͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: หน.ผู้แทนพิเศษรบ.ลงพื้นที่ขับเคลื่อนพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้  (อ่าน 318 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ luktan1479

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16766
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
วันนี้ (12 มี.ค.63) ที่ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนหน้า อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เป็นประธานการประชุมผู้แทนพิเศษของรัฐบาล และหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานในพื้นที่ในการช่วยขับเคลื่อนแผนงานโครงการตามงบประมาณ

ทั้งนี้ก่อนการประชุมนายกสมาคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (POSBO) ได้เข้าพบเพื่อหารือ จากนั้นได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีมอบถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศกีฬาสิงห์สัมพันธ์ ที่สนามกีฬา ชุมชนบ้านกิโลเมตรที่ 38 และเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ชุมชนท่องเที่ยวบ่อน้ำพุร้อนบ้านนากอ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างเป็นระบบครบวงจรผ่านโครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยังยืน

ทั้งนี้ มติคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นเมืองหลัก รองรับการพัฒนาตามแนวทางเมืองเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ เป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดชายภาคแดนใต้ รองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เบตง นอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามแล้ว ยังมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมของประชาชนทั้งชาวไทยอิสลาม พุทธ จีน และชาติพันธุ์ดั้งเดิมอย่าง โอรังอัสรี ได้อย่างลงตัว อีกทั้ง อาหารการกินยังมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่ สำหรับความมั่นคงในมิติเพื่อรองรับการพัฒนา รัฐบาลได้ผลักดันให้เกิดความมั่นคงทางพลังงาน ความมั่นคงทางการคมนาคมขนส่ง ความมั่นคงทางสาธารณสุขเพื่อให้การพัฒนาเป็นไปโดยพร้อมกันทุกด้าน

จากการรวบรวมข้อมูลประชาชนได้ร่วมกันเสนอให้รัฐบาล ผ่านศูนย์อำนวยการบริหาร จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้ามาพัฒนาศักยภาพความเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ชอบธรรมชาติ เรียนรู้วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ และมาเยี่ยมชมทะเลหมอกอัยเยอร์เวง อันจะนำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้เกิดการหมุนเวียนได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญโครงการนี้เป็นการขับเคลื่อนด้วยพลังของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ โดยเชื่อมโยงกับการทำงานภาครัฐหลายภาคส่วน เป็นการสร้างที่ทำกินอย่างยั่งยืนให้กับลูกหลาน มีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ดูแลช่วยเหลือครอบครัวและชุมชน ต่อไปในอนาคต