͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: เอาใจใส่ผู้ป่วยแผลกดทับด้วยการเลือกใช้งานที่นอนลม เหมาะสมที่สุด  (อ่าน 150 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ damonshoppu

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 697
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
สำหรับบ้านไหนที่มีผู้ป่วยแผลกดทับและอยากดูแลอย่างดีที่สุด ทำให้การนอนหลับผ่านไปได้ราบรื่น ช่วยเหลือได้อย่างดี เรามีตัวช่วยดี ๆ อย่างการเลือกใช้ที่นอนลมมาแนะนำ แต่กระนั้นอย่างที่ทราบว่าบางคนอาจจะยังไม่เคยรู้จักมาก่อน เราพร้อมที่จะพาทุกคนไปศึกษาข้อมูลอย่างเจาะลึก พร้อมแล้วตามมาทางนี้โดยด่วน



แผลที่เกิดจากการกดทับมีความรุนแรงที่แบ่งออกเป็น 4 ระดับ

เรื่องของแผลกดทับต้องทำความเข้าใจไว้ก่อน โดยที่ความรุนแรงมาด้วยกัน 4 ระดับ หากรู้ว่าผู้ป่วยอยู่ในระดับไหนก็จะยิ่งเลือกใช้งานที่นอนลมกันแผลกดทับได้เหมาะสม

- ระยะที่ 1 : จะเป็นแผลที่ไม่เปิดออก ผิวหนังที่แผลจะไม่มีสี แต่หากใครผิวขาวก็จะเกิดเป็นรอยแดง ส่วนผู้ที่มีผิวสีแทนก็จะเป็นแผลสีเขียวอมม่วง จับ ๆ ดูจะอุ่น นุ่ม หรือแข็ง ผู้ป่วยจะเจ็บและระคายเคืองได้ง่าย ๆ
- ระยะที่ 2 : จะเป็นแผลที่เปิดหรือมีตุ่มน้ำพอง แผลจะหลุดลอกออก โดยที่หนังกำพร้า หนังแท้ถูกทำลาย แผลจะมีความเจ็บมากขึ้น
- ระยะที่ 3 : แผลจะมีลักษณะเป็นโพรงลึก เห็นไขมันที่เป็นแผล ด้วยผิวหนังทั้งหมดหลุดออกไปได้ง่าย ๆ รวมทั้งเนื้อเยื่อที่ลึกลงไปชั้นผิวหนังถูกทำลาย
- ระยะที่ 4 : ผิวหนังบริเวณแผลทั้งหมดถูกทำลายรุนแรงมาก เนื้อเยื่อที่ล้อมรอบเริ่มตาย กล้ามเนื้อ กระดูกที่อยู่ลึกก็จะถูกทำลายด้วยเช่นกัน

เตียงหรือที่นอนลมป้องกันแผลกดทับมีชนิดไหนบ้าง?

เตียงลมเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยกระจายแรงกดทับได้ การทำงานจะเป็นระบบปั๊มลมไฟฟ้า ที่มีการสลับยุบพองที่นอนต่อเนื่อง ผิวหนังตรงนั้น ๆ ก็จะไม่ถูกกดทับนาน ๆ ลดความรุนแรงในการเกิดแผลได้ดี โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

- ที่นอนแบบลอนขวาง ที่จะทำจาก PVC ออกลอน ๆ 20 – 22 ลอน ประมาณการโดยจะมีการสลับพองของลอนอย่างดี หากมีลอนใดรูรั่ว หรือชำรุดสามารถถอดลอนเปลี่ยนได้
- ที่นอนแบบรังผึ้ง หรือบับเบิ้ล จะเป็นลักษณะการลับดันลมยุบพองของแต่ละจุด ปรับระดับความนิ่มของที่นอนได้ตามสบายหากที่นอนเกิดรูรั่ว หรือชำรุดที่จุดเดียวก็จะทำให้ที่นอนพังเสียหลายทั้งหมด เพราะมีความยากต่อการซ่อมบำรุง

ถามว่าเตียง หรือ ที่นอนลมเหมาะกับผู้ป่วยแบบไหนบ้าง? ตอบเลยว่าจะเหมาะกับผู้ที่ป่วยเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ หรือไม่รู้สึกตัว ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย ขยับตัวไม่ได้ แต่ก็จะไม่เหมาะกับผู้ป่วยติดเตียงที่มีเลือดในหลอดเลือดดำ หรือเกี่ยวข้องกับไขมันหลังเพราะต้องระวังการเคลื่อนที่ของกระดูกเป็นพิเศษนั่นเอง