͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ไอเอ็มเอฟประเมินเศรษฐกิจไทย ปีนี้เหลือ 1% ปีหน้าโต 4.5%  (อ่าน 947 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ deam205

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15570
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ เผยแพร่รายงานซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมาย World Economic Outlook ประเมินเศรษฐกิจโลก ปี 2021 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวที่ 5.9% ใกล้เคียงกับประมาณการครั้งก่อนที่ 6.0% แม้จะมีผลกระทบจาก Supply Disruption แต่ก็ถูกชดเชยด้วยการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่ราคาสูงขึ้นของกลุ่มเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนา

ส่วนเศรษฐกิจโลกในปี 2022 คาดว่าจะขยายตัว 4.9% โดยกลุ่มเศรษฐกิจพัฒนาแล้วจะฟื้นตัวก่อนกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่มีอัตราการฉีดวัคซีนน้อยกว่า

สำหรับเศรษฐกิจไทย ไอเอ็มเอฟปรับลดการขยายตัวของจีดีพีลงเหลือ 1.0% และ 4.5% ในปี 2021-2022 โดยมองว่าเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวได้ช้าเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลต้า จำนวนนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และภาคการส่งออกที่ยังเผชิญกับราคาวัตถุดิบและการขนส่งทางเรือที่สูง

รายงานของไอเอ็มเอฟมีสาระสำคัญดังนี้

โมเมนตัมเศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอลงนับตั้งแต่ไตรมาส 2 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในกลุ่มเศรษฐกิจตลาดใหม่และกำลังพัฒนา รวมถึงผลกระทบจาก Supply
Disruption ซึ่งกระทบการลงทุนในช่วงดังกล่าว ทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมยังฟื้นตัวช้าลงในไตรมาส 3

การค้าโลกเติบโตอย่างมีนัยสำคัญตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแม้จะเผชิญกับ Supply Disruption คาดว่าการค้าโลกจะขยายตัว 9.7% ในปี 2021 และ 6.7% ในปี 2022 โดยเฉพาะกลุ่มเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนาที่มีการเติบโตทั้งการนำเข้าและส่งออกสูงถึง 12.1% และ 11.6% ตามลำดับในปี 2021 โดยเฉพาะแรงส่งจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ขยายตัวสูงขึ้น

การจ้างงานมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างล่าช้า เนื่องจากความกังวลของแรงงานต่อการติดเชื้อ โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้อื่น ข้อจำกัดจากการเลี้ยงดูบุตรในช่วงล็อกดาวน์ การถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติ ผลจากมาตรการเงินชดเชยการว่างงาน และการว่างงานชั่วคราวอันเกิดจากความฝืดเคืองของตลาดงาน

ในระยะกลาง เศรษฐกิจโลกจะเติบโตเฉลี่ย 3.3% ในช่วงปี 2023-2026 โดยกลุ่มเศรษฐกิจพัฒนาแล้วจะฟื้นตัวสู่ระดับก่อนโควิดได้ในปี 2022 ปัจจัยหลักมาจากการคาดหวังผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะมีมาเพิ่มเติมของสหรัฐอเมริกา ในขณะที่กลุ่มเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศรายได้น้อย จะยังไม่ฟื้นตัวไปสู่ระดับก่อนโควิดได้ภายในช่วงปีที่ IMF ทำการคาดการณ์ เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนที่ช้าและมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐที่มีจำกัด

กลุ่มเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว คาดว่าจะขยายตัว 5.2% และ 4.5% ในปี 2021 และ 2022 โดยการคาดการณ์ในปี 2021 ปรับลดลงจากการคาดการณ์เมื่อ ก.ค. 2021 (5.6%) สาเหตุหลักมาจากการฟื้นตัวที่ช้าลงของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสินค้าคงคลังและการบริโภคที่ลดลงในไตรมาส 3 รวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบในภาคการผลิต (เช่น ในเยอรมนี) และการประกาศล็อกดาวน์ซ้ำ (เช่น การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นครั้งที่ 4 ในญี่ปุ่น ช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.) เป็นต้น

กลุ่มตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนา คาดว่าจะขยายตัวที่ 6.4% และ 5.1% ในปี 2021 และ 2022 โดยการคาดการณ์ในปี 2021 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการคาดการณ์เมื่อ ก.ค.2021 (6.3%) ปัจจัยหลักมาจากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีราคาสูงขึ้น ซึ่งไปทดแทนการหดตัวของ Output จากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ได้ ยกเว้นจีนที่ถูกปรับลดการคาดการณ์ลงเนื่องจากการลงทุนภาครัฐที่ลดขนาดลงมากกว่าที่คาด

ส่วนเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะขยายตัว 1.0% ในปี 2021 ซึ่งต่ำกว่าการประมาณการเดิมเมื่อ ก.ค.2021 (2.1%) และคาดว่าจะขยายตัว 4.5% ในปี 2022 และจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยระหว่างปี 2023-2026 ที่ 3.5-4.0% นอกจากนี้ยังประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับ 0.9% และ 1.3% ในปี 2021 และปี 2022 ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะขาดดุล 0.5% ของ GDP ในปี 2021 และกลับมาเกินดุล 2.1% ของ GDP ในปี 2022 ตามลำดับ

ไอเอ็มเอฟชี้ว่าการใช้ยุทธศาสตร์อยู่ร่วมกับโควิด-19 แบบโรคประจำถิ่น (Endemic) ถือเป็น Downside Scenario ที่จะกระทบต่อตัวเลขเศรษฐกิจในอนาคตที่ได้คาดการณ์ไว้ โดยฉากทัศน์นี้มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดขึ้น เพราะแม้จะมีการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรแล้ว แต่ก็จะไม่สามารถทำให้การแพร่ระบาดของโรคจบลงเนื่องจากประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันและลดความรุนแรงของโรคที่ลดลงหลังการฉีด อีกประการหนึ่งคือ ปัญหาการขาดแคลนวัคซีน และการลังเลต่อการฉีดวัคซีน ทำให้ยังคงมีผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนและเสี่ยงที่จะติดเชื้ออยู่เสมอ นั่นหมายความว่ากิจกรรมของภาคธุรกิจจะต้องปรับให้สอดคล้องกับสมมติฐานนี้ด้วย

การปรับรูปแบบกิจกรรมของภาคธุรกิจภายใต้ฉากทัศน์ดังกล่าวจะทำให้ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจจริงต่ำกว่าที่คาดการณ์ โดยภาคเศรษฐกิจต้องปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ 1. การจำกัดการเดินทาง 2. การปรับโครงสร้างและรูปแบบกิจกรรมของธุรกิจ (เช่น การใช้ hybrid work model และการทำงานผ่านระบบทางไกล) การปรับตัวดังกล่าวจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีลักษณะ Contact-Intensive ไม่สามารถฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนโควิดได้

นอกจากนี้ การปรับโครงสร้างธุรกิจจำเป็นต้องมีการลงทุนในสินค้าทุน เพิ่มเติม ทำให้กระทบกับผลิตภาพของธุรกิจชั่วคราว และการว่างงานตามธรรมชาติจะสูงขึ้นในช่วงของการเปลี่ยนผ่านของแรงงานที่ต้องเปลี่ยนไปทำงานในเซกเตอร์อื่น หากคำนึงถึงปัจจัยข้างต้น ก็จะทำให้ระดับจีดีพีต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้