͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: รมว.พาณิชย์ ติดตามเหตุรัสเซีย-ยูเครนใกล้ชิด จับตาผลกระทบส่งออก-นำเข้าไทย  (อ่าน 20 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Naprapats

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14930
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
รมว.พาณิชย์ ติดตามเหตุรัสเซีย-ยูเครนใกล้ชิด จับตาผลกระทบส่งออก-นำเข้าไทย

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ประชุมติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ร่วมกับทูตพาณิชย์จากมอสโก สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมอสโก พร้อมคณะทำงานที่เกี่ยวข้องผ่านออนไลน์ โดยระบุว่า เป็นการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์รัสเซียกับยูเครน เพื่อติดตามมาตรการการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของ 6 ประเทศ ว่าจะมีผลกระทบอย่างไรต่อการนำเข้า-ส่งออกของไทย รวมทั้งประเมินสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อค่าขนส่งสินค้า เงินเฟ้อ และราคาสินค้าในประเทศ

ทั้งนี้ พบว่าขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบต่อการนำเข้าและส่งออกของไทย แต่สำหรับราคาน้ำมัน มีราคาสูงขึ้นแตะ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลแล้ว ซึ่งยังไม่สามารถประเมินได้ว่า ราคาจะขึ้นสูงไปกว่านี้อีกหรือไม่

"ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กับกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไปหารือร่วมกับภาคเอกชน และติดตามสถานการณ์ รวมทั้งประเมินสถานการณ์ร่วมกันอย่างใกล้ชิด ถ้าพบปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขเร่งด่วน จะได้แก้ปัญหาร่วมกันในทันที และให้รายงานสถานการณ์และการประเมินสถานการณ์ให้ทราบทุกวัน" นายจุรินทร์ กล่าว
อย่างไรก็ดี จากการประเมินเบื้องต้นมีทั้งผลทางบวกและทางลบ ซึ่งสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง คือ เรื่องราคาน้ำมัน เพราะจะมีผลต่อต้นทุนการขนส่งและต้นทุนการผลิตสินค้า รวมทั้งราคาสินค้าในอนาคตได้ สำหรับด้านบวก เช่น สินค้าบางอย่างที่ประเทศไทยมีศักยภาพและสามารถเข้าไปทดแทนตลาดโลกที่เป็นตลาดเดิมของรัสเซียหรือยูเครนได้ หากเกิดสงครามที่ยืดเยื้อ เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งรัสเซียส่งออกไปสหรัฐฯ ปีละ 170 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 5,500 ล้านบาท) ต่อปี

ขณะที่ไทยก็ส่งสินค้าดังกล่าวนี้ไปสหรัฐเช่นกัน โดยมีมูลค่าประมาณ 5,000 กว่าล้านบาท ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเข้าไปทดแทนตลาดยางของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดเดิมของรัสเซียได้ในช่วงที่เกิดภาวะขัดแย้ง และยังมีสินค้าประมงที่รัสเซียส่งออกไปยังสหภาพยุโรปประมาณปีละ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพสามารถทดแทนตลาดสินค้าประมงในสหราชอาณาจักรหรืออังกฤษแทนที่รัสเซียได้ในช่วงที่เกิดการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ

ปัจจุบัน ไทยส่งออกสินค้าประมงไปยังสหราชอาณาจักร ปีละประมาณ 1,600 ล้านบาท แต่ยังไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้ครบถ้วนทั้งหมด เพราะเพิ่งเกิดเหตุการณ์เพียง 1-2 วัน ซึ่งจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป และมาตรการทั้งหมดของกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับเอกชน จะมีความยืดหยุ่นในการทำให้การนำเข้าส่งออกของไทยมีเสถียรภาพ และได้รับประโยชน์สูงสุดต่อไป

ด้านกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ รายงานว่า เบื้องต้นรัสเซียเป็นคู่ค้ารายสำคัญอันดับที่ 30 ของไทย ส่วนยูเครนเป็นคู่ค้ารายสำคัญอันดับที่ 63 ของไทย โดยในปี 64 การค้าระหว่างไทย-รัสเซีย มีมูลค่า 88,167 ล้านบาท ขยายตัว 14.56% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยไทยส่งออกไปยังรัสเซีย มูลค่า 32,508 ล้านบาท ขยายตัว 44.90% และนำเข้าจากรัสเซีย มูลค่า 55,660 ล้านบาท ขยายตัว 2.07%

สำหรับสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังรัสเซีย 5 อันดับแรก คือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (10,162 ล้านบาท) ผลิตภัณฑ์ยาง (3,379 ล้านบาท) เครื่องจักรกลและ ส่วนประกอบของเครื่องจักรกล (1,706.9 ล้านบาท) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (1,455.6 ล้านบาท) เม็ดพลาสติก (1,380.7 ล้านบาท) เป็นต้น ส่วนสินค้าส่งออกที่มีการขยายตัวสูงในหมวดสินค้าเกษตรและอาหาร ได้แก่ ยางพารา สิ่งปรุงรส อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง

ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากรัสเซีย 5 อันดับแรก คือ น้ำมันดิบ (25,958.9 ล้านบาท) ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ (5,667.6 ล้านบาท) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ (5,568.4 ล้านบาท) สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ (5,307.4 ล้านบาท) เครื่องบิน เครื่องร่อน อุปกรณ์การบินและส่วนประกอบ (3,350.3 ล้านบาท)

สำหรับยูเครน ในปี 64 การค้าระหว่างไทย-ยูเครน มีมูลค่า 12,428 ล้านบาท ขยายตัว 28.67% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยไทยส่งออกไปยังยูเครน มูลค่า 4,228 ล้านบาท ขยายตัว 37.36% และนำเข้าจากยูเครน มูลค่า 8,199 ล้านบาท ขยายตัว 24.60% ส่วนสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังยูเครน 5 อันดับแรก คือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (1,037.1 ล้านบาท) ผลิตภัณฑ์ยาง (671.7 ล้านบาท) ผลไม้กระป๋อง และแปรรูป (542.5 ล้านบาท) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (285.3 ล้านบาท) เม็ดพลาสติก (264.3 ล้านบาท)

ส่วนสินค้าไทยนำเข้าจากยูเครน 5 อันดับ คือ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช (4,419 ล้านบาท) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (3,013.6 ล้านบาท) ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ (133 ล้านบาท) สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะ และผลิตภัณฑ์ (112.5 ล้านบาท) แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ (112.3 ล้านบาท)