͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ค่า spread ของอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศค่าธรรมเนียมที่ต้องรู้  (อ่าน 285 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

mintsaccount

  • บุคคลทั่วไป
ค่า spread ของอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศค่าธรรมเนียมที่ต้องรู้
   ธุรกรรมการโอนเงินต่างประเทศ เช่น การนำเข้า การส่งออก สินค้าพาณิชยกรรม การไปท่องเที่ยวต่างประเทศทั่วโลก และการลงทุนในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรงหรือผ่านกองทุนรวม เป็นต้น จะเกี่ยวข้องกับการแลกเงินระหว่างคู่สกุลเงิน เมื่อต้องทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น ต้องการแลก USD/THB อัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศเท่ากับ 33.00 จะมีสกุลเงินที่เกี่ยวข้อง 2 สกุล คือ USD หรือดอลลาร์สหรัฐ และ THB หรือ บาท
    สกุลเงินตัวแรกถูกเรียกว่า สกุลเงินหลัก หรือ Base currency สกุลเงินหลักจะเป็นสกุลเงินตัวที่อยู่หน้า โดยสกุลเงินหลักจะเป็นตัวที่ใช้อ้างอิงในการซื้อขายอยู่เสมอ เช่น USD/THB = 33.00 หมายความว่า ต้องใช้เงิน 33.00 บาทเพื่อที่จะซื้อสกุลเงินหลักจำนวน 1 ดอลลาร์สหรัฐ สกุลเงินตัวที่สองถูกเรียกว่า สกุลเงินรอง หรือ quote currency เป็นสกุลเงินที่ถูกนำไปใช้ในการซื้อสกุลเงินหลักเสมอ เมื่อทำการซื้อหรือ buy คู่เงิน จะได้เงินสกุลหลักมาไว้ในมือคือ USD ในทางกลับกันเมื่อทำการขาย หรือ sell ก็จะได้เงินสกุลรองมาถือไว้ในมือ คือ THB
   เมื่อทำการ buy หรือ sell คู่สกุลเงิน จะไม่ได้เรทที่ 33.00 แต่จะได้ราคา buy ที่ราคาสูงกว่า เพราะโบรกเกอร์หรือธนาคารพาณิชย์จะตั้งราคาเสนอให้ซื้อ (bid) ให้สูงขึ้น และจะได้ราคา sell ที่ต่ำกว่าเพราะโบรกเกอร์หรือธนาคารพาณิชย์จะตั้งราคาเสนอให้ขาย (ask) ให้ต่ำลง ทำให้เมื่อทำการแลกเงินไปกลับแบบทันทีจะเกิดการขาดทุนขึ้น ส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศถูกเรียกว่า spread ซึ่งก็คือ ราคา buy - ราคา sell หรือ ราคา ask - ราคา bid ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมส่วนที่ผู้รับแลกเงินเรียกเก็บ และเป็นค่าความเสี่ยงในการถือคู่สกุลเงินที่มีค่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่างกัน (swap)
   ความผันผวนของค่าเงินนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางของคู่สกุลเงิน (ตัวอย่างเช่น ดอกเบี้ยนโยบายอัตราดอกเบี้ยเงินฝากดอกเบี้ยพันธบัตร อัตราเงินเฟ้อ การว่างงาน การเลือกตั้ง ) เป็นต้น เมื่อปัจจัยโดยรวมมีเสถียรภาพจะทำให้ค่า spread ในการแลกเงินมีค่าต่ำ ทำให้สามารถลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมนี้ลงไปได้ ช่วงเวลานี้ ทั้งผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และนักธุรกิจ ก็สามารถทำการโอนเงินต่างประเทศได้สะดวก รวมถึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการซื้อขายกองทุนรวมด้วย
สุดท้ายนี้จะมายกตัวอย่างการคำนวณค่า spread สมมติว่า buying rate หรือ ask price ของ USD/THB เท่ากับ 33.50 และ selling rate หรือ bid price เท่ากับ 32.50 จะมีค่า spread เท่ากับ 33.50 - 32.50 = 1.00 ซึ่งหมายถึง มีค่าธรรมเนียมในการแลกเงินไปกลับเท่ากับ 1 บาทต่อการแลกเงินสกุลหลัก 1 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องขอขอบคุณข้อมูลจาก SCB ซึ่งนอกจากข้อมูลอัตราการแลกเปลี่ยนแล้ว SCB ยังให้คุณเลือกลงทุน RMF ผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ เพียงลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษี SSF (เพิ่มเติมที่ : https://www.scb.co.th/th/personal-banking/investment/fund/mutual-funds/ssf.html) และ/หรือ RMF ติดต่อกัน 6 เดือน รับโบนัส Fund Back กองทุน สูงสุด 1,000 บาท การลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณและช่วยลดหย่อนภาษี มีกองทุน SSF และ RMF หลากหลายให้คุณเลือกลงทุน