͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ดัชนีเชื่อมั่นหอการค้าฯ ม.ค.ลดลงทุกภูมิภาค กังวลโอมิครอน  (อ่าน 20 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ dsmol19

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16170
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
ดัชนีเชื่อมั่นหอการค้าฯ ม.ค.ลดลงทุกภูมิภาค กังวลโอมิครอน-สินค้าราคาแพง

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ประจำเดือนม.ค. 64 (TCC-CI) ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นของภาคธุรกิจและหอการค้าทั่วประเทศ จำนวน 369 ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 24-28 ม.ค.65 โดยดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 37.2 ลดลงจากระดับ 37.8 ในเดือนธ.ค. 64

กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีฯ อยู่ที่ 36.6 ลดลงจากเดือน ธ.ค.64 ซึ่งอยู่ที่ 37.3
ภาคกลาง ดัชนีฯ อยู่ที่ 38.2 ลดลงจากเดือนธ.ค.64 ซึ่งอยู่ที่ 38.7
ภาคตะวันออก ดัชนีฯ อยู่ที่ 40.9 ลดลงจากเดือน ธ.ค.64 ซึ่งอยู่ที่ 41.5
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีฯ อยู่ที่ 37.1 ลดลงจากเดือนธ.ค.64 ซึ่งอยู่ที่ 37.6
ภาคเหนือ ดัชนีฯ อยู่ที่ 36.5 ลดลงจากเดือนธ.ค.64 ซึ่งอยู่ที่ 37.2
ภาคใต้ ดัชนีฯ อยู่ที่ 35.0 ลดลงจากเดือนธ.ค.64 ซึ่งอยู่ที่ 35.6
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกับดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยเดือน ม.ค.65 มีดังนี้

ปัจจัยลบ ได้แก่
1. ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย โดยเฉพาะไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอมิครอน ที่มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มของผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2. ความกังวลในการใช้มาตรการเข้มงวดของรัฐบาล หากมีการแพร่ระบาด

3. ราคาสินค้าในบางรายการ โดยเฉพาะวัตถุดิบมีระดับราคาที่สูง ส่งผลต่อค่าครองชีพ และกำลังซื้อสินค้าของประชาชน และรายได้ของธุรกิจ

4. ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น

5. เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย

6. ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของการกลายพันธุ์ของโควิด-19 ประสิทธิภาพของวัคซีน และภาวะคอขวดของอุปทานภาคการผลิตที่อาจยืดเยื้อไปจนถึงปี 2565

7. การปรับนโยบายการเงินให้เป็นปกติ (Policy normalization) โดยการทยอยขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อ จะส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป

ปัจจัยบวก ได้แก่
1. การผ่อนคลายมาตรการในการทำธุรกิจ

2. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2564 ว่าจะขยายตัวที่ 1.2% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับประมาณการครั้งก่อนที่ 1.0% สำหรับในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัว 4%

3. มาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ได้แก่ มาตรการช้อปดีมีคืน โครงการคนละครึ่ง เฟส 4 มาตรการขยายระยะเวลาการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย เป็นต้น

4. การฉีดวัคซีนของทั้งโลก ทำให้สถานการณ์โควิด-19 ในระดับโลกปรับตัวดีขึ้น

5. การส่งออกของไทยเดือน ธ.ค. 64 ขยายตัว 24.18%

6. ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะข้าว ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และปศุสัตว์ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่เริ่มมีรายได้สูงขึ้น และกำลังซื้อในต่างจังหวัดเริ่มปรับตัวดีขึ้น

สำหรับข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ มีดังนี้

1. เพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมาตรการสนับสนุน SMEs

2. ผ่อนคลายมาตรการดำเนินธุรกิจกลางคืน และเยียวยาธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ

3. ขอให้ภาครัฐดำเนินการเปิด Test & go เพื่อรับนักท่องเที่ยว

4. ต้องการให้รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่างๆ ถึงแม้ว่าสถานการณ์จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น

5. ยกเลิกแนวคิดการล็อกดาวน์ หรือการจำกัดพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง

6. มาตรการช่วยเหลือโดยการลดค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าเดินทาง รวมทั้งลดภาระภาษีและค่าธรรมเนียม เช่น ภาษีสรรพสามิตเชื้อเพลิง และสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน