͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดเงินเดือนสงฆ์จากอัตรานิตยภัต ทำไมสงฆ์ถึงมีรายได้ประจำตำแหน่ง?  (อ่าน 14 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ PostDD

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14907
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
    ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาวงการผ้าเหลืองตกเป็นประเด็นสังคมมากมายและต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากพฤติกรรมเสื่อมเสียของสงฆ์เป็นเสียส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะจากพฤติกรรมส่วนตัวหรือเรื่องการทุจริตเงินวัดแต่สิ่งที่หลายคนยังไม่รู้คือ นอกจากเงินบริจาคหรือค่ากิจนิมนต์แล้ว พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ เช่น พระสังฆาธิการ ไปจนถึง พระเปรียญธรรม 9 ประโยค และพระเลขานุการ ยังได้รับเงินประจำเดือนประตำแหน่งสมณศักดิ์ด้วยBrand Inside ขอพาไปทำความรู้จัก “นิตยภัต” ที่เปรียบเสมือนเงินเดือนสงฆ์และเหตุผลว่าทำไมสงฆ์ถึงต้องมีเงินเดือน
นิตยภัค คือ ค่าภัตตาหารที่พระมหากษัตริยถวายแก่ภิกษุสามเณร สมัยก่อน พระมหากษัตริย์จะทรงมีพระราชศรัทธาถวาย ภัตตาหาร อัฐบริขาร และพระราชทานเบี้ยหวัดเป็นรายปีแก่พระสงฆ์ ก่อนที่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จะโปรดให้ยุบเลิกเบี้ยหวัดรายปี เปลี่ยนเป็นเบี้ยหวัดรายเดือนแทน และทรงโปรดให้วางอัตรานิตยภัตตามลำดับชั้นสมณศักดิ์ปัจจุบัน นิตยภัคยังถูกมองเป็นค่าภัตตาหาร (ภาษาอังกฤษคือ Monthly Food Allowance) และหน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัตเป็นของรัฐบาล โดยกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการจะเบิกจ่ายเป็นรายปี จุดประสงค์ก็เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติศาสนกิจ ด้านการบริหาร การปกครอง การศาสนศึกษา การเผยแผ่พระพุทธศาสนา และด้านสาธารณูปการ ซึ่งก็มีการปรับปรุงอัตรานิตยภัตให้เหมาะสมกับสภาวะของเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละช่วงมาตลอด อัตรานิตยภัตที่ใช้อยู่ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงและประกาศล่าสุดจากคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2554 และให้แก่พระที่มีสมณศักดิ์ทั้งหมด 76 สมณศักดิ์ ตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ไปจนถึง เลขานุการเจ้าคณะตำบล ซึ่งอยู่ที่ประมาณปีละ 1,122,572,400 บาท ดังนี้
[list=1]
  • สมเด็จพระสังฆราชเจ้า 37,700 บาท
  • สมเด็จพระสังฆราช 34,200 บาท
  • ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช 30,800 บาท
  • สมเด็จพระราชาคณะ 27,400 บาท
  • กรรมการมหาเถรสมาคม 23,900 บาท
  • เจ้าคณะใหญ่หนต่างๆ (ม/ธ)  23,900 บาท
  • พระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัณยบัฏ 20,500 บาท
  • เจ้าคณะภาค 17,100 บาท
  • แม่กองบาลี 17,100 บาท
  • แม่กองธรรม 17,100 บาท
  • รองเจ้าคณะภาค 13,700 บาท
  • เจ้าคณะจังหวัด 10,300 บาท
  • เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช 10,300 บาท
  • พระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นสัญญาบัตร 13,700 บาท
  • พระราชาคณะชั้นธรรม 13,700 บาท
  • พระราชาคณะชั้นเทพ 10,300 บาท
  • พระราชาคณะเจ้าคณะจังหวัด 10,300 บาท
  • พระราชาคณะชั้นราช 6,900 บาท
  • พระราชาคณะปลัดขวา 5,500 บาท
  • พระราชาคณะปลัดซ้าย 5,500 บาท
  • พระราชาคณะปลัดกลาง 5,500 บาท
  • พระราชาคณะชั้นสามัญ ป.ธ.9 ประโยค 5,500 บาท
  • พระราชาคณะชั้นสามัญ ป.ธ.7-8 ประโยค 5,200 บาท
  • พระราชาคณะชั้นสามัญ ป.ธ.5-6 ประโยค 4,800 บาท
  • พระราชาคณะชั้นสามัญ เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก 4,800 บาท
  • พระราชาคณะชั้นสามัญ ป.ธ.4/รองเจ้าคณะจังหวัด 4,500 บาท
  • พระราชาคณะชั้นสามัญ เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท 4,500 บาท
  • พระราชาคณะชั้นสามัญ ป.ธ.3 4,100 บาท
  • พระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ 4,100 บาท
  • พระราชาคณะชั้นสามัญยก (เจ้าคณะอำเภอ) 4,100 บาท
  • พระราชาคณะชั้นสามัญ เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นตรี 4,100 บาท.
  • พระเปรียญธรรม 9 ประโยค 4,100 บาท
  • พระคณาจารย์เอก 4,100 บาท
  • พระราชาคณะชั้นสามัญยก 3,800 บาท
  • พระครูปลัดชั้นเอกของสมเด็จพระราชาคณะ 3,800 บาท
  • พระคณาจารย์โท 3,800 บาท
  • พระราชาคณะชั้นสามัญยก/เจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษ 3,800 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก  3,800  บาท
  • เลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนต่าง ๆ (มหานิกาย/ธรรมยุต)  3,800 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท 3,400 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอชั้นเอก 3,400 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นพิเศษ 3,400 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร เทียบเท่าผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นพิเศษ 3,400 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก 3,400 บาท
  • เลขานุการเจ้าคณะภาค 3,400 บาท
  • พระครูปลัด รองสมเด็จพระราชาคณะ 3,400 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอชั้นโท 3,100 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นตรี 3,100 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท 3,100 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก 3,100 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร เทียบเท่าผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก 3,100 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก 3,100 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นเอก 3,100 บาท
  • เลขานุการรองเจ้าคณะภาค 3,100 บาท
  • เลขานุการเจ้าคณะจังหวัด 3,100 บาท
  • พระครูปลัดของเทียบรองสมเด็จพระราชาคณะ 3,100 บาท
  • พระครูฐานานุกรมของสมเด็จพระสังฆราช ชั้นเอก 3,100 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอชั้นโท 2,700 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นโท 2,700 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท 2,700 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร เทียบเท่าผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท 2,700 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก 2,700 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นตรี 2,700 บาท
  • พระครูฐานานุกรมของสมเด็จพระสังฆราชชั้นโท 2,700 บาท
  • พระครูปลัดของพระราชาคณะชั้นธรรม 2,700 บาท
  • เลขานุการรองเจ้าคณะจังหวัด 2,700 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นตรี 2,500 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท 2,500 บาท
  • เจ้าอธิการ 2,500 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นตรี 2,200 บาท
  • เลขานุการเจ้าคณะอำเภอ 2,200 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ 1,800 บาท
  • พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์  1,800  บาท
  • เลขานุการรองเจ้าคณะอำเภอ 1,800 บาท
  • พระอธิการ 1,800 บาท
  • เลขานุการเจ้าคณะตำบล 1,200 บาท
อย่างไรก็ตามแม้พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์จะได้รับนิตยภัตรายเดือนประหนึ่งเงินเดือน แต่นิตยภัตไม่นับเป็นรายได้และไม่ต้องเสียภาษี เช่นเดียวกับค่ากิจนิมนต์หรือเงินบริจาคจากญาติโยม ก็เข้าเกณฑ์มาตรา 42 (10) ของประมวลรัษฎากร ว่าเป็น “เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา ตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี” ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีทั้งนี้ตัวกฎหมายงดเว้นภาษีแค่นิตยภัตและค่ากิจนิมนต์ เงินบริจาคเท่านั้น หากพระสงฆ์นำเงินที่ได้รับการถวายไปต่อยอดให้งอกเงยขึ้น เช่น ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากหรือนำไปทำธุรกิจและได้กำไร ลักษณะนั้นถึงจะเข้าข่ายเสียภาษี เช่นเดียวกับกรณีของพระที่ได้รับเงินเดือนจากการสอนในมหาวิทยาลัยมกุฎราชวิทยาลัย ก็นับเป็นรายได้ที่จะต้องถูกนำไปคำนวนภาษีตามมาตรา 40(1) ของประมวลรัษฎากรส่วนคำถามที่ว่าพระสงฆ์จำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ ด้วยหรือไม่นั้น (นอกจากค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายต่างๆ ของวัด) น่าจะเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันได้ไม่จบ