͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: เหล็กปี 2565 ยังโตต่อ แนะรัฐเพิ่มใช้เหล็กในประเทศช่วยฟื้นเศรษฐกิจ  (อ่าน 25 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Chanapot

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14700
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


นายวิโรจน์ โรจน์วัฒนชัย ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยเปิดเผยข้อมูลสถานการณ์ภาพรวมของอุตสาหกรรมเหล็กประเทศไทยช่วง 11 เดือน ปี 64 มีปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็ก 17.3ล้านตัน เพิ่มขึ้น15% จากช่วงเดียวกันของปี 63 โดยคาดว่าจะมีปริมาณความต้องการใช้เหล็กทั้งปีราว 18.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 15% จากปี 2563 โดยจากข้อมูลของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยในช่วง 11 เดือน ปี 64 พบว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบนเพิ่มขึ้น 22% และผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้น 4% แต่ทั้งนี้ ปริมาณนำเข้ายังคงมีอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าการผลิตในประเทศมาก โดยปริมาณการผลิตขยายตัว 8.3% ส่วนการนำเข้าขยายตัว 20.9%

ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เพื่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กอย่างยั่งยืน รวมถึงการแก้ปัญหาอุตสาหกรรมเหล็กในปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหาด้านโครงสร้างการผลิต สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยจึงกำลังร่วมจัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็ก 4.0 ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกลุ่ม 7 สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของมาตรการเร่งด่วน เช่น การขยายขอบข่ายของมาตรการการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ให้สามารถครอบคลุมงานโครงการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ PPP ด้วยซึ่งจะสามารถทำให้มีผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตสินค้าในประเทศได้รับประโยชน์จากการลงทุนของภาครัฐอีกเป็นจำนวนมาก และมาตรการควบคุมการตั้ง หรือขยายโรงงานเหล็กแผ่นเพื่อป้องกันปัญหากำลังการผลิตล้นตลาด (Over capacity) เช่นเดียวกับกรณีเหล็กเส้นด้วย

ในขณะที่นายนาวา จันทนสุรคน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า ราคาผลิตภัณฑ์เหล็กโลกช่วงปลายปี 2564 ถึงต้นปี 2565 ได้ลดความร้อนแรงลง เนื่องจากโรงงานเหล็กส่วนใหญ่ทั่วโลกกลับมาผลิตเหล็กในปริมาณเกือบเป็นปกติแล้ว โดยล่าสุดข้อมูลต้นเดือน ม.ค. 65 ราคาผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาว และเหล็กทรงแบนและในประเทศจีนปรับตัวลดลงเหลือ 756 - 762 เหรียญ/ตัน ลดลง 18%-24% จากช่วงที่ราคาเคยขึ้นไปสูงสุดเมื่อกลางปี 2564 อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ยากที่ราคาเหล็กจะลงไปต่อเนื่องจนเทียบเท่าระดับราคาในปี 2563 โดยเชื่อว่าราคาเหล็กในจีนและภูมิภาคเอเชีย จะขยับลงอีกไม่มาก หรือทรงตัว แล้วจะปรับขึ้นภายในไตรมาส 1 ปี 2565 นี้ เนื่องจากประเทศจีนปรับนโยบายเรื่องยกเลิกการให้ภาษีส่งออก (Rebate VAT) สินค้าเหล็ก รวมถึงมีการดำเนินการนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังส่งผลให้มีต้นทุนในกระบวนการผลิตเพิ่ม รวมถึงสถานการณ์ของต้นทุนพลังงาน และวัตถุดิบต่างๆ เช่น ถ่านหิน ก็มีแนวโน้มราคาสูงขึ้นเช่นกัน

จากการที่ประเทศไทยเผชิญภาวะโควิดมา 2 ปีแล้ว ได้ส่งผลให้ทั้งภาคสังคมและภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบและต้องปรับตัวกันตามวิถีใหม่ (New Normal) เช่น การขาดแคลนแรงงาน การบริหารจัดการก่อสร้างที่ต้องลดความแออัดของการใช้แรงงาน และระยะเวลาในการก่อสร้าง ตลอดจนการตอบสนองนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy ดังนั้น เหล็กจึงเป็นวัสดุก่อสร้างและทางเลือกที่เหมาะสมยิ่งขึ้นสำหรับภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทย โดยในปี 2565 นี้ ความต้องการใช้เหล็กของประเทศน่าจะยังเติบโตต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 5% จากปี 2564 เนื่องจากการก่อสร้างในโครงสร้างพื้นฐาน (Infra Structure) ของภาครัฐที่ยังดำเนินการต่อเนื่อง การเริ่มฟื้นตัวของภาคส่งออก ภาคบริการ โดยเหล็กเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความจำเป็นต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ การก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชน อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ พลังงาน บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น จึงเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ดังนั้นการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ และการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผลิตในประเทศไทย เพื่อลดการพึ่งพาสินค้านำเข้า รวมถึงการควบคุม Supply การผลิตเหล็กในประเทศให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความต้องการของประเทศ จะเป็นปัจจัยสำคัญช่วยเร่งการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ รวมถึงเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้เร็วขึ้นได้

นายนาวา ทิ้งท้ายว่า นอกจากนี้ยังต้องจับตาดูผลกระทบจากกรณีที่กรอบความตกลงเขตการค้าเสรี RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 ว่าจะส่งกระทบต่อปริมาณการนำเข้าสินค้าเหล็กสู่ประเทศไทยหรือไม่ เนื่องจากประเทศนอกอาเซียน 5 ประเทศเป็นประเทศที่มีความสามารถในการผลิต และส่งออกเหล็กเป็นอย่างมาก แต่ในเบื้องต้นคาดว่าจะมีผลไม่มากนักเนื่องจากสินค้าเหล็กส่วนใหญ่ได้มีการเสนอให้ไม่เปิดเสรีเพิ่มเติมจากกรอบความตกลงเดิมที่มีอยู่ รวมถึงอาจจะช่วยส่งเสริมให้มีโอกาสส่งออกมากขึ้นด้วยจากการที่มีแหล่งวัตถุดิบให้สามารถเลือกใช้ได้เพิ่มมากขึ้น