͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: เอ็นไอเอ ผลักดัน 10 สตาร์ทอัพเชื่อมทุนลงทุนพื้นที่ EEC  (อ่าน 90 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14271
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า NIA คัดเลือกสตาร์ทอัพที่มีความสามารถในด้าน ARI Tech จำนวน 10 ราย จับคู่กับบริษัทที่ดำเนินงานในพื้นที่อีอีซีจำนวนกว่า 20 ธุรกิจ โดยมีเป้าหมายให้ภาคธุรกิจขนาดใหญ่เกิดการเรียนรู้การทำงานแบบสตาร์ทอัพ พร้อมดึงศักยภาพด้านต่าง ๆ มาช่วยแก้ไขปัญหา โดยสตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือกประกอบด้วย

1. Zeen: ระบบ AI บริหารจัดการการขายสินค้าอุปโภคบริโภคสำหรับร้านค้าปลีกอย่างถูกต้องและแม่นยำ 2. Crest Kernel: ระบบตรวจสอบความปลอดภัยและวิเคราะห์ข้อมูลการบริโภคจากข้อมูลภาพกล้องวงจรปิดแบบเรียลไทม์ 3. Verily Vision: ระบบกล้อง AI เก็บข้อมูลทะเบียนรถขนส่ง และหมายเลขตู้คอนเทนเนอร์สินค้าอัตโนมัติสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ 4. AltoTech: AIoT แพลตฟอร์ม วิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดการการใช้พลังงานภายในโรงแรม 5. MOVEMAX: แพลตฟอร์มบริหารงานขนส่งและกระจายสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน 6. AUTOPAIR: แพลตฟอร์มบริหารจัดการชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดซื้อและบริหารค่าใช้จ่าย 7. GENSURV: รถฟอร์คลิฟท์ไร้คนขับ นำทางด้วยเลเซอร์ สำหรับการขนย้ายพาเลตในคลังและสายการผลิต 8. BlueOcean XRSIM+: ระบบจำลองการฝึกอบรมเสมือนจริง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการฝึกซ้อมด้านไอโอที 9. ENRES: IoT และ AI platform สำหรับการบริการจัดการพลังงานเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย และ 10. IFRA-Machine: แพลตฟอร์มไอโอทีจัดเก็บข้อมูลจากเครื่องจักร และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อลดการหยุดทำงานของเครื่องจักร

โดยเชื่อมโยงระหว่างสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกกับบริษัท มากกว่า 20 บริษัท อาทิ บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ฯลฯ  ซึ่งเป็นทั้งพี่เลี้ยง (Mentor) ในการให้คำแนะนำ และเป็นพื้นที่ทดสอบโซลูชั่นการทำงานงานจริง (Sandbox) ระหว่างบริษัทพร้อมกับลูกค้า เติมเต็มศักยภาพการเป็นสตาร์ทอัพที่สมบูรณ์แบบ 



 นอกจากนี้ ยังจะผลักดันสตาร์ทอัพให้เข้าสู่พื้นที่อีอีซีให้มากขึ้นโดยอาศัยปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ มหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญด้านงานวิจัย ที่มีไม่ต่ำกว่า 10 แห่งทั่วประเทศ และในพื้นที่อีอีซีมีมหาวิทยาลัย 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึงสถาบันวิทยสิริเมธี (Vistec)  และ  เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) และเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สตาร์ทอัพได้ทดลองใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรม ในผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทเอกชนรายใหญ่

ในส่วนการพัฒนาย่านนวัตกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออก 4 ย่าน ได้แก่ ย่านนวัตกรรมบางแสน ย่านนวัตกรรมศรีราชา ย่านนวัตกรรมพัทยา ย่านนวัตกรรมอู่ตะเภา-บ้านฉาง ซึ่งย่านนวัตกรรมจะเป็นตัวกำหนดขอบเขตในการลงทุน การสร้างเครือข่าย การรวมกลุ่มธุรกิจ และศูนย์รวมของโอกาสทางด้านอุตสาหกรรมสมัยใหม่