͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: เปิด10 อันดับบจ.กำไรสุทธิสูงสุดไตรมาส2/64 PTTGC นำโด่ง 2.5หมื่นล้าน  (อ่าน 25 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Naprapats

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14930
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส2ปี 2564ของบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ส่วนใหญ่ประกาศออกมาแล้ว ซึ่งรอตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)ประกาศอย่างเป็นทางการ

ด้านบริษัทหลักทรัพย์(บล.)ทิสโก้ เผย กำไรไตรมาส2/64ของ บจ. (จำนวน 626 บริษัทจากทั้งหมด 650 บริษัทใน SET) อยู่ที่ 2.75 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 118% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น3% เมื่อเทียบกับไตรมาส1ปี2564 

ทั้งนี้หลายกลุ่มอุตสาหกรรมมีกำไรเติบโตสูง เพราะ ฐานกำไรไตรมาส 2 ของปีที่แล้วที่ต่ำมาก เพราะเจอการล็อกดาวน์เต็มรูปแบบ แต่กลุ่มที่ยังมีผลการดำเนินงานขาดทุนอยู่คือ กลุ่ม TOURISM เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ และยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์   

สำหรับบจ.ที่มีกำไรสูงสุด 10 อันดับแรก "กรุงเทพธุรกิจ"ได้รวบรวมข้อมูลดังนี้

1.บมจ.พีทีที โกล. เคมิคอล(PTTGC) มีกำไรสุทธิ 25,034.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,398% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,670.74 ล้านบาท เนื่องจากรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 61% อยูที่ 111,793 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มี69,271 ล้านบาท เป็นผลมาจากราคาขายของทุกผลิตภัณฑ์ที่ปรับขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง รวมทั้กลุ่มผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์และฟีนอล จากอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ตามสภาพเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้นและราคาน้ำมันดิบดูไบที่ปรับเพิ่มขึ้น รับรู้กำไรสต็อกน้ำมัน และรายการพิเศษขายหุ้น บมจ. โกล. เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC)

2.บมจ.ปตท.(PTT) มีกำไรสุทธิ 24,578.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 103.91%จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 12,053.29 ล้านบาท เนื่องจากปตท. และบริษัทย่อยมี EBITDA เพิ่มขึ้น 58,958 ล้านบาทหรือมากกว่าร้อยละ 100 โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น โดยเฉพาะธุรกิจปิโตรเคมีที่มีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตามส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีกับวัตถุดิบทั้งสายโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ที่ปรับตัวสูงขึ้นและธุรกิจการกลั่น ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ธุรกิจน้ำมัน มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น

3.บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย(SCC) มีกำไรสุทธิ 17,136.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 82.61% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 9,383.86 ล้านบาท สาเหตุหลักจากส่วนต่าง ราคาสินค้าเคมีภัณฑ์และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น ขณะที่ EBITDA เพิ่มขึ้น 39% สาเหตุหลักจากส่วนต่างราคาสินค้าเคมีภัณฑ์และเงินปันผลรับจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น ขณะที่มีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 39% สาเหตุหลักจากราคาขายของสินค้าเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้น


4.บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ส(IVL) มีกำไรสุทธิ 8,339.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,332.62% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 153.51 ล้านบาท ซึ่ง ในไตรมาส 2/64 บริษัทมี Core EBITDA เท่ากับ 477 ล้านดอลลาร์ (ผลการดำเนินงานของ IVOL 18 ล้านดอลลาร์ถูกปรับปรุงไปยังรายการพิเศษ) โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการกระจายตัวทั่วโลกขนาดและการเป็นผู้นำของบริษัท ในทั้งสามกลุ่มธุรกิจ รายได้จากการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของทุกภูมิภาค โดย Core EBITDA ของทวีปอเมริกาและยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) เพิ่มขึ้น 59% ในครึ่งแรกของปี 64 เมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี2563 ในขณะที่ทวีปเอเชียเพิ่มขึ้น 15%.ในปี2563 ธุรกิจของบริษัทได้ผ่านบททดสอบความยืดหย่นต่อสถานการณ์ต่างๆ และในครึ่งปีแรกได้แสดงให้เห็นการสร้างมูลค่าจากแพลตฟอร์มของบริษัท


5.บมจ.ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) (STGT) มีกำไรสุทธิ 7,280.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 590.5% จากช่วงเดียวกันที่มีกำไรสุทธิ 1,054.35 ล้านบาท เนื่องจากรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 164.7% มาอยู่ที่ 12,967.7 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 4,899.7 ล้านบาท 

6.บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) มีกำไรสุทธิ 7,139.60 ล้านบาท  เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ  4,322.86 ล้านบาท  เนื่องจากรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 164.7% มาอยู่ที่ 12,967.7 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 4,899.7 ล้านบาท เพราะริมาณการขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 36%ประกอบกับราคาขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 21%


7.บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(ADVANC) มีกำไรสุทธิ 7,040.82 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 0.6%จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่กำไรสุทธิ 7,001.11 ล้านบาท   จากรายได้รวมเพิ่มขึ้น 1.2% ขณะที่ต้นทุนการดำนเนินงานเพิ่มขึ้น 4.4%

8.บมจ.การบินไทย (THAI) มีกำไรสุทธิ 5,562.50 ล้านบาท

9. บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี (STA) มีกำไรสุทธิ 5,043.71 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 361%  จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ  1,093.70 ล้านบาท  จากทั้งราคาขายและปริมาณการขายที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นตามการฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจโลกและความต้องการในการบริโภคจากผู้ผลิตยางล้อ 

10. บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร(CPF) มีกำไรสุทธิ 4,737.30 ล้านบาท  ลดลง21% จากช่วงเดียวปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 6,028.51 ล้านบาท เนื่องจากรายได้จากการขายลดลง10% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากการเปลี่ยนสถานะจากบริษัทย่อยเป็นบริษัทร่วมของบริษัท chia Tai Investment Co.,Ltd.(CTI) เมื่อเดือนธ.ค.2563 ทั้งนี้ หากไม่นับผลกระทบจากรายการดังกล่าว รายได้จากการขายในไตรมาส2ปี 2564 เพิ่มขึ้น 14% จากการขยยงานและราคาผลิตภัณฑ์ในหลายประเทศที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวมถึง ประเทศฟิลิปปินส์ กัมพูชา และรัสเซีย เป็นต้น