͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ดัชนี Sensex ทรุดกว่า 1,500 จุด ร่วงวันที่ 5  (อ่าน 22 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ fairya

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12401
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
ภาวะตลาดหุ้นอินเดีย: ดัชนี Sensex ทรุดกว่า 1,500 จุด ร่วงวันที่ 5

ดัชนี Sensex ตลาดหุ้นอินเดียดิ่งลงกว่า 1,500 จุดในวันนี้ ปรับตัวลงเป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน และทำสถิติทรุดตัวลงมากที่สุดภายในวันเดียวนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2564

ทั้งนี้ ดัชนี S&P BSE Sensex ปิดตลาดที่ 57,491.51 ลบ 1,545.67 จุด หรือ 2.62%

ราคาหุ้นร่วงลงทั่วกระดานจากแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตกเกี่ยวกับยูเครน

นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วและแรงกว่าที่คาดไว้เพื่อสกัดเงินเฟ้อ

หุ้นกลุ่มโลหะดิ่งลงนำตลาดวันนี้

ดาวโจนส์ทรุดหนัก ดิ่งกว่า 1,000 จุด ร่วงวันที่ 7 ผวาสงครามยูเครน,เฟดขึ้นดบ.

ดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลงอย่างต่อเนื่องในวันนี้ ล่าสุดทรุดลงกว่า 1,000 จุด ปรับตัวลงเป็นวันทำการที่ 7 ติดต่อกัน ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตกเกี่ยวกับยูเครน

นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วและแรงกว่าที่คาดไว้เพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ณ เวลา 00.16 น.ตามเวลาไทย ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์อยู่ที่ 33,227.59 จุด ลบ 1,037.78 จุด หรือ 3.03% ขณะที่ดัชนี S&P 500 ร่วงลง 3.81% และ Nasdaq ดิ่งลง 4.68%

ดัชนีดาวโจนส์มีแนวโน้มทำสถิติทรุดตัวลงมากที่สุดภายในเดือนเดียวนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2563

ดัชนีความผันผวน CBOE หรือ CBOE Volatility Index (VIX) ซึ่งเป็นมาตรวัดความวิตกของนักลงทุนในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท พุ่งขึ้นแตะระดับ 38.47 ในวันนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2563

สหรัฐและอังกฤษได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทูตรวมทั้งครอบครัวเร่งอพยพออกจากยูเครน ขณะที่องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศเสริมกำลังทหารทั้งทางบก ทะเล และทางอากาศตามพรมแดนฝั่งตะวันออก เนื่องจากมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่รัสเซียอาจทำการโจมตียูเครนในไม่ช้า

ทางด้านรัสเซียตรึงกำลังทหารเกือบ 100,000 นายประชิดชายแดนยูเครน ขณะที่การเจรจาระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตกยังคงไม่มีความคืบหน้า

ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทยังได้รับผลกระทบจากการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอในวันนี้

ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 50.8 ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 18 เดือน จากระดับ 57.0 ในเดือนธ.ค.

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก เปิดเผยว่า ดัชนี Chicago Fed National Activity Index (CFNAI) ร่วงลงสู่ระดับ -0.15 ในเดือนธ.ค. โดยเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.พ.2564 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ +0.25 จากระดับ +0.44 ในเดือนพ.ย.

ดัชนีได้รับผลกระทบจากการปรับตัวลงของการผลิตในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการชะลอตัวของการบริโภคและตลาดอสังหาริมทรัพย์

ตลาดจับตาการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในวันที่ 25-26 ม.ค. หลังจากที่เจ้าหน้าที่เฟดหลายรายต่างแสดงความเห็นสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ซึ่งรวมถึงนางลาเอล เบรนาร์ด หนึ่งในคณะผู้ว่าการเฟด, นายชาร์ลส์ อีแวนส์ ประธานเฟด สาขาชิคาโก, นายแพทริก ฮาร์เกอร์ ประธานเฟด สาขาฟิลาเดลเฟีย และนางแมรี ดาลี ประธานเฟด สาขาซานฟรานซิสโก

FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักมากถึง 100% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมนโยบายการเงินในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นเดือนที่เฟดยุติโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) พร้อมกับคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้

ทางด้านโกลด์แมน แซคส์คาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 4 ครั้งในปีนี้ และจะเริ่มปรับลดขนาดงบดุลในเดือนก.ค.หรือเร็วกว่านั้น จากปัจจุบันที่พุ่งสูงกว่า 8 ล้านล้านดอลลาร์

นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาการเปิดเผยผลประกอบการของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์, เทสลา และ แอปเปิล