͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: COVID โอมิครอน โควิดสายพันธุ์ที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ  (อ่าน 84 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ hs8jai

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12750
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ยกระดับสายพันธุ์โอมิครอนเป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง ภายหลังจากที่มีการตรวจพบการแพร่ระบาด ซึ่งต่างจากสายพันธุ์ Epsilon (B.1.427 / B.1.429) หรือสายพันธุ์ Lampda (C.37) ที่เป็นเพียงสายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variants of Interest: VOI)

เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นสายพันธุ์หลักที่มีการแพร่ระบาดและอาจมาแทนที่สายพันธุ์เดลต้าได้ โดยพบว่าสายพันธุ์โอมิครอนนี้มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งที่สำคัญอยู่ 2 ตำแหน่ง คือ

การกลายพันธุ์บริเวณ Spike Protein หรือตำแหน่งโปรตีนตรงส่วนหนามบนผิวของไวรัส ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์เบต้า Beta (B.1.351) ทำให้โควิดสายพันธุ์โอมิครอนสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและจับกับเซลล์ของมนุษย์ได้ง่ายขึ้น
ซึ่งคำว่า “หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน” ในที่นี้ หมายถึง คนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว ร่างกายจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติขึ้นมา (Innate Immunity) แต่ก็ยังสามารถติดเชื้อโควิดสายพันธุ์นี้ได้

การกลายพันธุ์บริเวณนอก Spike Protein พบการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ (Receptor-binding Domain: RBD) การกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งนี้มีความคล้ายคลึงกันกับสายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2) ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ง่ายขึ้น แบ่งตัวเก่งขึ้น อีกทั้งยังพบปริมาณความเข้มข้นของเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งนี้ส่งผลให้โควิดสายพันธุ์โอมิครอนสามารถแพร่กระจายได้ง่ายและไวขึ้นกว่าสายพันธุ์เดลต้า
หากถามว่าโอมิครอนจะรุนแรงกว่าเดลต้าหรือไม่? ก็คงต้องแบ่งออกเป็น 2 กรณีด้วยกัน

กรณีที่ 1 สำหรับคนที่รับวัคซีนแล้ว ตามการรายงานของ WHO ได้ระบุว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิดแล้วสามารถรับเชื้อได้ แต่แทบจะไม่มีอาการเลย อาการไม่รุนแรง จมูกยังได้กลิ่น ลิ้นสามารถรับรสได้ ซึ่งต่างกันกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า และตอนนี้ยังไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบรุนแรง และเสียชีวิตจากการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนนี้

กรณีที่ 2 สำหรับพื้นที่ที่มีการพบผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนหนาแน่น เช่น ทวีปแอฟริกา ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้มีอัตราการฉีดวัคซีนค่อนข้างน้อยจึงทำให้พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ซึ่งอาจจะมีการรายงานว่าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือมีโรคร่วมอื่นๆ ด้วย ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเอามาพิจารณาร่วมด้วย

โดยส่วนตัวแล้ว หมอมีความคิดเห็นว่า สายพันธุ์โอมิครอนนี้จะมีกลุ่มเสี่ยงที่ต้องกังวลอยู่ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคนที่ไม่เคยรับวัคซีนเลย และกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ ซึ่งเรายังคงต้องรอติดตามข้อมูลกันอย่างใกล้ชิด