่วย เพื่อไม่ต้องการให้คนไข้มีความเสี่ยงเวลาที่ออกซิเจนหมด

“ผมเปลี่ยนความรู้สึกเรื่องของหมอบุญ ไปมาก เมื่อมาดูสิ่งที่หมอบุญ ส่งทีมงานมาทำให้กับโรงพยาบาลสนามของทหาร ทั้งระบบ เครื่องออกซิเจนที่เอามาติด เขาบอกว่าลดความเสี่ยงให้คนไข้ได้ด้วย เขามองความปลอดภัยรอบด้าน ทำแบบของโรงพยาบาลเอกชนเลย ก็ไม่รู้ว่าหมอบุญจะเอาแท่งนี้คืนไปหรือเปล่า เมื่อโควิดจบลง”



รัฐมนตรีจุติ บอกอีกว่าการเข้ามาทำงานครั้งนี้มั่นใจว่า หมอบุญ เลือกแล้วที่จะรับกล่องไม่ใช่เงินค่าตอบแทน เพราะคนป่วยติดเชื้ออยู่ 14 วัน สปสช.จ่ายให้แค่ 5 หมื่น แต่เรามองย้อนไปดูแค่ค่าห้อง ICU ต่อเตียงค่ารักษาก็ 1,200,000 บาทแล้ว

“ผมก็ถามทีมแพทย์เขาว่า หมอบุญ ไม่มาดูเหรอ เขาบอกไม่มา แต่ทีมผู้บริหาร หรือทีมแพทย์ที่เข้ามาดูเป็นคนของหมดบุญทั้งหมด”

ดังนั้นการจะรับรู้แต่สื่อโซเชียลเพียงอย่างเดียวบางทีก็ทำให้เกิดมุมมองเชิงลบ แต่ถ้าได้ไปสัมผัสสิ่งที่เป็นจริงก็จะทำให้เห็นอีกมุมหนึ่งของเหรียญเช่นกัน

“เหรียญมี 2 ด้าน ได้เห็นอีกด้านของหมอบุญ ส่งทีมแพทย์ รพ.ธนบุรี มาวางระบบทำโรงพยาบาลสนาม มทบ.11 มีความพร้อมมาก รองรับผู้ป่วยสีส้ม สีแดง ทีมงานถูกฝึกให้คุ้นเคย เวลาวิกฤตกู้ชีพคนไข้ งานนี้หมอบุญเอากล่องไม่เอาเงิน”

โดย รพ.สนามกองทัพบก มณฑลทหารบกที่ 11 นั้น ได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลธนบุรีบำรุงเมือง ที่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร ธุรกิจเฮลท์แคร์ภายใต้การดำเนินงานของ ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป (THG) ในด้านเครื่องมือแพทย์ 45 ล้านบาท ค่าปรับปรุงสถานที่ 25 ล้านบาท และค่าวางระบบไอที ประมาณ 4 ล้านบาท


ส่วนการที่ กระทรวง พม.ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องนั้น รัฐมนตรีจุติ บอกว่า ทางกองทัพ ได้ขอให้ พม.ส่งอาสาสมัครเข้ามาช่วยจำนวน 100 คน เพราะทีมแพทย์ พยาบาล มีหน้าที่ในการดูแลรักษาคนไข้ ไม่ต้องให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับเรื่องอื่น ๆ และการกรอกประวัติคนไข้ ก็ได้จากแอร์โฮสเตส ที่ตกงาน มาจัดการเรื่องข้อมูลคนไข้

“ผมจัดอาสาสมัครให้เรียบร้อย ก็ต้องใช้เงินส่วนตัว ทำประกันโควิดที่ไพบูลย์ประกันภัย ให้กับทุกคน วงเงินคุ้มครองคนละ 5 แสนบาท เพราะหากเขาป่วยก็มีเงินรักษา มีค่ารถให้เขาด้วย เพื่อมาเตรียมเรื่องอาหาร และอื่น ๆ ทุกคนก็มากันด้วยใจที่เสียสละ”

ปัจจุบันทีมงานของ พม.ก็ได้เข้าไปช่วยตามที่กองทัพแจ้งมาแล้ว และการเข้ามาดูโรงพยาบาลสนามมณฑลทหารบกที่ 11 รวมทั้งการไปเยี่ยมศูนย์พักคอย จึงได้เห็นถึงความร่วมมือร่วมแรงที่จะฟันฝ่าวิกฤตโควิดไปด้วยกัน!