͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: สธ. ตรวจพบบางส่วนหย่อนยานมาตรการ ดื่มเกินเวลา-มึนเมา เสี่ยงโควิด  (อ่าน 80 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jenny937

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13350
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด

อธิบดีกรมอนามัย เผย ร้านอาหารและประชาชนส่วนใหญ่ร่วมมือดีหลังผ่อนคลายมาตรการและพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว แต่พบบางส่วนดื่มเกินเวลา มึนเมา เสี่ยงโควิด สุ่มตรวจเป็นระยะเพื่อประเมินสถานการณ์

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 3 พ.ย. 2564 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย แถลงข่าวที่กระทรวงสาธารณสุข ถึงเรื่องการเปิดบ้าน เปิดเมือง เปิดประเทศด้วย Universal Prevention และ COVID Free Setting ว่า กระทรวงสาธารณสุขยังคงเน้น 4 หลักสำคัญ คือ

การฉีดวัคซีนครอบคลุมเป้าหมาย
ป้องกันตนเองขั้นสูงสุด Universal Prevention
สถานประกอบการเข้มมาตรการ COVID Free Setting
การตรวจหาเชื้อเมื่อมีความเสี่ยงด้วย ATK
ส่วนคำถามว่าหลังจากมีการผ่อนคลายให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารได้ มีปัจจัยอะไรที่จะส่งผลต่อความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงมีความแนะนำอย่างไรกับร้านอาหารที่เปิดให้ดื่มและผู้บริโภค โดย นพ.สุวรรณชัย ตอบว่า การอนุญาตให้ดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารในพื้นที่ที่กำหนดนั้น เพิ่งดำเนินการเป็นวันที่ 3 (เริ่มวันที่ 1 พ.ย.) ซึ่งจากการลงพื้นที่และตรวจสอบ พบร้านอาหารและประชาชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่อาจจะมีบางส่วนหย่อนยานเรื่องการปฏิบัติไปบ้าง แต่ภาพรวมเป็นไปด้วยดี

ทั้งนี้ มีความเสี่ยงบางประการที่พบเห็น ดังนี้

1. การดื่มเกินเวลาที่ประกาศ ขอให้เข้าใจว่าขณะนี้ในแต่ละจังหวัดจะมีประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อ ประชาชนในพื้นที่นั้นๆ ต้องปฏิบัติตามประกาศของจังหวัดเป็นสำคัญ


2. ความแออัด ในส่วนนี้มีความเข้าใจได้ว่าประชาชนส่วนหนึ่งอาจจะอึดอัดหรืออุดอู้กับการที่ต้องอยู่กับบ้าน เมื่อมีการผ่อนคลายและพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวจึงมีประชาชนมุ่งไปในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทำให้การเว้นระยะห่างลดน้อยลง เช่นเดียวกับร้านอาหาร แต่เชื่อว่าสักระยะจะค่อยๆ มีการปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์และการปฏิบัติตามมาตรการ

3. การดื่มเกินพอดี หรือดื่มจนมึนเมา แต่ยังพบว่ามีส่วนน้อย ซึ่งลักษณะนี้นำไปสู่ความเสี่ยงที่จะละเลยการปฏิบัติตามมาตรการ

“เราจะมีการเฝ้าระวังและลงไปสุ่มตรวจสอบเป็นระยะๆ เพื่อที่จะดูการปฏิบัติเป็นระยะเวลาประมาณ 7-14 วัน เพื่อประเมินว่าการดำเนินการนั้นมีความเหมาะสมมากน้อยอย่างไร ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็จะประเมินควบคู่ไปกับสถานการณ์การที่พบผู้ติดเชื้อในพื้นที่ด้วย”.