͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ว่าฯ ตาก เผย คลายล็อกเปิดด่านแม่สอด ให้ชาวเมียนมากลับได้ 1 พ.ค.นี้  (อ่าน 374 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ dsmol19

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16170
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
ผู้ว่าฯ ตาก เผย 1 พ.ค.63 จะไฟเขียวเปิดตลาดนัด ร้านตัดผม ส่วนชายแดนไทย-เมียนมาให้คนเมียนมาข้ามกลับไปได้ที่ด่านชายแดนบ้านวังตะเคียน อ.แม่สอด เท่านั้น โดยไม่อนุญาติให้เข้าไทยตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯโควิด-19

เมื่อวันที่ 29 เม.ย.63 นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เปิดเผยว่าหลังจากคณะรัฐมนตรีมีการผ่อนปรนให้สถานประกอบการบางชนิดสามารถเปิดให้บริการได้ แต่ต้องมีการเฝ้าระวังเรื่องโรคโควิด-19 ซึ่งเบื้องต้นคำสั่งห้ามในเรื่องต่างๆจะสิ้นสุดในวันที่ 30 เม.ย. ดังนั้นวันที่ 1 พ.ค.63 การเปิดร้านตัดผมเสริมสวย หรือร้านอาหารขนาดเล็ก หรือตลาดนัดสามารถเปิดให้บริการได้แต่ต้องอยู่ในขอบเขตการเฝ้าระวัง คงจะต้องมีกฎเกณฑ์ต่างๆ เพิ่มขึ้น

ในส่วนของร้านตัดผม ทั้งผู้ให้บริการและรับบริการ จะต้องใส่หน้ากากอนามัย การบริการจะต้องทำให้เร็วที่สุด และจะต้องไม่มีการพูดคุยกัน งานที่จะต้องสัมผัสแตะเนื้อต้องตัวก็ให้น้อยที่สุด และระยะเวลาที่สั้นที่สุด อุปกรณ์เครื่องใช้คงจะต้องดูแลเรื่องความสะอาดระหว่างบุคคล การใช้เครื่องเป่าผม จะทำให้เกิดการฟุ้งกระจายได้ ก็ควรจะหลีกเลี่ยง ผู้รับบริการอาจจะต้องใช้นัด หรือจำกัดจำนวนที่รออยู่ในร้าน ร้านอาจจะต้องให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก จะต้องไม่เป็นห้องอับทึบ


เช่นเดียวกันร้านอาหาร ที่อยู่ที่โล่งแจ้ง หรือที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ก็ควรจะเปิดได้ ในสถานที่บรรยากาศติดแอร์ต้องขึ้นอยู่แต่ละสถานที่ จะต้องจำกัดจำนวนคน กำหนดระยะห่างของบุคคล physical distancing มีกฎเกณฑ์การทำความสะอาด อย่างเคร่งครัดทุกอาชีพ ทุกคน จะต้องมีการปรับตัว มีระเบียบวินัยที่เคร่งครัด เพื่อป้องกันเขาและป้องกันเรา


ขณะที่ด่านชายแดนระหว่างประเทศ วันที่ 1 พ.ค.63 จะผ่อนปรนให้ชาวเมียนมา สามารถข้ามกลับไปเมียนมาได้เพียงด่านสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา แห่งที่ 2 บ้านวังตะเคียน ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด เพียงแห่งเดียว เพื่อง่ายต่อการควบคุมคัดกรองโรคโควิด-19 โดยไม่อนุญาติให้คนไทยเข้าออกผ่านแดน รวมทั้งไม่อนุญาตให้ชาวเมียนมาเข้าประเทศไทยด้วย ตามคำสั่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

ส่วนเรื่องแรงงานเมียนมาจำนวนนับหมื่นคนที่คาดว่าใกล้จะเดินทางกลับเข้าทำงาน เรื่องนี้คงต้องมีการพูดคุยปรึกษาว่าจะดำเนินการแบบไหนให้รัดกุมที่สุด เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ไม่ให้มีการแพร่ระบาดกลับมาอีก.