͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: สนค.ชี้เป้าผลิตสินค้าสีเขียว เน้นย่อยสลาย ใช้ซ้ำ ประหยัดพลังงาน รับความต้องการพุ่ง  (อ่าน 99 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Chanapot

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14700
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค. ได้ติดตามทิศทางการผลิตและความต้องการสินค้าของตลาดโลก ตามนโยบายที่ได้รับจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยพบว่าขณะนี้ตลาดโลกมีความต้องการ “ผลิตภัณฑ์สีเขียว” หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Product) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้คนเริ่มเห็นผลกระทบ จากจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้การบริโภคทรัพยากรต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย และส่งผลต่อเนื่องให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะขยะพลาสติกที่ย่อยสลายยากและทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านอื่น ๆ ตามมา เช่น ปัญหาภาวะโลกร้อนจากการเผาขยะ ปัญหาสารพิษปนเปื้อนในน้ำและดิน เป็นต้น

ทั้งนี้ จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ผลิตภัณฑ์สีเขียว ที่ผลิตภายใต้หลักการ 4R ได้แก่ Reduce (การลดปริมาณของเสีย) Reuse (การใช้ซ้ำ) Recycle (การนำกลับมาใช้ใหม่) และ Repair (การซ่อมแซม) กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยตอบโจทย์และแก้ปัญหาข้างต้นได้ เพราะไม่เพียงเป็นสินค้าที่ผลิตจากวัสดุที่ย่อยสลายได้เท่านั้น แต่ยังต้องเกิดจากกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ก่อให้เกิดมลภาวะด้วย

โดยผลิตภัณฑ์สีเขียว ที่กำลังเป็นที่ต้องการ ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารรักษ์โลกที่ผลิตจากเยื่อพืชธรรมชาติ เช่น ชานอ้อย ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ โดยไม่ทิ้งมลพิษหรือสารเคมี รวมถึงถุงที่ผลิตจากมันสำปะหลังที่ใช้แทนถุงพลาสติกได้เป็นอย่างดี 2.ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้ เช่น ถุงผ้า กระบอกน้ำ แก้วน้ำแบบพกพา และกล่องข้าว ซึ่งตอบโจทย์ด้านการลดใช้พลาสติก รวมไปถึงกล่องโฟม เพราะเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลกที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และ 3.รูปแบบอื่นๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน รถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ รถยนต์ประหยัดพลังงาน (Eco Car) รถยนต์ Hybrid อาคาร บ้าน ที่พักอาศัย ที่ออกแบบมาเพื่อประหยัดพลังงาน เช่น ออกแบบให้อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อลดการใช้เครื่องปรับอากาศ หรือออกแบบให้รับแสงธรรมชาติได้เต็มที่ เพื่อประหยัดไฟ เป็นต้น

นายภูสิตกล่าวว่า นอกจากการผลิตผลิตภัณฑ์สีเขียวเพื่อช่วยลดขยะและแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีแนวโน้มใหม่ ผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตสินค้ายังควรให้ความสำคัญกับประเด็นความโปร่งใสในการผลิต และการลงทุนในงานวิจัยเพิ่มเติมเพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนมีความยั่งยืนมากขึ้น ในขณะที่ยังสามารถทำให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกสบายในการบริโภคและอุปโภคสินค้าได้เหมือนเดิม ใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กลง เพื่อช่วยลดต้นทุน ลดปริมาณขยะ ลดการบริโภคเกินความจำเป็น รวมทั้งประหยัดพื้นที่จัดเก็บและขนส่ง และใช้บรรจุภัณฑ์ปลอดภัยต่อสินค้า เพื่อรักษาความปลอดภัยในการขนส่ง โดยใช้วัสดุที่มีความสามารถในการควบคุมคุณสมบัติของวัสดุนั้น ๆ ไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเสื่อมสภาพไป

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการทั้งในไทยและอาเซียน เกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สนค. มีกำหนดจัดงานสัมมนาวิชาการและกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจออนไลน์ ในหัวข้อ “The Future for Sustainable Eco-Packaging” (Webinar) ขึ้นระหว่างวันที่ 2–3 ก.ย.2564 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการจากของความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่จะนำมาพูดคุย ตลอดจนแบ่งปันประสบการณ์และสร้างโอกาสการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนวทางการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการปรับใช้และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันจะช่วยเชื่อมโยงผู้ประกอบการรายย่อยเข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่าโลกมากขึ้น เช่น โอกาสและความท้าทายในตลาดบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมผู้บริโภคที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ และห่วงโซ่การผลิตของโลก เป็นต้น

สำหรับงานสัมมนาดังกล่าว ได้รับเกียรติจากวิทยากรของหน่วยงานชั้นนำ เช่น Mr.Jarred Neubronner Senior Research Analyst , Euromonitor International) , ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ รองประธาน ฝ่ายพัฒนาการตลาดธุรกิจปิโตรเคมีขั้นปลาย บริษัท พีทีที โกล. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) , คุณจิรพัฒน์ ฐานสันโดษ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด , Mr. Karan Chechi Research Director , TechSci Research โดยผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ www.fsecopack.com หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่น.ส.นลนีย์ จันทะกูฏ โทรศัพท์ 090-319 0369 หรือ nonlanee.fin@gmail.com