พลูคาว หรือผักพลูคาว มีชื่ออีกอย่างหนึ่งที่คนทั่วไปรู้จักคือคาวตอง จะมีหลายคนสงสัยโทรมาถามบ่อยๆ ว่า..
พลูคาว กับ คาวตองเป็นอันเดียวกันไหม เป็นอันเดียวกันครับ และยังมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆ อีก เช่น..ผักพลูคาว คาวทอง ผักก้านตอง ผักคาวปลา ผักเข้าตอง ผักคาวตอง แต่ที่นิยมเรียกและรู้จักกันทั่วไปคือ พลูคาว หรือ คาวตอง ที่มีคำว่าคาวเพราะกลิ่นจะออกคาวๆ เหมือนกลิ่นคาวปลาจึงมีบางท้องถิ่นเรียกว่าผักคาวปลา ชาวบ้านทั่วไปนิยมนำมาทานเป็นผัก กินกับลาบ ก้อย ซอยแส่ กินกับป่นปลาหรือน้ำพริกปลาแซบมาก แจ่วปลาแดก แจ้วปลาน้อย ก็กินกับผักพลูคาวได้ มันแซบหลายๆ เด้อ สิบอกใฮ่ โดยเฉพาะกับอาหารรสจัดๆ ส้มตำ ยำ ก้อย พล่า ลาบและแจ่วฮ้อน รับประทานกับผักพลูคาวเลย อร่อยมากแซบหลายๆ การเก็บมารับประทานส่วนมาจะเก็บเหมือนผักกินใบทั่วไปคือเด็ดยอดมารับประทานได้เลย แต่มีบางพื้นที่ชอบส่วนที่เป็นราก จะถอนมาทั้งราก คือส่วนรากก็รับประทานได้ จะออกเปรี๊ยวๆ ทานร่วมกับใบ จะทำให้รสชาดดีขึ้น หรือบางคนก็ชอบนำรากผัก
พลูคาวมาทำเป็นยำรับประทานก็อร่อยดีเหมือนกัน พลูคาวจะมีส่วนรากที่ยาวมาก ยาวกว่าส่วนของลำต้นประมาณ 3-5 เท่า
พลูคาว ข้อมูลทางเภสัชวิทยา1.ฤทธิ์ระงับปวด เร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ ห้ามเลือด รักษาปริมาณของเหลวในร่างกาย
2.ฤทธิ์ขับปัสสาวะ พบสารฟลาโวนอยด์ที่แยกได้จากใบพลูคาวเป็นสาระสําคัญในการออกฤทธิ์
3.ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ น้ำมันหอมระเหยจากการกลั่นส่วนเหนือดินของพลูคาว พบว่ามีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอย่างแรงต่อเชื้อ Bacillus cereus และ B. Subtilis เชื้ออหิวาต์ Vibrio cholerae 0-1 และ V.Parahaemolyticus
4.ฤทธิ์ต้านไวรัส น้ำมันหอมระเหยจากพลูคาว ซึ่งประกอบด้วย n-decyl aldehyde, n-dodecyl aldehyde และ methyl-n-nonyl ketone สามารถยับยั้งการเจริญของไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดใหญ่ ในหลอดทดลองได้ นอกจากนี้ยังมีผลต่อไวรัสที่มีเปลือกหุ่ม 3 ชนิด ได้แก่ herpes simplex virus type-1 (HSV-1) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ และไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ (HIV-1) และไวรัสที่ปราศจากเปลือกหุ่ม 2 ชนิด คือ โปลิโอไวรัส และ คอกซากีไวรัส
ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่
www.พลูคาว.com