͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: 'เอดีบี-บ.การเงิน'เร่งปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินอาเซียน  (อ่าน 116 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jenny937

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13350
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(เอดีบี) ,บริษัทการเงินชั้นนำของโลกอย่างพรูเดนเชียล, ซิติ,เอชเอสบีซี และแบล็กร็อค เรียล แอสเสตต์ ร่างแผนการต่างๆเพื่อปิดโรงผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหินในหลายประเทศของเอเชียเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ ขณะที่หลายประเทศในอาเซียนที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลขณะนี้ก็เริ่มใช้น้ำมันน้อยลงและหันมาใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น

เว็บไซต์อัลจาซีราห์ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงใน 5 คนที่รู้เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ดี ระบุว่า บริษัทการเงินชั้นนำของโลกวางแผนการต่างๆเพื่อเร่งกระบวนการปิดโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากถ่านหินทั่วภูมิภาคเอเชียเพื่อลดแหล่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ใหญ่ที่สุด

แผนการของกลุ่มบริษัทให้บริการทางการเงินที่ได้รับการสนับสนุนและขับเคลื่อนโดยเอดีบี เสนอรูปแบบการทำงานที่มีศักยภาพและการหารือแต่เนิ่นๆกับรัฐบาลของทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนธนาคารของประเทศต่างๆที่ต่างก็ให้การสนับสนุนแผนการนี้ กลุ่มฯมีแผนที่จะสร้างหุ้นส่วนที่เป็นการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อซื้อโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าใช้พลังงานจากฟอสซิลภายใน15ปี ซึ่งเร็วกว่าอายุขัยโดยเฉลี่ยของโรงงานเหล่านี้ ทำให้พนักงานมีเวลาที่จะเกษียณหรือหางานใหม่ทำและเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆปรับเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และตั้งเป้าที่จะมีโมเดลที่พร้อมสำหรับการประชุมสภาพอากาศ COP 26 ที่จัดขึ้นในเมืองกลาสโกว์ประเทศสก็อตแลนด์ในเดือนพ.ย.นี้

“ภาคเอกชนมีแนวคิดที่ดีเยี่ยมหลายแนวคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนและเราจะทำหน้าที่ประสานงานเพื่ออุดช่องว่างระหว่างภาคเอกชนและตัวแทนของภาครัฐ”อาห์เหม็ด เอ็ม ซาอิด รองประธานเอดีบี กล่าว

ข้อริเริ่มในเรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงที่บรรดาธนาคารเพื่อการพัฒนาแลพธนาคารพาณิชย์กำลังถูกกดดันอย่างหนักจากบรรดาผู้ถือหุ้นรายใหญ่ให้ถอนตัวจากการสนับสนุนทางการเงินแก่บรรดาโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานรูปแบบเก่าเพื่อให้การผลักดันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ดำเนินไปตามเป้าที่หลายประเทศวางไว้


ซาอิด กล่าวด้วยว่า การซื้อโรงไฟฟ้าแห่งแรกภายใต้โครงการนี้น่าจะเริ่มได้เร็วที่สุดปีหน้่า โดยโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากฟอสซิลมีสัดส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณหนึ่งในห้าของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั่วทั้งโลก ถือเป็นตัวการสร้างมลภาวะรายใหญ่สุด

สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ(ไออีเอ)คาดการณ์ว่า ความต้องการถ่านหินทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 4.5% ในปี 2564 โดยภูมิภาคเอเชียมีสัดส่วนการใช้พลังงานชนิดนี้เพิ่มขึ้นมากถึง 80%

ขณะที่คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(ไอพีซีซี)เรียกร้องให้โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใช้พลังงานถ่านหินลดการใช้ถ่านหินลงจาก 38% เหลือ 9%ของการผลิตพลังงานทั่วโลก ภายในปี 2573 และเหลือ 0.6% ภายในปี 2593

ด้านชาติสมาชิกอาเซียนที่พึ่งพาเชื้อเพลิงจากฟอสซิล เริ่มลดการใช้น้ำมัน พลังงานจากถ่านหิน หรือแหล่งพลังงานที่สร้างมลภาวะแก่บรรยากาศ ด้วยความหวังว่าจะช่วยลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและเพื่อผลักดันให้ประเทศมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในปริมาณน้อยที่สุด โดยรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าของรัฐบาลอินโดนีเซีย ให้คำมั่นว่าจะเลิกใช้พลังงานจากถ่านหินภายใน 40ปี

ปรูซาฮาน ลิสตริก เนการา ของอินโดนีเซีย ให้สัญญาว่าจะเลิกสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้ที่ใช้ถ่านหินเพิ่มและมีแผนที่จะเปลี่ยนโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใช้พลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ในช่วงปี 2568 และ2603 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเรื่องท้าทายอย่างมากเนื่องจากเชื้อเพลิงจากฟอสซิลยังคงมีบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้ในยุคที่ทุกครัวเรือและทุกภาคอุตสาหกรรมต่างก็ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น

กระทรวงพลังงานและทรัพยากรเหมืองของอินโดนีเซีย ระบุว่า ประเทศผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานถ่านหินในสัดส่วนสูงถึง 48% เพราะฉะนั้น อุตสาหกรรมถ่านหินยังคงเป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย และถ่านหินอาจจะเป็นตัวแปรสำคัญทำให้อินโดนีเซียไม่สามารถให้คำมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ให้เป็นศูนย์เปอร์เซนต์ได้เหมือนประเทศอื่นๆ

สำหรับในประเทศไทย รัฐบาลตั้งเป้าว่าภายในปี 2573 จะผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 30% ของปริมาณการผลิตรถยนต์ 2.5 ล้านคัน และปี 2583 ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าจะมากกว่ารถยนต์แบบเดิม เช่นเดียวกับสถานีบริการน้ำมันจะหันไปสู่ธุรกิจให้บริการแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแทน

ขณะที่ค่ายรถยนต์ทุกแห่งต่างหันเข้าสู่สนามการผลิตใหม่กันถ้วนหน้า เห็นได้จากการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ทั้งรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV) รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) โดยค่ายรถยนต์ทั้ง นิสสัน โตโยต้า มาสด้า ฮอนด้า มิตซูบิชิ ออดี้ เอ็มจี เมอร์เซเดส-เบนซ์ บีเอ็มดับเบิลยู ที่เห็นแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ชนิดนี้

ส่วนในเวียดนาม กระทรวงอุตสาหกรรม กำลังพิจารณาให้แรงจูงใจด้านภาษีสำหรับผู้ต้องการซื้อรถไฟฟ้า และกลุ่มบริษัทชั้นนำของเวียดนามอย่าง วินกรุ๊ป กำลังเดินสายการผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าทั้งคัน พร้อมทั้งวางแผนจำหน่ายในเดือนพ.ย.ที่จะถึงนี้

ขณะที่การสนับสนุนจากนานาชาติก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การเปลี่ยนผ่านนี้ดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเดือนมิ.ย. ญี่ปุ่นจัดสรรเงิน 10,000 ล้านดอลลาร์ให้แก่อาเซียนเพื่อเป็นทุนใช้ในโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์