͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ตลาดหุ้นเอเชียเปิดลบ วิตกเฟดคุมเข้มนโยบายการเงิน  (อ่าน 18 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ hs8jai

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12750
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
ตลาดหุ้นเอเชียเปิดลบ วิตกเฟดคุมเข้มนโยบายการเงินหลังจ้างงานพุ่งเกินคาด

ตลาดหุ้นเอเชียเปิดวันนี้ในแดนลบ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งเกินคาดในเดือนม.ค. ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่า อาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เดินหน้าคุมเข้มนโยบายการเงิน ขณะที่ตลาดหุ้นจีนกลับมาเปิดทำการเป็นวันแรกหลังหยุดยาวเทศกาลตรุษจีนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 27,327.63 จุด ลดลง 112.36 จุด หรือ -0.41%, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 24,609.43 จุด เพิ่มขึ้น 36.14 จุด หรือ +0.15% และดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,407.76 จุด เพิ่มขึ้น 46.32 จุด หรือ +1.38%

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 467,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 150,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 4.0% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.9% ขณะที่นักลงทุนวิตกว่าตัวเลขจ้างงานดังกล่าวจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้

ขณะเดียวกัน นักลงทุนยังจับตาสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตกในประเด็นยูเครน โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (4 ก.พ.) ทำเนียบเครมลินแถลงว่า ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย จะหารือกับประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศส ในประเด็นข้อเรียกร้องของรัสเซียเกี่ยวกับการรับประกันความมั่นคงจากชาติตะวันตก ในระหว่างที่ปธน.มาครงเดินทางเยือนกรุงมอสโกในวันจันทร์ที่ 7 ก.พ.

ก่อนหน้านี้ ปธน.ปูตินได้สนทนาทางโทรศัพท์กับปธน.มาครงเมื่อเดือนที่แล้ว โดยปธน.ปูตินเน้นย้ำว่า เขาไม่ต้องการให้มีการเผชิญหน้ากัน และทุกฝายจะต้องใช้ความพยายามลดความตึงเครียดในยูเครน โดยจะต้องเปิดช่องทางการเจรจาต่อไป ซึ่งสะท้อนสิ่งที่นายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย กล่าวก่อนหน้านี้ว่า รัสเซียไม่ต้องการทำสงครามกับยูเครน

สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจในภูมิภาคที่น่าติดตามวันนี้ ได้แก่ ยอดค้าปลีกเดือนม.ค. ของออสเตรเลีย, ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศและดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนม.ค. ของจีนจากไฉซิน, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2564 ของอินโดนีเซีย และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนธ.ค. ของญี่ปุ่น