͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ทีม People Matter คว้ารางวัล Best Innovation การแข่งขันนวัตกรรม แก้วิกฤตฝุ่นพิษ  (อ่าน 205 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Shopd2

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 11951
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด



เมื่อวันที่ 26 ก.ค. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และสมาพันธ์นิสิตนักศึกษานานาชาติแห่งประเทศไทย (International Federation of Medical Students’ Associations : IFMSA) จัดงานประกาศผลการตัดสินการประกวดนโยบายและนวัตกรรมทางสังคมของคนรุ่นใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ PM2.5 ภายใต้โครงการ Thailand Youth Policy Initiative (TYPI) เมื่อวันที่ 24 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยมีเยาวชนและวัยทำงาน อายุ 16-30 ปี เข้าร่วมการแข่งขันกว่า 120 คน ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดรวม 30 ผลงาน สำหรับประกวดครั้งนี้ คณะกรรมการได้พิจารณาและตัดสินอย่างรอบคอบ โดยผู้ได้รับรางวัล Best Innovation ได้แก่ ทีม People Matter (PM 4.0 ) ชื่อผลงานแพลตฟอร์มดิจิทัลสาธารณะ เพื่อการจัดการมาตรการ PM2.5 แบบชี้เป้า และรางวัลชนะเลิศ 3 รางวัล ได้แก่ 1.ทีมDustsappear 2. ทีมAirtopia และ3.ทีมทางของฝุ่น


นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM2.5 เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยที่สะสมมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่าง กรุงเทพฯ เนื่องจากมีการก่อสร้างพัฒนาเมืองตลอดเวลา รวมถึงการเผาไหม้ของรถบนท้องถนน จากข้อมูลการประมาณการณ์ความเสียหายจากฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ปี 2563 พบว่า กรุงเทพฯ ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจกว่า 3 หมื่นล้านบาท ทั้งค่าเสียโอกาสด้านสุขภาพ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเครื่องฟอกอากาศ ค่าเสียโอกาสด้านการท่องเที่ยว และค่าเสียโอกาสของภาคธุรกิจ การประกวดนโยบายและนวัตกรรมทางสังคมของคนรุ่นใหม่เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ PM2.5 ครั้งนี้ ผู้ที่ส่งผลงานเข้าประกวดทุกคน ถือเป็นกำลังสำคัญในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัลจะได้รับโอกาสต่อยอดผลงานถูกนำไปใช้งานได้จริง และขยายผลต่อไปในวงกว้างมากยิ่งขึ้น เพื่อเร่งแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศที่ต้นเหตุ เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนได้ในระยะยาว


ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษา30ทีมที่เข้าร่วม และนำเสนอนวัตกรรมวันนี้ เชื่อว่าเราจะได้นโยบายสาธารณะที่ช่วยแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่ได้จากการช่วยกันคิดนวัตกรรมของคนหลายวัย หลายสาขาจะเป็นประโยชน์กับประเทศ รวมถึงขอให้มีการศึกษาวิจัยเรื่องอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อไป อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากฝากคือการนำโนยายสาธารณะที่เป็นสากลของประเทศตะวันตกมาใช้นั้นต้องเรียนว่าใช้ได้เพียงเล็กน้อย เพราะบริบทของประเทศไทยกับตะวันตกมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการทำนโยบายสาธารณะจะต้องมีการศึกษาบริบท วัฒนธรรมของประเทศเราเองด้วย เช่น นโยบายสาธารณะในเรื่องที่เกี่ยวกับ PM 2.5 ต้องทราบว่าส่วนหนึ่งมาจากการเผาไหม้ทางการเกษตรในพื้นที่ชนบท รวมถึงเกษตรกรในประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกัน ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ ที่เราต้องเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 และให้ประชาชนในพื้นที่สามารถอยู่ร่วมกับป่าได้


ศ.พิเศษ ดร.เอนก กล่าวว่า อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญคือเรื่องของช่วงวัย (Generation) ซึ่งตนยินดีต้อนรับคนรุ่นใหม่เสมอ ดังนั้น การที่เราได้ตระหนักว่าเราอยู่ในวัยไหนแล้วรู้ว่ามีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร แล้วนำมาปรับเข้าหากันเพื่อพัฒนาประเทศต่อไป ซึ่งวันนี้ประเทศไทยก็พัฒนาขึ้นมากจากเมื่อก่อน มีเป้าหมายต่อจากนี้ในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้พ้นจากการเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับบน ให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วตามกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เช่นอีกไม่นานประเทศไทยก็จะผลิตวัคซีนป้องกันโควิดได้ โดยใช้เทคโนโลยีที่ไม่ได้แตกต่างกับที่ต่างประเทศทำอยู่


ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกกำหนดค่ามาตรฐานของฝุ่น PM2.5 ที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ปลอดภัยต่อสุขภาพอยู่ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่ในประเทศไทยกลับพบฝุ่น PM2.5 ที่ 50-68 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือว่ามากกว่ามาตรฐานเกือบ 2 เท่าตัว กลายเป็นปัญหามลพิษทางอากาศต้นเหตุสำคัญทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินทางใจ สสส. ตระหนักถึงผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 มุ่งขับเคลื่อนการทำงานตั้งแต่ระดับพื้นที่ไปจนถึงระดับนโยบายเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ การแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ต้องเร่งแก้ไขแบบองค์รวม ทั้งการปลูกจิตสำนึกส่วนบุคคล การสร้างความสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมของคนในสังคม เพื่อร่วมแก้ปัญหา ไม่ใช่เป็นการออกกฎ ระเบียบบังคับใช้เท่านั้น


ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า สสส. สนับสนุนการสร้างเมล็ดพันธุ์นักนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพจากพลังคนรุ่นใหม่ที่สำคัญของประเทศ เพื่อพัฒนานวัตกรรมให้เป็นรูปธรรม และขยายผลไปสู่การแก้ปัญหามลพิษทางอากาศได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ที่ผ่านมา สสส. แก้ปัญหาฝุ่นควันภายใต้แนวคิด 3 ข.คือ 1.เขย่า คิดนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น นวัตกรรมธงสุขภาพ สีฟ้า เขียว เหลือง ส้ม แดง ใช้คู่กับเครื่องวัดค่าฝุ่น แจ้งเตือนให้คนในพื้นที่รู้ระดับคุณภาพอากาศ ดำเนินการใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งลดเสี่ยงต่อสุขภาพ 2.ขยับ นำสิ่งใหม่ที่คิดไปปรับใช้จริงตามบริบทของแต่ละพื้นที่และ 3.เขยื้อน ขยายผลจากระดับปัจเจกหรือระดับพื้นที่ นำไปสู่การผลักดันนโยบายเพื่อการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างเร่งด่วน โดย สสส. ร่วมกับสภาลมหายใจ 8 จังหวัดภาคเหนือ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมทำงานอย่างทุ่มเท สามารถแก้ปัญหาวิกฤตฝุ่น PM2.5 อย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดความร่วมมือและเปลี่ยนแปลงค่านิยมในระดับภูมิภาค ทั้งนี้ หากทุกพื้นที่นำแนวคิด 3 ข. ไปปฏิบัติได้สำเร็จสามารถแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 รวมถึงปัญหาสุขภาพอื่นๆ ในพื้นที่ได้.