กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมากในโลกโซเชียล กรณีที่ประเทศญี่ปุ่นบริจาครถไฟมือสอง จำนวน 17 คัน ให้ไทยฟรี ซึ่งมีบางส่วนแสดงความเห็นว่าอาจจะเป็นการนำขยะเศษเหล็กมาทิ้งในประเทศไทย
มาทำความรู้จักกับ 7 เรื่องน่ารู้รถไฟขบวนดังกล่าวกัน
1.
รถไฟมือสองที่ญี่ปุ่นบริจาคให้ประเทศไทย เป็นรถดีเซลราง (DMU) รุ่น KiHa 183 (คีฮา 183) ของบริษัทรถไฟฮอกไกโด (JR Hokkaido) ในภูมิภาคฮอกไกโด โดยบริจาคมาจำนวน 17 คัน ในราคากลาง 42,500,000 บาท
สภาพภายในตู้โดยสาร รถไฟมือ 2 ที่ญี่ปุ่น บริจาคให้ไทย (ภาพจาก : เพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย)
สภาพภายในตู้โดยสาร รถไฟมือ 2 ที่ญี่ปุ่น บริจาคให้ไทย (ภาพจาก : เพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย)
2. รถไฟดีเซลราง KiHa 183 เป็นรถที่พัฒนาโดย การรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่น (Japanese National Railways : JNR) มีวัตถุประสงค์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อวิ่งในเส้นทางบนเกาะฮอกไกโด จุดกำเนิดของ KiHa 183 เริ่มต้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 เมื่อการรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่นมองเห็นความจำเป็นในการเปลี่ยนรถไฟรุ่น KiHa 80 ที่ใช้มานานและเริ่มเสื่อมสภาพเนื่องจากความหนาวเย็นอย่างมากของฤดูหนาวในฮอกไกโด จึงมีการพัฒนารถไฟรุ่นใหม่ทั้งหมด พร้อมกับตั้งชื่อรุ่นว่า KiHa 183
3. KiHa 183 เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1980 บนเส้นทางโอโซระ ฮกไก โอค็อตสค์ และโฮคุโตะบนเส้นทางเซกิโช หลังจากนั้นก็มีการสร้างเพื่อใช้ในเส้นทางอื่นๆ เพิ่มเติมในอีกไม่กี่ปีต่อมา
4. KiHa 183 ทะยอยยุติให้บริการตั้งแต่ปี 2001-2016 โดยปกติแล้วการบำรุงรักษารถไฟของญี่ปุ่นค่อนข้างดีมาก แม้ว่ารถไฟคันนั้นจะให้บริการมายาวนานหลายสิบปี
5. รถไฟของญี่ปุ่นที่ถึงเวลาต้องปลดระวาง จะมีทั้งการทำลายทิ้งโดยเครื่องบดอัดแล้วนำวัสดุมารีไซเคิล หรืออาจจะส่งมอบรถไฟขบวนนั้นให้ประเทศอื่นๆ เพื่อใช้งานต่อไป อย่างเช่นที่ส่งมอบ KiHa 183 ให้แก่ประเทศไทย
สภาพภายในตู้โดยสาร รถไฟมือ 2 ที่ญี่ปุ่น บริจาคให้ไทย (ภาพจาก : เพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย)
สภาพภายในตู้โดยสาร รถไฟมือ 2 ที่ญี่ปุ่น บริจาคให้ไทย (ภาพจาก : เพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย)
6. การส่งมอบ KiHa 183 ให้แกประเทสไทย เป็นการยกให้ฟรีๆ แต่ไทยต้องดำเนินการขนย้าย และจ่ายค่าขนย้ายเอง
7. อันที่จริงแล้วประเทศไทยเคยได้รับรถไฟมือสองจากญี่ปุ่นมาแล้ว อย่างเมื่อช่วงที่ไทยเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ ที่กรุงเทพมหานคร ไทยได้รับรถไฟดีเซลราง Kiha58 มาวิ่งเป็นรถขบวนพิเศษงานเอเชียนเกมส์ ระหว่างธรรมศาสตร์-หลักสี่-มักกะสัน-หัวหมาก เพื่อเชื่อม 3 สนามกีฬาหลัก และต่อมายังมีรถไฟนั่งและนอน นำมาวิ่งเป็นรถด่วนขบวนพิเศษราชพฤกษ์ กรุงเทพ-เชียงใหม่ สำหรับงานพืชสวนโลก และรถนำเที่ยว กรุงเทพ-บ้านวะตะแบก เพื่อไปเที่ยวทุ่งดอกกระเจียว ก่อนจะมาเป็นรถขบวนรถนอน 13/14 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ
สำหรับ รถไฟดีเซลราง KiHa 183 ที่จะได้รับจากญี่ปุ่นในครั้งนี้ จะถูกนำมาปรับปรุงให้เป็นอย่างไรต่อไป ต้องรอติดตามต่อไปในอนาคต