͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: รมว.คลัง ชู 7 ปัจจัยส่งผลต่อศก.ไทยใน 10 ปีหน้า  (อ่าน 15 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Naprapats

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14930
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
รมว.คลัง ชู 7 ปัจจัยส่งผลต่อศก.ไทยใน 10 ปีหน้า หนุนใช้มาตรการคลังที่ยั่งยืนดูแล

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวในงานสัมมนา Future of Growth THAILAND VISION 2030 ว่า ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา (63-64) ประเทศไทยใช้เวลากับการแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งในด้านของเศรษฐกิจ และด้านสาธารณสุขควบคู่กันไป โดยด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลได้เข้าไปแก้ปัญหาในการชดเชยรายได้ กระตุ้นกำลังซื้อ รักษาระดับการบริโภคในประเทศ ขณะที่ด้านสาธารณสุข ได้มีการบริหารจัดการวัคซีนให้เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและลดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

สิ่งหนึ่งที่จะเห็นได้ชัด ท่ามกลางการแพร่ระบาดที่ยังคงอยู่ คือ เทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ตลอดจนพฤติกรรมหรือรูปแบบการใช้ชีวิตของประชาชนที่ให้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการให้บริการต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ และการทำธุรกิจการค้าในรูปแบบของออนไลน์เพิ่มมากขึ้น

"เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ได้เห็นนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ โดยเฉพาะสินทรัพย์ดิจิทัล หรือคริปโทฯ ที่มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเป็นจุดเริ่มต้นของอนาคตที่เราต้องเผชิญในอีก 10 ปีข้างหน้า ที่ถือว่าอยู่ไม่ไกลนัก ถ้าเราไม่ปรับตัวตั้งแต่วันนี้ ความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศอาจจะถดถอยลงไป" รมว.คลัง ระบุ
พร้อมมองว่า ปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อทิศทางของประเทศไทยในระยะ 10 ปีข้างหน้า มี 7 เรื่องที่สำคัญ ประกอบด้วย

1. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นภารกิจของทุกประเทศที่ต้องร่วมมือกันในการลดภาวะโลกร้อน การใช้พลังงานทดแทน และพลังงานสะอาดจะต้องเข้ามาแทนที่การใช้พลังงานจากฟอสซิลมากขึ้น เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า

2. เทคโนโลยีดิจิทัล ที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในทุกภาคส่วนตั้งแต่ระดับประชาชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และจะเห็นความเชื่อมโยงของเทคโนโลยีดิจทัลมากขึ้น ทั้งในภาคการผลิต ภาคแรงงาน ตลอดจนภาคการเงิน ซึ่งหน่วยงานที่กำกับดูแลจะต้องทำให้ระบบการเงินมีเสถียรภาพ โดยไม่ได้รับผลกระทบจากนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ที่เข้ามา

3. การแพทย์ และบริการด้านสาธารณสุข มีแนวโน้มจะเห็นการเปลี่ยนแปลงจากบริการท่องเที่ยวควบคู่กับบริการด้านสุขภาพ ไปเป็นอสังหาริมทรัพย์ควบคู่บริการด้านสุขภาพ ซึ่งจะเป็นการดึงดูดและเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในเชิงคุณภาพให้เข้ามามากขึ้น โดยเชื่อว่าในอนาคต บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขก็จะยังคงเป็นจุดแข็งของประเทศไทย

4. การสนับสนุน SME และ Start Up ให้มีความเข้มแข็ง เพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และสนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจมากขึ้น รวมไปถึงภาคเกษตรเอง ที่จะต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าเกษตร

5. การท่องเที่ยว ที่จะต้องคำนึงถึงการท่องเที่ยวในเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ เป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับการท่องเที่ยว ควบคู่ไปกับการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรือลดผลกระทบที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อม

6. ความคุ้มครองทางสังคม คือการสร้างวินัยทางการเงิน การออม ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับสังคมได้อย่างทั่วถึงในยามที่เกิดวิกฤติทางการเงิน เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบกับเศรษฐกิจฐานราก

7. โครงสร้างประชากร และสังคมผู้สูงอายุ โดยต้องมีระบบการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสม วางแนวทางเรื่องการทดแทนแรงงานในอนาคตที่จะลดลง การจ้างงานเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ

นายอาคม กล่าวว่า จากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ที่ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาโควิดแพร่ระบาด จะเห็นได้ว่าประเทศมีภาระทางการคลังมากขึ้นจากการหาเงินกู้เพื่อมาใช้เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ดังนั้น ทิศทางของนโยบายการคลังในอนาคตจะต้องให้ความสำคัญกับความยั่งยืนทางการคลัง ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้มากขึ้น รวมทั้งต้องลดความเหลื่อมล้ำในการจัดเก็บภาษีระหว่างประเทศ

"ขณะนี้ เรายังไม่พ้นช่วงวิกฤติโควิด-19 ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และต้องช่วยกันไม่ให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบไปมากกว่านี้ อย่างไรก็ดี ดัชนีด้านเศรษฐกิจหลายตัวของไทยดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งยังเชื่อว่าในปี 65 นี้ เศรษฐกิจไทยจะยังสามารถเติบโตได้ในกรอบ 3.5-4.5%" รมว.คลัง ระบุ