͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ทีเอ็มบีธนชาต ติดอันดับดัชนีวัดความเสมอภาคทางเพศของบลูมเบิร์ก (GEI)  (อ่าน 16 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jessicas

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 18534
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
ทีเอ็มบีธนชาต ติดอันดับดัชนีวัดความเสมอภาคทางเพศของบลูมเบิร์ก (GEI) ปี 2565 สะท้อนวัฒนธรรมองค์กรแห่งความเท่าเทียม

ทีเอ็มบีธนชาต ติดอันดับดัชนีวัดความเสมอภาคทางเพศของบลูมเบิร์ก (GEI) ปี 2565 สะท้อนวัฒนธรรมองค์กรแห่งความเท่าเทียม ตามแนวทางการสร้างความยั่งยืนด้านสังคม พร้อมสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้คนไทยทั้งประเทศ   

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกในดัชนีวัดความเสมอภาคทางเพศของบลูมเบิร์ก (Gender-Equality Index - GEI) ปี 2565 เป็นปีแรก จากความโดดเด่นด้านวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้าง ยอมรับความแตกต่างที่หลากหลาย และมีนโยบายส่งเสริมความเสมอภาคที่ชัดเจน เปิดเผย พร้อมปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการสร้างธนาคารแห่งความยั่งยืนด้านสังคม เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน พร้อมส่งมอบผลิตภัณฑ์ บริการที่ตอบโจทย์ เพื่อสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นทั้งวันนี้ และอนาคต  

นางวิจิตรา ธรรมโพธิทอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านทรัพยากรบุคคล ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) เปิดเผยว่า ทีเอ็มบีธนชาตเชื่อว่าเรื่องความยั่งยืนกับการดำเนินธุรกิจเป็นเรื่องเดียวกัน โดยเราคำนึงถึงการเติบโตในระยะยาวผ่านกรอบการดำเนินงาน 4 ด้าน ได้แก่ บรรษัทภิบาลและจรรยาบรรณทางธุรกิจ ความยั่งยืนทางธุรกิจ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนด้านสังคม ซึ่งเกี่ยวกับการพัฒนาบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่เป็นรากฐานสำคัญในการสร้างองค์กรให้แข็งแกร่ง เราจึงให้ความสำคัญกับการบริหารความหลากหลาย อาทิ เพศ อายุ การศึกษา เชื้อชาติ และวัฒนธรรม ที่สอดคล้องตามมาตรฐานสากล

"การที่ทีเอ็มบีธนชาตได้รับเลือกเป็นสมาชิกของดัชนีความเสมอภาคทางเพศของบลูมเบิร์ก ปี 2565 (Bloomberg Gender-Equality Index 2022) ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงความชัดเจนด้านนโยบายในการดำเนินงานที่ส่งเสริมความเท่าเทียมของพนักงาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของธุรกิจ สะท้อนได้จากการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลที่ส่งเสริมความเสมอภาคของผู้หญิงภายในองค์กรให้ได้รับโอกาสและความเท่าเทียมในการทำงานอย่างเต็มที่ รวมไปถึงความทุ่มเทในการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานในหลายด้าน อาทิ ปรับจำนวนวันลาคลอดให้มากกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยแม่สามารถลาได้เต็มที่ 98 วัน และพ่อลาได้ 7 วัน โดยยังคงได้รับเงินเดือนตามปกติ การกำหนดเงินเดือนและโบนัสที่เป็นธรรม รวมถึงการเปิดเผยสัดส่วนค่าตอบแทนระหว่างเพศหญิงและชาย"

จากการประเมินในปีที่ผ่านมาธนาคารมีจำนวนพนักงานเป็นผู้หญิง 69.3% โดยมีอัตราส่วนผู้หญิงในระดับผู้บริหารถึง 58.5% และมีพนักงานผู้หญิงในระดับปฏิบัติการ 70.8% ของพนักงานทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีพนักงานหญิงในหน่วยงานเกี่ยวกับ STEM หรือ ด้าน Science, Technology, Engineering และ Mathematics คิดเป็น 54.1% 

ดัชนีวัดความเสมอภาพทางเพศของบลูมเบิร์ก ปี 2565 บริษัทที่ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกจำนวน 418 บริษัท ครอบคลุมกว่า 50 อุตสาหกรรม ใน 45 ประเทศทั่วโลก โดยพิจารณาจากบริษัทมหาชนที่เปิดเผยข้อมูลด้านการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศที่ครอบคลุมข้อมูลทางสถิติของบริษัท นโยบาย การมีส่วนร่วมของชุมชน ผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งทีเอ็มบีธนชาต ได้รับคะแนน (GEI Score) อยู่ที่ 67.56% โดดเด่นด้วยคะแนนด้านการเปิดเผยข้อมูลสูงถึง 92.42% และได้คะแนนความเป็นเลิศด้านข้อมูลที่ 56.90% จากตัวชี้วัด 5 ด้าน ได้แก่ ความเป็นผู้นำของผู้หญิงและการสร้างพนักงานที่มีความสามารถโดดเด่น ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเท่าเทียม วัฒนธรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วม นโยบายต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศ และการเป็นแบรนด์ที่ส่งเสริมสิทธิสตรี

"นอกจากนี้ ทีเอ็มบีธนชาต ยังได้วางรากฐานวัฒนธรรมองค์กรที่แสดงให้เห็นถึงการทำงานของธนาคารในการร่วมมือกันให้ความสำคัญกับความเห็นที่แตกต่างและปฏิบัติต่อกันอย่างให้เกียรติ (Respect) เพราะเราเชื่อว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนธุรกิจ เมื่อเราเข้าใจและยอมรับความแตกต่างที่หลากหลายในสังคมสมัยใหม่ในปัจจุบัน เราก็จะสามารถส่งต่อแนวทางนี้ไปยังลูกค้า คู่ค้า ชุมชน ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม พร้อมเดินหน้ามุ่งสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทยทั้งวันนี้ และอนาคต ด้วยการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ และดีที่สุดสำหรับลูกค้าแต่ละคน ตลอดทุกช่วงชีวิต ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความยั่งยืนในระยะยาว" นางวิจิตรา กล่าวสรุป