อุปกรณ์ประเภทกล่องถูกนำมาใช้ประโยชน์กันอย่างคุ้มค่ามาก โดยเฉพาะการเก็บสิ่งของต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ ทั้งประเภทของที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน หรือของที่ต้องการจัดกลุ่มให้อยู่ในหมวดเดียวกัน เช่น ของเล่นลูก, เอกสารต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งการเลือกซื้อ “
กล่องเก็บของ” สักใบไม่ใช่แค่ขนาด ดีไซน์ หรือสีสันที่สวยงามเท่านั้น แต่วัสดุที่นำมาผลิตก็เป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม และนี่คือ 5 วัสดุยอดนิยมที่พบเห็นบ่อยในการทำเป็นกล่องสำหรับเก็บของ พร้อมจุดเด่นน่าสนใจ
5 วัสดุที่นิยมนำมาใช้ทำกล่องเก็บของ พร้อมจุดเด่น1. พลาสติก
หากพูดถึงกล่องหรือ
ลังพลาสติกก็ตาม อาจเรียกว่าเป็นวัสดุที่พบเห็นได้แทบทุกบ้าน จุดเด่นสำคัญคือ มีราคาถูก หาซื้อมาใช้งานง่าย น้ำหนักเบา เลือกดีไซน์ สีสันหลากหลายตามความชอบหรือตามจุดประสงค์ใช้งาน แต่อย่าลืมมองเรื่องการรับน้ำหนักและการบอบบาง แตกหักเสียหายง่ายด้วย
2. กระดาษ
มักนิยมทำจากกระดาษลังหรือกระดาษแข็งเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีความหนา มีชั้นวัสดุที่ทนทานในระดับหนึ่ง จุดเด่นของกล่องประเภทนี้คือ สามารถนำไปรีไซเคิล ลดการเกิดปัญหาโลกร้อน มีสีสัน ลวดลายสวยงาม บ่งบอกถึงความหรูหรา แต่ทั้งนี้ต้องระวังเรื่องการรับน้ำหนัก การฉีกขาด และการโดนน้ำทำให้กล่องเสียหายง่ายด้วย
3. ไม้
ไม่ว่าจะเป็นไม้แท้หรือไม้เทียมก็นิยมนำมาทำเป็น
กล่องอเนกประสงค์ จุดเด่นของการใช้ไม้คือมีความแข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้เยอะมาก แถมยังให้ความคลาสสิก ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งที่อยู่ภายในได้ในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ต้องระวังเรื่องของปลวกที่นอกจากกัดกินไม้แล้วยังอาจกัดกินสิ่งของภายในได้ รวมถึงความชื้นที่ทำให้ไม้บวม เสียหาย และน้ำหนักที่มากกว่า
กล่องชนิดอื่น
4. พีวีซี
เป็นวัสดุที่เริ่มนำมาใช้ในการผลิตกล่องมากขึ้นเรื่อย ๆ ความพิเศษของพีวีซีคือ เป็นฉนวนกันไฟ ช่วยป้องกันความร้อนไม่ให้เข้าไปทำลายสิ่งของที่อยู่ภายใน รวมถึงยังทนการกัดกร่อน สารเคมี ไม่มีปัญหาแม้เจอน้ำ ความชื้น มีน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย แต่ส่วนมากมักไม่ค่อยดีไซน์ลวดลายใด ๆ มากนัก และราคาก็สูงใช้ได้เลย
5. สเตนเลส
ปิดท้ายกันด้วยกล่องที่เน้นความหรูหรา แข็งแรงทนทาน ใช้งานได้ยาวนานมาก ไม่ต้องกลัวเรื่องสิ่งของด้านในเสียหาย แต่ทั้งนี้กล่องสเตนเลสมักมีน้ำหนักเยอะ ราคาสูง จึงมักใช้สำหรับการเก็บของสำคัญ หรือพวกอุปกรณ์ช่างที่ต้องการความปลอดภัยมากกว่า
แม้กล่องจะเป็นสิ่งของที่พบเห็นได้ง่ายในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าต้องเลือกซื้ออย่าลืมมองถึงประเภทของวัสดุให้เหมาะกับการนำไปใช้งานจริง เพื่อความคุ้มค่า ไม่ต้องเสียเงินซื้อใหม่ แถมยังได้ประโยชน์ด้านอื่นเพิ่มเติมอีกด้วย