͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ทริสฯคงอันดับเครดิตองค์กร LHFG ที่ BBB+ เปลี่ยนแนวโน้มเป็น Negative  (อ่าน 41 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Fern751

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15944
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
ทริสฯคงอันดับเครดิตองค์กร LHFG ที่ BBB+ เปลี่ยนแนวโน้มเป็น Negative
 
ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กรของ บมจ.แอล เอช ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (LHFG) ที่ระดับ "BBB+" โดยอันดับเครดิตดังกล่าวเป็นผลมาจากอันดับเครดิตกลุ่มธุรกิจ (Group Credit Profile ? GCP) ของบริษัทซึ่งอยู่ที่ระดับ "a-" ทั้งนี้ อันดับเครดิตของบริษัทอยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตกลุ่มธุรกิจอยู่ 1 ขั้นอันเนื่องมาจากการด้อยสิทธิในเชิงโครงสร้างของบริษัทจากการที่บริษัทมีสถานะเป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ไม่มีการดำเนินกิจการของกลุ่ม

อันดับเครดิตกลุ่มธุรกิจของบริษัท แอล เอช ไฟแนนเชียล กรุ๊ป สะท้อนถึงอันดับเครดิตของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (ได้รับการจัดอันดับเครดิตที่ระดับ "A-/Negative" จากทริสเรทติ้ง) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยหลักของบริษัท ในขณะที่อันดับเครดิตเฉพาะ (Stand-alone Credit Profile ? SACP) ของธนาคารนั้นสะท้อนถึงธุรกิจธนาคารที่มีขนาดเล็ก ตลอดจนความเสี่ยงจากการกระจุกตัวของสินเชื่อที่อยู่ในระดับสูง และสถานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง รวมถึงความสามารถในการทำกำไรและสถานะเงินทุนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมของธนาคาร

แนวโน้มอันดับเครดิตของ LHFG ได้รับการปรับเปลี่ยนมาเป็น "Negative" หรือ "ลบ" จาก "Stable" หรือ "คงที่" ตามการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มอันดับเครดิตของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ โดยแนวโน้มอันดับเครดิต "Negative" หรือ "ลบ" นั้นสะท้อนถึงคุณภาพสินทรัพย์และผลการดำเนินงานของธนาคารที่อ่อนแอกว่าคาด รวมถึงความเป็นไปได้ที่เงินกองทุนของธนาคารจะอ่อนแอลงในระยะปานกลาง

ประเด็นสำคัญที่กำหนดอันดับเครดิต

ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจาก CTBC Bank พัฒนาการที่โดดเด่นของ LHFG ในปีที่ผ่านมาคือการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของ CTBC Bank Co., Ltd. (CTBC Bank) ใน LHFG จาก 35.62% เป็น 46.61% ในเดือนกันยายน 2564 ด้วยสัดส่วนการถือหุ้นที่เพิ่มขึ้น ผลการดำเนินงานของบริษัทจึงถูกรวมเข้าเป็นส่วนเดียวกันกับของ CTBC Bank โดยเริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 นอกจากนี้ CTBC Bank ยังมีจำนวนที่นั่งในคณะกรรมการบริษัทเกินกึ่งหนึ่งซึ่งช่วยให้ CTBC Bank มีอำนาจในการควมคุมกลยุทธ์และการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทในเครือได้มากยิ่งขึ้นโดยผ่านการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงของทั้ง LHFG และธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
ทริสเรทติ้งคาดว่าการสนับสนุนทางธุรกิจและการเงินจาก CTBC Bank จะเพิ่มมากขึ้นในอัตราที่เร่งจากปัจจุบัน นอกจากนี้ ทริสเรทติ้งยังคาดด้วยว่าบริษัทจะยังคงใช้ประโยชน์จากเครือข่ายระดับภูมิภาคและความรู้ความเชี่ยวชาญของ CTBC Bankในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจด้านการธนาคารและธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร รวมถึงกระจายความหลากหลายในด้านรายได้ให้แก่บริษัท

ในอนาคตทริสเรทติ้งคาดว่า LHFG จะมีบทบาทที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นในการดำเนินกลยุทธ์ขยายธุรกิจของ CTBC Bank ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย "New Southbound" ของรัฐบาลไต้หวัน

อย่างไรก็ตาม ทริสเรทติ้งเชื่อว่าลำดับความสำคัญแรกของ CBTC Bank คือการปรับปรุงการดำเนินงานและกรอบการบริหารความเสี่ยงของบริษัทและบริษัทในเครือให้สอดคล้องกับนโยบายของ CTBC Bank มากยิ่งขึ้น โดยในระยะปานกลางนั้น ผลกระทบในเชิงบวกจากการมีความร่วมมือทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นและการสนับสนุนทางด้านเงินทุนซึ่งเห็นได้จากพัฒนาการในด้านตำแหน่งทางการตลาดและความสามารถในการทำกำไรของบริษัทย่อยของบริษัทนั้นน่าจะช่วยเสริมสถานะให้แก่อันดับเครดิตของบริษัทได้

มีสถานะเป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ไม่มีการดำเนินกิจการของกลุ่มธุรกิจการเงิน (NOHC) โดย LHFG เป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ไม่มีการดำเนินกิจการ (Non-operating Financial Holding Company ? NOHC) โดยมีธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เป็นบริษัทย่อยหลักที่ดำเนินธุรกิจธนาคารซึ่งมีสินทรัพย์คิดเป็น 95% ของสินทรัพย์รวมของกลุ่ม นอกจากนี้ บริษัทย่อยที่ดำเนินกิจการอื่น ๆ ภายใต้กลุ่มบริษัทยังประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (LH Fund) และ บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (LHS) (ได้รับการจัดอันดับเครดิต "BBB/Stable" จากทริสเรทติ้ง) ในฐานะบริษัทโฮลดิ้งที่ไม่มีการดำเนินกิจการของกลุ่ม บริษัทต้องพึ่งพารายได้เงินปันผลจากธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อนำมาใช้ชำระหนี้ ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงที่อาจมีการแทรกแซงด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินปันผลจากธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ มายังบริษัทได้ในภาวะวิกฤต ตัวอย่างล่าสุดคือคำสั่งการจำกัดการจ่ายเงินปันผลของธนาคารในปี 2563-2564 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อันเนื่องมาจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ที่มีต่อเงินกองทุนของธนาคาร
กำไรจากการดำเนินธุรกิจธนาคารและการลงทุน กำไรหลักของกลุ่มบริษัทส่วนใหญ่มาจากธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และรายได้เงินปันผลจากเงินลงทุนของบริษัท ทั้งนี้ ก่อนเกิดโรคโควิด 19 สัดส่วนกำไรจากทั้งสองแหล่งนี้โดยทั่วไปคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 40%-50% ของกำไรทั้งหมด (ก่อนตัดรายการบัญชีระหว่างกัน) เงินลงทุนของบริษัทประกอบด้วยการลงทุนระยะยาวในทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust ? REIT) เป็นหลัก ถึงแม้ว่ารายได้จากการลงทุนจะลดลงในปี 2563-2564 เนื่องจากผลกระทบจากโรคโควิด 19 แต่รายได้ดังกล่าวก็ช่วยบรรเทาผลกระทบด้านลบจากผลการดำเนินงานของธุรกิจธนาคาร เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองที่สูงในปี 2564 สัดส่วนกำไรจากธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จึงลดลงอย่างมากถึง 28% ในขณะที่บริษัทมีรายได้เงินปันผลเพิ่มขึ้นถึง 56% แม้ว่าบริษัทจะมีส่วนแบ่งผลกำไรจาก บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และ บลจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อยโดยอยู่ที่ระดับเพียง 11% และ 5% ตามลำดับ
ธุรกิจมีขนาดเล็ก ทริสเรทติ้งประเมินสถานะทางธุรกิจของ LHFG ให้อยู่ที่ระดับ "Weak" หรือ "อ่อนแอ" อันเนื่องมาจากขนาดของธุรกิจที่ค่อนข้างเล็กในแต่ละธุรกิจของบริษัทย่อย โดย ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ มีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ระดับ 1.26% ทั้งในด้านสินเชื่อและเงินฝาก ณ สิ้นปี 2564 ในขณะที่ส่วนแบ่งทางการตลาดของรายได้จากการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ของ บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ อยู่ที่ระดับ 0.65% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุนนั้น
แม้ว่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการของ บลจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งถึง 12.9% ในปี 2564 เป็น 7.9 หมื่นล้านบาท แต่ส่วนแบ่งทางการตลาดของสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ประมาณ 1% ณ สิ้นปี 2564 ในระยะยาวทริสเรทติ้งมองว่าการพัฒนาสถานะทางธุรกิจโดยรวมของบริษัทอาจเป็นเรื่องท้าทายและน่าจะต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตาม การเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่สถานะทางการตลาดและการกระจายความหลากหลายของรายได้ของบริษัทย่อยของบริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ นั้นน่าจะเป็นผลบวกต่ออันดับเครดิตของบริษัท

สถานะเงินกองทุนยังคงแข็งแกร่งแม้ว่าจะมีการอ่อนตัวในระยะหลัง ทริสเรทติ้งประเมินสถานะเงินกองทุนของบริษัท แอล เอช ไฟแนนเชียล กรุ๊ป โดยสะท้อนจากสถานะเงินกองทุนของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ทั้งนี้ เงินกองทุนที่แข็งแกร่งของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เป็นปัจจัยหลักที่ช่วยสนับสนุนอันดับเครดิตของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และ LHFG นับตั้งแต่ที่มีการเพิ่มทุนโดย CTBC Bank ในปี 2560 ซึ่งช่วยยกระดับเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (CET-1) ของธนาคารให้เป็น 18.7% ณ สิ้นปี 2560 จากระดับ 10.2% ณ สิ้นปี 2559 อย่างไรก็ตาม การขยายสินเชื่อของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2564 นั้นได้สร้างแรงกดดันให้ CET1 ลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 16.1% ณ สิ้นปี 2564
การที่ทริสเรทติ้งปรับแนวโน้มอันดับเครดิตของบริษัทเป็น "Negative" หรือ "ลบ" จาก "Stable" หรือ "คงที่" นั้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมุมมองของทริสเรทติ้งที่เห็นว่ามีความเสี่ยงที่ระดับเงินกองทุนของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จะลดลงไปอีก ทั้งนี้ สมมติฐานกรณีฐานของทริสเรทติ้งที่ประมาณการว่าการเติบโตของสินเชื่อในระดับปานกลางที่ระดับ 2.5%-5.0% และอัตราการจ่ายเงินปันผลที่ระดับ 50% ในปี 2565-2567 จะส่งผลให้ตัวเลขคาดการณ์ของอัตราส่วน CET-1 ของธนาคารยังคงอยู่ในช่วงประมาณ 16% อย่างไรก็ตาม หากธนาคารยังคงขยายฐานสินเชื่อให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะที่แรงกดดันต่อกำไรจากความเสี่ยงจากการกันสำรองยังคงอยู่ในระยะปานกลางก็มีความเสี่ยงที่อัตราส่วน CET-1 จะลดลงต่ำกว่า 16% ซึ่งสิ่งดังกล่าวอาจส่งผลกดดันต่ออันดับเครดิตของธนาคารและของบริษัท

อย่างไรก็ตาม คุณภาพเงินกองทุนของธนาคารยังคงอยู่ในระดับสูงโดยมีส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญคิดเป็น 88% ของเงินกองทุนทั้งหมดซึ่งอยู่ในระดับสูงที่สุดในบรรดาธนาคารพาณิชย์ไทยที่ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิต สิ่งดังกล่าวจึงน่าจะยังเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้ทริสเรทติ้งทำการประเมินสถานะเงินกองทุนของธนาคารให้อยู่ที่ระดับ "Very Strong" หรือ "แข็งแกร่งมาก" ต่อไปตราบใดที่อัตราส่วนCET-1 ของธนาคารไม่ลดลงไปจากระดับปัจจุบันในขณะที่คุณภาพสินทรัพย์ยังคงปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การก่อหนี้อยู่ในระดับต่ำและมีสภาพคล่องเพียงพอ เมื่อพิจารณาจากงบการเงินรวมแล้ว สถานะเงินทุนของบริษัทส่วนใหญ่สะท้อนมาจากสถานะเงินทุนของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ซึ่งประกอบด้วยเงินฝากจำนวน 1.93 แสนล้านบาท เงินกู้ยืมระหว่างธนาคารและตลาดเงินจำนวน 1.91 หมื่นล้านบาท ตลอดจนหุ้นกู้และเงินกู้ยืมอีกจำนวน 1.19 หมื่นล้านบาท ณ สิ้นปี 2564 ในขณะที่เมื่อพิจารณาจากงบการเงินเฉพาะของบริษัทแล้ว ระดับการก่อหนี้ของบริษัทยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดย ณ สิ้นปี 2564 บริษัทมีภาระหนี้ที่จะถึงกำหนดชำระในอีก 12 เดือนข้างหน้าจำนวน 6.7 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 4.1 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2563 ส่วนในแง่ของการก่อหนี้ซ้อนนั้น ณ สิ้นปี 2564 การลงทุนของบริษัทในบริษัทย่อยคิดเป็นสัดส่วน 98% ของส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งบ่งชี้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง
ทริสเรทติ้งพิจารณาว่า LHFG มีสภาพคล่องอยู่ในระดับที่เพียงพอ โดยบริษัทและบริษัทในเครือได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนและสภาพคล่องที่เพียงพอจากธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ตลอดจนสถาบันการเงินอื่น ๆ ในรูปของวงเงินสินเชื่อ บริษัทยังลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์มูลค่ารวม 7.4 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2564 อีกด้วย ซึ่งทริสเรทติ้งเชื่อว่าสามารถจำหน่ายออกไปได้ทันเวลาเพื่อรองรับความต้องการด้านสภาพคล่องของบริษัท ในมุมมองของทริสเรทติ้งเห็นว่าบริษัทมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะรองรับภาระหนี้ในช่วง 12 เดือนข้างหน้าเนื่องจากสินทรัพย์สภาพคล่องของบริษัทสามารถครอบคลุมหนี้สินระยะสั้นได้เป็นอย่างดี

สมมติฐานกรณีพื้นฐาน

ต่อไปนี้คือสมมติฐานในกรณีฐานของทริสเรทติ้งสำหรับผลการดำเนินงานของบริษัท แอล เอช ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ในระหว่างปี 2565-2567

อัตราการเติบโตของสินเชื่อ: 2.5%-5.0%
อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ: 2.08%-2.17%
อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้รวม: 42.0%-46.0%
ต้นทุนทางเครดิต: 1.25%-1.45%
อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (ไม่รวมรายการสินทรัพย์ระหว่างธนาคาร): 2.9%-5.0%
แนวโน้มอันดับเครดิต "Negative" หรือ "ลบ" สะท้อนถึงแนวโน้มอันดับเครดิตของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ในฐานะที่เป็นบริษัทย่อยหลักของ LHFG

ปัจจัยที่อาจทำให้อันดับเครดิตเปลี่ยนแปลง

โอกาสในการปรับเพิ่มอันดับเครดิตของบริษัทมีค่อนข้างจำกัดในระยะปานกลาง อย่างไรก็ตาม แนวโน้มอันดับเครดิตอาจได้รับการปรับเปลี่ยนเป็น "Stable" หรือ "คงที่" ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มอันดับเครดิตของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จากการมีพัฒนาการที่เด่นชัดในด้านคุณภาพสินทรัพย์และความสามารถในการทำกำไรของบริษัท ในขณะที่อัตราส่วน CET-1 ของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ไม่ได้ลดลงไปจากระดับในปัจจุบัน ในทางกลับกัน ทริสเรทติ้งอาจปรับลดอันดับเครดิตของบริษัทลงหากอันดับเครดิตของธนาคารได้รับการปรับลดลง ซึ่งกรณีดังกล่าวมีความเป็นไปได้หากคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารเสื่อมถอยลงไปอีก และ/หรืออัตราส่วน CET-1 ของธนาคารลดลงไปอีกจากระดับในปัจจุบัน